ประเด็นการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตข้าวตามกระบวนการโรงเรียนเกษตรกร


จากปัญหาการผลิตข้าวที่มีต้นทุนการผลิตสูงและอันตรายจากการใช้สารเคมีเพื่อการเกษตรที่มีผลต่อเกษตรกร ผู้บริโภคและความสมดุลของสิ่งแวดล้อม อีกทั้งการผลิตข้าวมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของจังหวัดชัยนาทมาก จึงมีความจำเป็นที่จังหวัดชัยนาทจะต้องเร่งบูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในจังหวัด เพื่อพัฒนาการผลิต การแปรรูป และการตลาดข้าวทั้งระบบ โดยส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีการผลิตข้าวที่เหมาะสม เช่น การใช้เมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพดี การบริหารจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสาน การใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน ฯลฯ   เพื่อลดต้นทุนการผลิต   พัฒนากระบวนการผลิตของเกษตรกรเข้าสู่ระบบการจัดการคุณภาพ GAP ข้าว เพื่อให้ได้ผลผลิตข้าวที่ปลอดภัยและ   ได้มาตรฐาน เชื่อมโยงภาคการผลิตกับผู้ประกอบการไปสู่การแปรรูปเพิ่มมูลค่า การส่งเสริมการตลาดทั้งภายในและต่างประเทศ ซึ่งจะทำให้สามารถลดต้นทุนการผลิตข้าวของเกษตรกร และผลผลิตข้าวปลอดภัยจากสารพิษ ที่ได้จากกระบวนการผลิตที่ได้รับการรับรองแหล่งผลิต GAP จะทำให้ข้าวของจังหวัดชัยนาทสามารถแข่งขันได้ ทั้งตลาดภายในประเทศ และต่างประเทศ

การดำเนินงานโครงการส่งเสริมและพัฒนาการผลิตข้าวให้ปลอดภัยและได้มาตรฐาน จังหวัดชัยนาท ปี 2552 เมื่อเสร็จสิ้นการดำเนินงานแล้ว จะส่งผลให้เกษตรกรสามารถเลือกใช้เทคโนโลยีการลดต้นทุนการผลิตข้าวและพัฒนากระบวนการผลิตข้าวได้อย่างเหมาะสมกับสภาพพื้นที่นาของตนเอง สามารถเข้าสู่ระบบการตรวจรับรองมาตรฐานแหล่งผลิต GAP  ข้าว 400 แปลง  มีการเชื่อมโยงภาคการผลิตกับภาคการตลาด และส่งเสริมผลิตภัณฑ์ข้าวคุณภาพดีของจังหวัดชัยนาท

เพื่อให้การดำเนินงานประสบผลสำเร็จ คณะทำงานจึงได้จัดการความรู้โดยรวบรวมเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรผู้เป็นวิทยากรโรงเรียนเกษตรกร และทีมงานทุกอำภอเข้าร่วมกัน จัดทำประเด็นการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตข้าวตามกระบวนการโรงเรียนเกษตรกร  โดยมีเกษตรจังหวัดชัยนาท (นายรังสรรค์  กองเงิน) เป็นคุณอำนวยผู้ดำเนินการจัดการความรู้  และมีนายเอนก  สุธา นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ เป็นคุณลิขิต  บรรยากาศเป็นไปด้วยดีมีข้อปรึกษาหลากหลาย เพราะแต่ละท่านล้วนนำประสบการณ์จากพื้นที่เล่าสู่กันฟัง และต้องการบรรจุประเด็นเข้าหลักสูตรสู่เกษตรกร จากการสรุปประเด็นต่างๆ จึงได้หลักสูตร ดังนี้

 

ครั้งที่

กิจกรรมหลัก

กิจกรรมเสริม

1

-  ชี้แจงวัตถุประสงค์และแนวทางการดำเนินงาน

-  ความคาดหวังของผู้เข้าร่วม

-  ข้อตกลงร่วม  กฎ กติกาของกลุ่ม

-  วิเคราะห์ระบบการผลิตและต้นทุนการผลิต

-  ข้อกำหนดตามระบบ GAP ข้าวเพื่อใช้

รับประทานและแปรรูป

-  วางแผนการจัดทำแปลงเรียนรู้ การใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน

-  ทบทวนและวางแผนในครั้งต่อไป

-  ทำปฏิทินการปลูกข้าว

-  การเก็บตัวอย่างดินเพื่อตรวจวิเคราะห์ธาตุอาหาร

- ระบบนิเวศน์และการแบ่งแยกประเภทแมลง(มิตรและศัตรู)

 

2

-  การเตรียมดิน

-  การตรวจวิเคราะห์ดินและการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน

-  ธาตุอาหารพืชและการสูญเสียธาตุอาหารพืชไปจากดิน

-  นำเสนอความก้าวหน้าในการจัดทำแปลงเรียนรู้การใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน

- ทบทวนและวางแผนในครั้งต่อไป

 

-  ข้อคิดเห็นและวิธีการทำนาแบบไม่เผาฟางและตอซังข้าว

- การทำจุลินทรีย์หน่อกล้วยและทดสอบการช่วยย่อยสลาย

-  โรคเมาตอซังของข้าว

 

 

3

-  พันธุ์และอัตราการใช้เมล็ดพันธุ์

-  นำเสนอผลการเปรียบเทียบการเจริญเติบโตของข้าว  ในแปลงเรียนรู้

-  ทบทวนและวางแผนในครั้งต่อไป

-  การทดสอบความงอก

-  ข้าววัชพืช

-  นำเสนอผลการทดสอบจุลินทรีย์หน่อกล้วย

-  ให้บริการตรวจวิเคราะห์ดินและให้คำแนะนำอัตราการใช้ปุ๋ย

4

 

 

 

 

- ปุ๋ยและการใส่ปุ๋ย

- นำเสนอผลการเปรียบเทียบการเจริญเติบโตของข้าว  ในแปลงเรียนรู้

-  ทบทวนและวางแผนในครั้งต่อไป

 

-  หนอนห่อใบข้าว

-  โรคขอบใบแห้ง

-   โรคไหม้

-  ให้บริการตรวจวิเคราะห์ดินและให้คำแนะนำอัตราการใช้ปุ๋ย

 

 

หมายเลขบันทึก: 254964เขียนเมื่อ 10 เมษายน 2009 23:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท