SWIT
สถาบันวิจัยและพัฒนาเพื่อการเฝ้าระวังสภาวะไร้รัฐ .

(Update) สถานการณ์เด่นลำดับที่ 2-การแก้ไขปัญหาความไร้รัฐของคนตกหล่นจากทะเบียนราษฎรของประเทศไทย และประเทศเพื่อนบ้าน โดยเริ่มต้นจาก ประเทศลาว


10 สถานการณ์เด่นของคนไร้รัฐ ไร้สัญชาติในประเทศไทย ข้อเสนอจาก SWIT เืพื่องานวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้เพื่อเสนอต่อเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในวัน ที่ 17 เมษายน 2552 ซึ่งท่านศาสตราจารย์ นพ.วิจารณ์ พานิช จะกรุณามาให้ความคิดเห็นในการวางแผนงาน

 

สถานการณ์เด่นลำดับที่—2

การแก้ไขปัญหาความไร้รัฐของคนตกหล่นจากทะเบียนราษฎร

ของประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน โดยเริ่มต้นจากประเทศลาว

 

สถานการณ์

อันเป็นเป้าหมาย

(Purpose)

 

สถานการณ์อันเป็นวิธีการวิจัยและพัฒนา

(Input)

 

สถานการณ์อันเป็นผลลัพธ์ที่คาดหมาย

(Output)

ผู้รับผิดชอบ

และเครือข่ายฯ

 

·   ในสังคมไทย ยังคงปรากฎคนไร้เอกสารพิสูจน์ทราบตัวบุคคล  ( Undocumented    Person)

 

·   ภาย ใต้กฎหมายและนโยบายที่เป็นอยู่ในสังคมไทย  ความไร้รัฐอาจเยียวยา แก้ไขได้ โดยการใช้สิทธิตามใช้ระเบียบฉบับต่างๆ อาทิ ฉบับปี 2535, 2543 และ 2548

 

·   อย่างไรก็ดี อาจมีปัญหาในทางปฏิบัติ หรือการบังคับใช้กฎหมาย

 

 

1)  เฝ้าระวังปัญหาการละเมิดสิทธิ ผ่านการร้องขอความช่วยเหลือจากเจ้าของปัญหา หรือองค์กรเครือข่าย โดยเลือกปัญหาหรือสถานการณ์ที่เป็นตัวแทนของประเด็น

 

2)  สนับสนุนการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ในระหว่างการบังคับใช้กฎหมาย

 

Ø  สนับสนุนการแก้ไขปัญหาคนไร้รัฐ หรือคนไร้เอกสารพิสูจน์ทราบตัวบุคคล

Ø เจ้าของปัญหาสามารถเข้าใจสภาพปัญหาของตนเอง และดำเนินการแก้ไขได้ด้วยตนเอง

 

Ø  สามารถสนับสนุนองค์กรเครือข่ายในการแก้ไขปัญหาความไร้รัฐของเจ้าของปัญหา

 

 

ผู้รับผิดชอบกิจกรรม (Doer)

1) ดรุณี ไพศาลพาณิชย์กุล

 

ที่ปรึกษากิจกรรม(Adviser)
2) รศ.ดร.พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร

 

ผู้ร่วมกิจกรรม

(Co – doer)

3) อาจารย์กิติวรญา รัตนมณี (อยู่ระหว่างการทาบทาม)

 

4) อาจารย์อัจฉรา สุทธิสุนทรินทร์  (อยู่ระหว่างการทาบทาม)

 

5) อาจารย์บุญมี ราชมีไชย คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งชาติเวียงจันทน์ (อยู่ระหว่างการทาบทาม)

3)   รวบรวมปัญหาที่เกิดจากการบังคับใช้กฎหมาย

 

Ø นำไปสู่สรุปสถานการณ์ปัญหาความไร้รัฐของประเทศไทย เพื่อการถอดบทเรียนการแก้ไขปัญหาคนไร้รัฐในประเทศไทยต่อไป

 

·   นอกจากนี้ ยังพบว่า มีการปรากฏตัวของคนลาว พม่า กัมพูชา เวียดนาม ฯลฯ ในสังคมไทยซึ่งพวกเขาตกหล่นจากทะเบียนราษฎรในประเทศของตัวเอ

4)   สนับสนุนและทำงานร่วมกับเครือข่าย เพื่อแก้ไขปัญหาคนไร้รัฐ โดยกฎหมายภายในของประเทศเพื่อนบ้าน โดยเริ่มจากประเทศลาว

 

Ø ทราบถึงกฎหมายและนโยบายที่เกี่ยวของประเทศเพื่อนบ้าน คือ ประเทศลาว ในการแก้ไขปัญหาคนไร้รัฐ

Ø ทราบถึงกระบวนการดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาคนไร้รัฐของประเทศลาว เพื่อพัฒนาเป็นต้นแบบของการแก้ไขปัญหาคนไร้รัฐ โดยกฎหมายภายในของประเทศลาว

 

 

5)  สื่อสารสาธารณะกับสังคมไทย เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจให้สังคมไทยต่อองค์ความรู้ดังกล่าว

 

Ø  สังคมไทยสามารถรับรู้ และเข้าใจต่อกลไกใหม่ฯ นี้

 

 

หมายเลขบันทึก: 255231เขียนเมื่อ 12 เมษายน 2009 17:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 06:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท