ความรู้ใหม่


ความรู้ใหม่นั้นเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา

ได้มีโอกาสอ่านบทความของโดย นพ.วิธาน ฐานะวุฑฒ์
หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับประจำวันที่ื 28 กุมภาพันธ์ 2552

ขออนุญาตนำส่วนหนึ่งของบทความมาเผยแพร่เพื่อประโยชน์ในการแลกเปลี่ยนนะครับ

ถ้าเราดูตัวอักษรยู ในภาษาอังกฤษ เราจะเห็นได้ว่า ตัวยูจะประกอบด้วย “ขาลง” “ก้นตัวยู” และ “ขาขึ้น” ของตัวยู ที่ “ก้นตัวยู” หรือ ที่ซึ่ง “ความรู้ในอนาคตจะปรากฏ” เราต้องนำพาตัวเราลงไปตาม “ขาลง” ของตัวยู เพื่อที่จะเดินทางไปถึง “ก้นตัวยู”

น่าสนใจมากครับว่า ขาลงของตัวยูจะเริ่มต้นด้วย “การฝึกทักษะการสังเกต” และ “รับรู้” สิ่งที่เห็นสิ่งที่ปรากฏตามความเป็นจริง โดยที่ยังไม่ด่วนตัดสินว่าเรื่องราวจะดีจะเลวจะถูกจะผิด

เมื่อใจของเรา “นิ่งพอ” และ “เริ่มเปิดหัวใจออก” เราจะเชื่อมโยงกับสิ่งที่อยู่รอบตัวได้อย่างเป็นเนื้อเนียนเนื้อเดียวกัน เรากับสรรพสิ่งรอบตัวนั้นเชื่อมโยงเป็นสิ่งเดียวกัน “การรับรู้” ของเราแจ่มชัดมากขึ้นเรื่อยๆ จนกลายเป็น “ความรู้สึกที่ใสกระจ่าง” ต่อทุกสิ่งทุกอย่างรอบๆ ตัวเรา

และเมื่อสภาวะดำเนินไปถึง “ก้นตัวยู” ได้ ณ ที่ตรงนั้น ท่านอาจารย์หมอประเวศ วะสี ได้กรุณาช่วยแปลความหมายว่าเป็น “มหาสติแห่งการดำรงอยู่” ของเราก็จะค่อยๆ เผยให้เห็นถึง “สิ่งที่เป็นไปได้” ในอนาคตอันใกล้นั้นได้เอง ณ ตรงก้นตัวยูนี้เองที่ “ความรู้แบบไพรมารี่” สามารถ “ก่อเกิดขึ้นได้เอง” จากอนาคตที่อยู่ตรงข้างหน้าของเรานั่นเอง

สิ่งที่ผมได้จากอ่านบทความชิ้นนี้ ทำให้ผมพอเห็นภาพว่า

เราต้องหมั่นรู้ตัวไปเพื่ออะไร แล้วทำไมต้องรู้ด้วยใจที่เป็นกลาง อย่างตั้งมั่น

เพราะเมื่อเราไม่ตัดสินสิ่งที่เรารับรู้ จาก ตัวรู้ (ด้วยใจเป็นกลาง)

เมื่อนั้นเราจะได้ความรู้ใหม่ โดยที่เรารู้ตัวบ้าง ไม่รู้ตัวบ้าง

และเมื่อเรานำความรู้ที่สะสมนั้นมาวิจัย โดยตัวเราเอง เราก็จะได้ความรู้ใหม่จริงๆ

ทีนี้(ผม) ก็รู้แล้วล่ะ ว่าเราทำอะไรไปเพื่ออะไร

 

คำสำคัญ (Tags): #ความรู้ใหม่
หมายเลขบันทึก: 254632เขียนเมื่อ 9 เมษายน 2009 11:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 06:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ที่ว่าฟังบ้างไม่ฟังบ้างแล้วรู้นั้น

หมายถึงการรับรู้โดยจิตใต้สำนึกหรือเปล่า

เพราะถ้าไม่ฟังไม่รับเลย มันก็เหมือนไม่ได้ฟังแล้วจะรู้ได้อย่างไร

ในความเห็นการจะฟังแบบเก็บหมดกับการฟังอย่างที่ว่านั้น คงจะต้องใช้ในคนละสถานการณ์ จะฟังแบบไม่ฟัง คงใช้ได้ในบางสถานการณ์ แต่ถ้าคนไข้มาพูดหรือถาม คงต้องฟังทั้งหมด

สวัสดีค่ะ

คนไม่มีรากเป็นอีกคนหนึ่งค่ะที่มี "ตัวกู" มากมาย ....

เพียรลดละอยู่

ขอบคุณข้อความที่ให้สติค่ะ

(^___^)

อาจารย์ครับ

คงต้องฟังอย่างตั้งใจครับ และฟังอย่างมีสติด้วย จึงจะได้ความรู้ใหม่ออกมา

ไม่อย่างนั้น เราอาจจะดึงสัญญาเก่าๆ แล้วตัดสินไปก่อนที่จะถึงก้นตัว U ครับ

ทำให้ได้เพียงความรู้มือ 2 เท่านั้นครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท