SWIT
สถาบันวิจัยและพัฒนาเพื่อการเฝ้าระวังสภาวะไร้รัฐ .

(Update) สถานการณ์เด่นลำดับที่ 8 การศึกษาและพัฒนาข้อเสนอเพื่อการแก้ไขปัญหากลุ่มผู้หนีภัยความตาย


10 สถานการณ์เด่นของคนไร้รัฐ ไร้สัญชาติในประเทศไทย ข้อเสนอจาก SWIT เืพื่องานวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้เพื่อเสนอต่อเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในวัน ที่ 17 เมษายน 2552 ซึ่งท่านศาสตราจารย์ นพ.วิจารณ์ พานิช จะกรุณามาให้ความคิดเห็นในการวางแผนงาน

สถานการณ์เด่นลำดับที่--8

การศึกษาและพัฒนาข้อเสนอเพื่อการแก้ไขปัญหากลุ่มผู้หนีภัยความตาย

สถานการณ์

อันเป็นเป้าหมาย

(Purpose)

 

 สถานการณ์อันเป็นวิธีการวิจัยและพัฒนา

(Input)

 

สถานการณ์อันเป็นผลลัพธ์ที่คาดหมาย

(Output)

ผู้รับผิดชอบ

และเครือข่ายฯ

 

·      คนหนีภัยการละเมิดสิทธิมนุษยชน หรือหนีภัยความตายนั้นปรากฎตัวในสังคมไทย ทั้งที่อยู่ภายในพื้นที่พักพิ่งชั่วคราว และ ณ  ที่ใด ที่หนึ่งของสังคมไทย

 

·      คน กลุ่มนี้ อาจอพยพหนีภัยฯ เข้ามาอยู่ในประเทศไทยเป็นเวลานานแล้ว หรือเพิ่งเข้ามา อาทิ กลุ่มม้งลาวที่เพชรบูรณ์ หนองคาย หรือกลุ่มโรฮิงยา

 

·      สถานการณ์ล่าสุดที่รัฐบาลดำเนินการต่อกลุ่มโรฮิงยา เป็นประเด็นที่ทำให้ประเทศไทยถูกประชาคมระหว่างประเทศตั้งคำถาม

 

·      SWIT เห็นว่า การจัดการปัญหากลุ่มคนหนีภัยความตายนั้น ไม่สามารถพิจารณาได้อย่างแยกส่วนว่าจะจัดการกับกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งอย่างไร หากแต่ควรศึกษาและพัฒนาข้อเสนอแนะการจัดการปัญหาของกลุ่มคนหนีภัยความตาย ทั้งระบบ หรือเชิงภาพรวม

 

 

1) ศึกษาและทบทวนถึงนิยามและรูปแบบของกลุ่มผู้หนีภัยความตาย นับจากอดีตถึงปัจจุบัน

 

Ø  เกิดข้อสรุปและการถอดบทเรียนการจัดการกลุ่มคนหนีภัยความตายของรัฐไทย

 

 

ผู้รับผิดชอบกิจกรรม (Doer)

1) ดรุณี ไพศาลพาณิชย์กุล

 

ที่ปรึกษากิจกรรม(Adviser)
2) รศ.ดร.พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร

 

ผู้ร่วมกิจกรรม

(Co – doer)

3) อดิศร เกิดมงคล

 

4) USCRI (อยู่ระหว่างการทาบทาม)

เครือข่ายฯ

5) UNHCR (อยู่ระหว่างการทาบทาม)
6) สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ (อยู่ระหว่างการทาบทาม)
7) IRC (อยู่ระหว่างการทาบทาม) 

2) ทบทวนพัฒนาการแนวคิด และรูปแบบการจัดการของรัฐไทยต่อกลุ่มผู้หนีภัยความตาย

 

3) ประสานให้เกิดประชาคมวิจัย เพื่อทบทวน และพัฒนาข้อเสนอแนะต่อการจัดการ/แก้ไขปัญหากลุ่มผู้หนีภัยความตายทั้งระบบ/เชิงภาพรวม

 

 

Ø  เกิดประชาคมวิจัย ที่ร่วมกันวิจัยและพัฒนาข้อเสนอแนะต่อองค์ความรู้ในการแก้ไขปัญหากรณีกลุ่มผู้หนีภัยความตายอย่างเป็นระบบ

 

Ø   เกิดข้อเสนอ ต่อการปรับปรุงพัฒนากฎหมายและนโยบาย ในการจัดการกลุ่มผู้หนีภัยความตายที่เคารพต่อหลักสิทธิมนุษยชน

 

4)  ผลักดันให้เกิดการสื่อสารสาธารณะกับสังคมไทย เพื่อส่งเสริมให้สังคมไทยมีความรู้ ความเข้าใจต่อสถานการณ์ปัญหาและองค์ความรู้ดังกล่าว

Ø  สนับสนุนให้สังคมไทยเกิดความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องต่อสถานการณ์ปัญหาและองค์ความรู้ดังกล่าว

 

 

หมายเลขบันทึก: 255257เขียนเมื่อ 12 เมษายน 2009 21:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 06:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

แล้ว USCRI ที่เขามาเกี้ยวพาราสีอยู่แล้วล่ะ ไม่คิดชวนทำงานหรือคะ 

อีกองค์กรที่ต้องชวนมาร่วมทุน ก็คือ UNHCR และ สมช. ค่ะ

ขออภัยค่ะ

ปรับแก้ล่าสุด ปรากฎว่า เอามาแปะผิดน่ะค่ะ

แก้ไขแล้วค่ะ

USCRI เป็นเครือข่ายฯ ที่เราหมายตา ชวน อยู่แล้วค่ะ

ส่วนที่อาจารย์ เพิ่มเติม มา จะเพิ่มเติมตามคำแนะนำค่ะ

ขอบคุณค่ะ

ด๋าว

ขอบคุณครับ USCRI ร่วมงานด้วยแน่นอนครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท