เสียงจากแดนไกล : คำถามว่าด้วยองค์ความรู้ : คำตอบที่สังคมไทยยังไม่ได้ตอบ


เรารู้กันจริงหรือเปล่า

คำถามว่าด้วยองค์ความรู้ : คำตอบที่สังคมไทยยังไม่ได้ตอบ

มีใครเคยถามตัวเองไหมว่า “ความรู้”นั้น คืออะไรและสำคัญอย่างไรกับชีวิตของเรา สำหรับคนไทย เราเรียนมาตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑-๖  มัธยมศึกษาที่๑-๖ และอุดมศึกษาอีก ๔ ปีในชั้นปริญญาตรี, ๒ ถึง ๔ ปีในชั้นปริญญาโท, อีก ๔ ถึง ๘ ปีในชั้นปริญญาเอก ได้แต่เรียน เรียน เรียน แล้วก็เรียน เคยมีคนถามตัวเองไหมว่าเราเรียนไปทำไม และ สิ่งที่เราเรียนไปนี้มันมีประโยชน์จริงหรือ มันมีประโยชน์กับตัวเองหรือกับชาติหรือกับใครกันแน่ แล้วถ้ามันมีจริงทำไมสังคมไทยยังเละเทะวุ่นวายขนาดนี้ ทั้งที่เราพยายามบอกว่าเราเรียนสูงกว่าคนในอดีต แปลกแต่จริง คนในอดีตเรียนไม่สูงแต่บ้านเมืองเราอยู่กันได้อย่างมีความสุขระดับหนึ่ง(ที่เขียนไว้อย่างนี้เพราะผมไม่ได้จะเจตนาบอกว่าระบบการปกครองแบบไหนดีที่สุด)

จริงๆปัญหาเราอยู่ที่ตรงไหน อาจารย์ผู้ใหญ่เคยเล่าให้ผมฟังว่า เมื่อเสร็จสงคราเกาหลีใหม่ๆคนเกาหลีเดินทางมาดูงานการศึกษาที่ประเทศไทย แต่ปัจจุบัน เราตามเกาหลีอยู่

เราทะนงตัวว่าชาติไทยเราไม่เป็นเมืองขึ้นของไทย แต่ปัจจุบัน เราก็ไม่ต่างกับอาณานิคมทางเศรษฐกิจของต่างชาติ ระบบเศรษฐกิจเราขึ้นอยู่กับเงินลงทุนของต่างชาติ

นักการเมืองไทย ยังเป็นเหมือนเดิม ทำผิดไม่ยอมรับผิด  แถมป่วนเมืองไม่สิ้นสุดเพื่อผลประโยชน์ นักวิชาการยังทำตัวเป็นทาสนักการเมือง อยากเป็นแมคคิเวลลี่ ภาคประชาชนก็ไม่เข้มแข็ง

 เราส่งเสริมค่านิยมการจบมหาวิทยาลัย แต่คนจบมามีคุณภาพหรือไม่ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง เราให้คุณค่ากับความรู้ และกระดาษที่การันตรีว่าคนที่มีใบรับรองมีความรู้ ความรู้ที่เรียนกันไปเป็นด็อกเตอร์ไป มันจะมีประโยชน์อะไรในเมื่อมันไม่ได้เป็นความรู้ที่นำประโยชน์มาสู่สังคม มันเป็นเพียงกระดาษที่การันตรีเท่านั้นว่าคนที่ได้มา(ในกรณีที่ไม่ได้ซื้อมา) มีความพยายามและระบบคิดดีเพียงพอ

จำได้ว่าเคยดูหนังเรื่องปมไหม มีคำพูดคำหนึ่งที่ผมชอบมาก "คนไทยบูชาความรู้ แต่ไม่บูชาความคิด แล้วถ้าความรู้มันผิดล่ะ บ้านเมืองก็ฉิบหาย เพราะ มัวแต่รู้  แต่คิดไม่เป็น"

ปัญหาที่น่าคิดคือ อะไร คือความรู้ที่เราทุกคนต้องมี การศึกษาจำเป็นจะต้องตอบสนองปัญหาสังคมหรือไม่ แล้วประเทศไทยจะไปทางไหน

หมายเลขบันทึก: 255303เขียนเมื่อ 13 เมษายน 2009 08:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 06:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

สวัสดีค่ะ

***หลักสูตรจึงควรจัดกิจกรรมที่ฝึกการคิดกับเด็กๆให้มาก

สวัสดีครับ

บทความนี้ดีมากๆครับ ผมชอบเป็นการส่วนตัวเลย

สังคมปัจจุบันมันแย่จริงๆครับ บางครั้งผมยังอยากกลับขึ้นบนดอย

ไม่ได้รับรู้อะไรเลย

ขอบคุณครับ

 

May I apollogize for not writing in Thai language.

I wrote this note in University so I can not use Thai font. Thank you very much for your opinion.

I think I have some opinions which may be useful for you.

1. I think whether our students can not study only knowledge, but they also need to study ethic and understanding the important of studing these subjects as I have mentioned above.

2. I hope the peace will come to Thailand again. And I hope these event between 11 Apr. untill now will educate Thai's society to concern the meaning od Real Democracy and the important of Human's Right.

Sincerely yours,

สวัสดีครับ อาจารย์ วิว

ผมเห็นด้วยกับความคิดที่ว่า "บูชาความรู้แต่ไม่บูชาความคิด"ครับ ปัญหาตอนนี้ปัจจุบันนี้เราพบเห็นและได้ยินได้ฟังคือ ทุกคนอ้างคำว่า ประชาธิปไตย ทั้งๆที่เค้าเหล่านั้นทราบหรือไม่ว่า คำๆนี้ มีหลักการ ที่มาและเหตุผลอย่างไร

ท่านอาจารย์อมร เคยกล่าวไว้ในวารสารกฏหมายฉบับหนึ่งว่า นิติศาสตร์และรัฐศาสตร์แตกต่างกันอย่างไร

หากตอบแบบไม่คิดอะไร ก็คงตอบได้ว่า รัฐศาสตร์เรียนแนวคิดของรัฐ ส่วนนิติศาสตร์ก็เรียนวิชากฏหมาย ซึ่งท่านตอบว่า ความแตกต่างของสองวิชานี้คือ ที่มาของการเกิดสองวิชานี้ นั้นคือ ก่อนที่จะเป็นนิติศาสตร์หรือเป็นกฏหมายนั้น ต้องเป็นรัฐศาสตร์ก่อน นั้นคือ ต้องมีการระดมความคิดและเหตุผลต่างๆ ซึ่งอาจขัดแย้งกัน แล้วนำความคิดทั้งหมดนั้น มาขัดเกลาจนเกิดเป็นความคิดที่ตกผลึกแล้ว จึงมาเป็นวิชานิติศาสตร์ ซึ่งก็เป็นเหตุผลที่ว่า ทำมั้ย นิติศาสตร์จึงต้องมีบทลงโทษหากไม่ปฏิบัติตาม

แต่ดูสังคมปัจุจบันแล้ว สิ่งที่พบเห็นกลับตรงกันข้าม นั้นคือ ประชาชนบางกลุ่มกลับอยากให้นิติศาสตร์มาเป็นรัฐศาสตร์แทน

ตัวอย่างที่เห็นกันแบบง่ายๆ ครับ คือ ศาลมีคำสั่งออกเป็นคำบังคับให้เปิดทางเข้าทำเนียบ แล้วยังไงครับ ไม่เคารพซะอย่าง ก็แค่กระดาษธรรมดาที่มีคำว่าในพระปรมาภิไธย แบบนี้ก็เหมือนกับหนังสือเล่นนึงที่เขียนว่า "นิติศาสตร์ไร้น้ำยา"

ขอบคุณอาจารย์วิวครับที่ให้พื้นที่แสดงความคิดเห็นครับ ผมมีปัญหาในทางปฎิบัติมากมายๆที่อยากเล่าให้พี่ๆน้องๆฟังครับ ถ้ามีโอกาสคงได้หยิบยกมาเล่าสู่กันฟังครับ

สวัสดีค่ะ ท่านอาจารย์

เรียนรู้จากทำ เรียนรู้ชีวิต 

อยากให้มี โครงการอบรมเขียนตอบวิชากฎหมาย และหลักการศึกษาวิชากฎหมายครับ

รุ่นผมไม่มีเลยเซ็งเลย แล้วเพื่อนๆที่คิดจะเอาเกียรตินิยมก้อกลับไปเรียนซัมเมอร์โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เลยอดเลยครับ อยากให้จัดโครงการ ให้อ.และพี่ๆที่มีประสบการณ์มาเล่าประสบการณ์ชีวิตอะครับ อยากมีมากมายครับ (บอกพี่สโมไปแล้วแต่กลัวพี่เขาจะไม่เอา)

Thank you very much for every opinions krub.

Yesterday I discussed with my colleegue who was studing in PhD programme at Queenland University of Technology . She talked about Thai education system,called "child center", but some Thai scholar called it as "Kway center" [Buffalo center] because this system fail in Thailand. Untill now,Thai education system still not educates people to be men who can seek and analyze any knowledge by themselves.

I astonish that most of Australia people obtain only diploma from high school, but they can talk and analyze the international issues very well, whilst our fourth year law students remain lacking for current issues and historical issues.

Thank for sharing your opinion with me

Sincerely yours,

สวัสดีครับ

ความรู้ คือ ความจริง มีเปลี่ยนแปลง ความรู้สามารถนำไปใช้ได้และใช้ไม่ได้ ขึ้นกับสถานะการณ์ ใจมนุษย์อย่างแท้หยั่งถึง ไม่มีความพอ ครับ

ต้องช่วยกันแก้ไข แต่ผมก็ยังไม่ทราบว่าจะทำอย่างไร เหมือนกัน ประเทศไทย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท