SWIT
สถาบันวิจัยและพัฒนาเพื่อการเฝ้าระวังสภาวะไร้รัฐ .

(Update) สถานการณ์เด่นลำดับที่ 5 การขจัดความไร้สัญชาติ โดยกฎหมายภายในของประเทศเพื่อนบ้าน


10 สถานการณ์เด่นของคนไร้รัฐ ไร้สัญชาติในประเทศไทย ข้อเสนอจาก SWIT เืพื่องานวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้เพื่อเสนอต่อเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในวัน ที่ 17 เมษายน 2552 ซึ่งท่านศาสตราจารย์ นพ.วิจารณ์ พานิช จะกรุณามาให้ความคิดเห็นในการวางแผนงาน

สถานการณ์เด่นลำดับที่--5

การแก้ไขปัญหาความไร้สัญชาติ
หรือการพิสูจน์สัญชาติ
โดยกฎหมายภายในของประเทศเพื่อนบ้าน
โดยเริ่มจากประเทศลาว

สถานการณ์

อันเป็นเป้าหมาย

(Purpose)

 

สถานการณ์อันเป็นวิธีการวิจัยและพัฒนา

(Input)

 

สถานการณ์อันเป็นผลลัพธ์ที่คาดหมาย

(Output)

ผู้รับผิดชอบ

และเครือข่ายฯ

 

·   การปรากฏตัวของคนลาว พม่า กัมพูชา เวียดนาม ฯลฯ ในสังคมไทย แม้พวกเขาจะยังไม่ได้รับการรับรองว่าเป็นคนชาติ (national) โดยรัฐ แต่พวกเขาก็ยืนยันว่าตนเป็นคนชาติของรัฐนั้นๆ

 

·   คนกลุ่มดังกล่าว มีความต้องการกลับคืนสู่ประเทศของตน หากแต่ไม่ทราบถึงวิธีการ

 

·   มีกรณีของแรงงาน 3 สัญชาติ(พม่า ลาว กัมพูชา) ที่ได้รับอนุญาตให้ทำงาน แต่ถูกบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลในฐานข้อมูลทะเบียนราษฎรผิดไปจากความเป็นจริง อาทิ แรงงานซึ่งเป็นคนลาว ได้รับการบันทึกว่าเป็น “แรงงานสัญชาติพม่า”

 

·   SWIT เห็นว่า การแก้ไขปัญหาคนไร้รัฐ ไร้สัญชาติได้ โดยอาศัยกฎหมายภายในของประเทศเพื่อนบ้านเอง

 

 

1. เลือกกรณีศึกษาที่เป็นตัวแทนของคนไร้รัฐ ไร้สัญชาติ ที่อ้างว่าเป็น คนลาว พม่า กัมพูชา เวียดนาม เพื่อตรวจสอบสาเหตุการตกเป็นคนไร้รัฐ ไร้สัญชาติในสังคมไทย

 

2. ประสานให้เกิดประชาคมวิจัย เพื่อศึกษากฎหมาย นโยบาย และกระบวนการพิสูจน์สัญชาติของประเทศลาว พม่า กัมพูชา เวียดนาม โดยเริ่มจากประเทศลาว

 

 

Ø  เกิดข้อสรุปสถานการณ์ความไร้รัฐ ไร้สัญชาติของคนต่างด้าวในรัฐไทย

 

 

 

 

Ø  เกิดประชาคมวิจัย ที่ร่วมกันวิจัยและพัฒนาข้อเสนอแนะต่อองค์ความรู้ในการแก้ไขปัญหาความไร้รัฐไร้สัญชาติของคนต่างด้าวที่ปรากฏตัวในรัฐไทย

 

 

ผู้รับผิดชอบกิจกรรม (Doer)

1) ดรุณี ไพศาลพาณิชย์กุล

 

ที่ปรึกษากิจกรรม(Adviser)
2) รศ.ดร.พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร

 

ผู้ร่วมกิจกรรม

(Co – doer)

3) อดิศร เกิดมงคล

 

4) อาจารย์บุญมี ราชมีไชย คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งชาติเวียงจันทน์ (อยู่ระหว่างการทาบทาม)

3. ทดสอบการเข้าสู่กระบวนการพิสูจน์สัญชาติ โดยพัฒนาให้กรณีศึกษาเป็นกรณีตัวอย่างของการแก้ปัญหาความไร้รัฐ ไร้สัญชาติโดยใช้กฎหมายภายในของประเทศเพื่อนบ้าน

 

4. ผลักดันให้เกิดการสื่อสารสาธารณะกับสังคมไทย เพื่อส่งเสริมให้สังคมไทยมีความรู้ ความเข้าใจต่อสถานการณ์ปัญหาดังกล่าว

 

Ø  เกิด “ต้นแบบ” การแก้ปัญหาความไร้รัฐ ไร้สัญชาติโดยใช้กฎหมายภายในของประเทศเพื่อนบ้าน

 

 

 

 

Ø  สนับสนุนให้สังคมไทยเกิดความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องต่อองค์ความรู้ใหม่นี้

 

 

หมายเลขบันทึก: 255247เขียนเมื่อ 12 เมษายน 2009 19:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 06:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท