ลดความคิดสุดขั้วหนทางยุติความขัดแย้ง


ลดความคิดสุดขั้วหนทางยุติความขัดแย้ง

ท่ามกลางสถานการบ้านเมืองที่รุนแรง จาก Mob ของผู้อกหัก
นำไ ปสู่การบุกที่ประชุมอาเซียน ทำลายภาพพจน์ประเทศย่อยยับ
ยังไม่รวมเผารถเมล ปิดถนน ทั้งหลาย ความขัดแย้งในสังคม
แผ่ซ่านอย่างรวดเร็ว แม้ว่าจะจบไปอย่างรวดเร็ว มีการสุญเสียบ้าง
( เสียชีวิต 2 คน ที่ชุมชนนางเลิ้ง ต้องย่ำครับเ พราะกลัวไปขยายผล) 
ซึ่งก็เป็นโอกาสที่คนไทยจะเริ่้มต้นสมานฉันท์จริงๆ 

ในช่วงว๊๊าวุ่นวันสงกรานต์วิปโยคนี้ ได้มีโอกาสหยิบหนังสือดีๆมาอ่านๆ
(ซื้อมานานแล้วล่ะ ) หนังสือชื่อ Thought ของสำนักพิมพฺ์สารคดี
ซึ่งได้รวมบทสัมภาษณ์นักคิดหลายท่าน ทั้ง นายกคนปัจจุบัน,  อ.ดร.เอนก
ฮิวโก้  ศ.ดร.ธงชัย ,พระธรรมปิฏก  ท่านผู้หญิงสุธาวัลย์  
หนังสือเล่มนี้ พิมพ์ตั้งแต่ปี2548  มี นายวันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์เป็นบรรณาธิการ 
 ตนเองอ่านส่วนหนึ่ง ก็พบว่า มีข้อคิดจากอ.เอนก ที่กล่าวถึงความขัดแย้งในสังคมไทยไว้น่าสนใจ เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบัน  จึงขออนุญาต ยก เอามาให้อ่านกัน

นักข่าว :ทำไ มช่วงหลังสังคมไทยมีความคิดสุดขั้วมากขึ้น แบ่งฝักแบ่งฝ่ายชัดเจนจนหาทางออกของปัญหาไม่ค่อยได้ 
อ.ดร.เอนก  (เ มื่อปี 2548) เดิมความคิดของคนไทยไม่สุดขั้ว คนไทยไม่เชื่อเรื่องการต่อสู้ทางความคิดการต่อสู่้ที่เอาชนะ ชี้ว่าอะไรสะอาดบริสุทธิ์ อะไรมีมลทิน คนไทยเราเน้นประสานความคิดต่างๆ ให้เข้าด้วนกัน เป็นความคิดแบบฮินดู แบบพุทธนั้นเอง คุณจะเห็นว่าพอฮินดูหรือพรามณ์เข้ามาในสุวรรณภูมิ ก็ไม่ได้ทำลายพวกนับถือผีนับถือเจ้า พอพุทธเข้ามาก็ไม่ทำลายพรามณ์ ไม่ได้ทำลายผี ทำลายเจ้า มันจะอยู่ด้วยกันได้ นี่เป็นรากฐานเดิมของคนไทย 
     ในขณะที่ฝรั่ง ยิว คริสเตียน เชื่อเรื่องการต่อสู้ระหว่างความคิดที่ผิดกับถูกการชำระความคิดที่ผิดด้วยความคิดที่ถูก ถ้าจะเชื่อความคิดอะไร ก็เชื่อความคิดนั้นทั้งระบบ แต่คนไทยจะมีลักษณะเชื่อไอ้นั้นนิด ไอ้นี่หน่อย เอามาจากทุกความคิด คือประนีประนอมนั่นเอง เอาของที่ไม่ควรจะประสานกันได้ก็มาประสานกันได้ เดิมสังคมไทยเราเป็นแบบนี้ 
     ครั้นเราไปศึกษาจากตะวันตกก็ซึมซับวิธีคิดแบบตะวันตกซึ่งมีพื้นฐานมาจากศาสนายิว คิสเตียน เป็นสายธารความคิดที่เชื่อว่ามีพระเจ้าองค์เดียวผมเคยเรียนที่โรงเรียนอัสสัมชัญซึ่งเป็นโรงเรียนคริสต์ เคยสงสัยว่าทำไมเขาต้องมาบอกว่ามีพระเจ้าองค์เดียวเท่านั้นผมก็เข้าใจว่าเขาคงหมายความว่าพระเจ้าองค์อื่นๆผิดทั้งนั้นหรือถึงถูกก็ถูกไม่จริงเท่ากับพระเจ้าของเรา ครูคริสต์บางคนจะไม่ไหว้พระสงฆ์จะไม่สนับสนุนให้นักเรียนเคารพวิญญาณบรรพบุรุษ เพราะสิ่งเหล่านั้นไม่ใช่พระเจ้าที่แท้จริงเป็นปรัชญา เป็นวิธีคิดที่แฝงอยู่ในวิชาการตะวันตก นักศึกษาไทยที่ไปเรียนเมืองนอกหรือเรียนวิชาการสมัยใหม่ก็เริื่มเกิดความคิดเรื่องถูกกับผิดอะไรต่างๆ มากขึ้น การคิดแบบประนีประนอม แบบประสานประโยชน์น้อยลง พากันดูถูกว่า เป็นความคิดที่ไม่เป็นระบบ ไม่จริงจังเ เอาเรื่องต่างๆมาปะปนกัน ขณะเดียวกันก็พยายามไปหาความรู้แก่นแท้ที่เราคิดว่าถูกต้องที่สุด เรามักหาความรู้ัที่ถูกต้องที่สุดเรามักหาความรู้ที่ถูกต้องมากที่สุดมาตลอด  เริ่มจากความคิดเรื่องรัฐสวัสดิการ เห็นว่ามันสู้รัฐสังคมประชาธิปไตยไม่ได้ สู้รัฐสังคมนิยมแบบที่รัฐเป็นผู้นำอย่างสินเชิงไม่ได้ บางคนถึงขั้นที่เหวี่ยงไปเวียงมาสุดขั้ว อะไรก็สู้อนาธิปไตยไม่ได้ นั้นก็ต้องไม่มีรัฐเลย  อะไรแบบนี้ มันเป็นคววามคิดแบบแข่งขันกันต่อสู้ระหว่างความคิดที่ถูกกับไม่ถู 

 อ่านถึงตรงนี้ก็ เอ่อ ใช่เลย สถานการณ์ปัจจุบัน เราสุดขั้วกันเกินไปหรือเปล่า สุดขั้วเพราะได้ข้อมูลกันผิดๆ ใส่กันเข้าไป อะไรเป็นประโยชน์ของตนเอง ก็ใส่เข้าไปให้กันสุดขั้วไปเลย บอกว่า รัฐบาลไม่ชอบธรรม ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง (โดยยกเว้นข้อมูลว่า ตอนนั้นประชาชนเขาไม่เอาพรรครัฐบาลตอนน้น ยกเ ว้นการให้ข้อมูลว่าคนที่เป็นตัวเลือกนายกรัฐมนตรี ต้องดูเหมาะที่จะเป็นนายกหน่อย ไม่ใช่เอาใครก็ได้)  ผมคิดว่า พอเราเอาข้อมูลไปให้ไม่ครบ ในขณะที่ผู้รับสารก็ถูกอยู่นภาวะอารมณ์ ที่ไม่ไตร่ตรองแล้ว ก็จะไปกันใหญ่
       นี่้ยังไ ม่รวมสถานการณ์ปัจจุบัน ที่ม๊อบไปทำลายการประชุมอาเซียน ปิดถนน สร้างความเดือดร้อนให้คนทั่วไป ก็บอกว่าเป็นประชาธิปไตย ทหารออกมาเคลียร์ทางก็บอกว่าทำร้ายประชาชน โดยไม่ดูว่าประชาชนเหล่านั้นทำอะไรไว้บาง ถ้าประชาชน ประท้วงกันในขอบเขต ไม่ทำร้ายคนอื่น ทหารทำอย่างนั้นก็ว่าไป แต่นี่ ปิดถนน ทำร้ายนายก ทำลายสถานที่ต่างๆ อย่างนี้ก็ต้องว่าไปตามเนื้อผ้า จะมาเรียกร้องประชาธิปไตยโดยทำลายผู้อื่นไม่ได้ ต้องเ ป็นประชาธิปไตยแบบพอดี จะเอากันไปถึงไหน 
ยิ่งพูดยิ่งมีอารมณ์ เดี๊ยวจะสุดขั้วไปเสียเอง ก็เอามาแลกเปลี่ยนกันครับ

คำสำคัญ (Tags): #ความคิดสุดขั้ว
หมายเลขบันทึก: 255762เขียนเมื่อ 16 เมษายน 2009 14:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 06:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท