13.การสร้างเครือข่ายในบ้าน


การสร้างเครือข่ายในบ้าน

การสร้างเครือข่ายในบ้าน

สำหรับบ้านที่มีสมาชิกอยู่หลายคน และใช้งานคอมพิวเตอร์เกือบทั้งหมด เราสามารถจะสร้างระบบเครือข่ายภายในบ้านขึ้นมา แล้วเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องเข้าด้วยกัน เพื่อให้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันและเข้าใช้งานอินเตอร์เน็ตเพียงแอคเคาน์เดียว

เทคโนโลยีเครือข่ายในบ้าน
เนื่องจากภายในบ้านจะมีการเดินสายไฟ สายโทรศัพท์เอาไว้อยู่แล้ว จึงสามารถนำสิ่งที่มีอยู่มาทำเป็นระบบเครือข่ายได้ ทำให้ไม่ต้องมาเดินสายเคเบิลกันใหม่ เทคโนโลยีเครือข่ายในบ้านสามารถจะแบ่งออกเป็น 5 แบบด้วยกันดังนี้
• เทคโนโลยีเครือข่าย Ethernet แบบ Bus
• เทคโนโลยีเครือข่าย Ethernet แบบ Star
• เทคโนโลยีเครือข่ายสายโทรศัพท์
• เทคโนโลยีเครือข่ายสายไฟฟ้า
• เทคโนโลยีเครือข่ายแบบไร้สาย

เทคโนโลยีเครือข่าย Ethernet แบบ Bus
เทคโนโลยีเครือข่าย Ethernet แบบ Bus เป็นไปตามมาตรฐาน 10Base2 โดยใช้สาย Coaxial (โคแอกเชี่ยล) เรียกว่า Thin Coaxial หรือ สาย RG-58 (มีความต้านทาน 50 โอห์ม) ความยาวโดยรวมของสายทั้งหมดจากเครื่องต้นทางถึงเครื่องปลายทางต้องไม่เกิน 180 เมตร การเชื่อมต่แบบนี้มีต้นทุนต่ำเพราะไม่ต้องใช้ฮับเป็นตัวกลางในการรับ-ส่งสัญาณ

เทคโนโลยีเครือข่าย Ethernet แบบ Star
เทคโนโลยีเครือข่าย Ethernet แบบ Star เป็นไปตามมาตรฐาน 10BaseT เป็นรูปแบบการใช้สายUTP (Unshield Twisted Pair) ซึ่งจะมีสายเส้นเล็ก ๆ ภายใน 8 เส้นตีเกลียวกัน 4 คู่ ในการรับ-ส่งมีความเร็ว 10/100 Mbps ด้วยสัญญาณแบบ Base band ความยาวของสายแต่ละเส้นจากเครื่องถึงฮับจะต้องไม่เกิน 100 เมตร (ทางที่ดีไม่ควรเกิน 80 เมตร เพื่อป้องกันสัญญาณรบกวน)

การเชื่อมต่อแบบนี้จะเหมาะสมสำหรับใช้ภายในบ้านเพราะสามารถเคลื่อนย้ายเครื่องและสะดวกในการถอดสายแลนด์ สำหรับค่าใช้จ่ายก็ไม่แพงมากเนื่องจากฮับขนาด 8 พอร์ต มีราคา 1,000 บาทเศษ ๆ

เทคโนโลยีเครือข่ายสายโทรศัพท์
เทคโนโลยีเครือข่ายสายโทรศัพท์ หรือ Phoneline Network เป็นการนำสายโทรศัพท์ที่เดินไว้ภายในบ้าน มาเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ ปกติแล้วจะมีการเดินสายโทรศัพท์เอาไว้ทุกห้องในบ้าน เราเพียงแต่นำการ์ดเน็ตเวิร์ก ที่ใช้สำหรับเชื่อมต่อกับสายโทรศัพท์มาเสียบลง ในเครื่องคอมพิวเตอร์ก็สามารถใช้งานได้แล้ว

รู้จักกับ HomePNA
องค์กรที่ควบคุมดุแลมาตรฐานการใช้เครือข่ายสายโทรศัพท์มีชื่อว่า HomePNA โดยจะมีเว็บไซต์ชื่อ www.homepna.org เป็นแหล่งข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่ใช้เชื่อมต่อบนเครือข่ายสายโทรศัพท์ดังรูปที่ 5.5 ความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูลประมาณ 10 เมกกะบิตต่อวินสที (10 Mbps) เป็นเทคโนโลยีที่น่าสนใจนำมาใช้งานเพราะมีคุณสมบัติการทำ Inernet Gateway เหมือนกับระบบอื่น

เทคโนโลยีเครือข่ายสายไฟฟ้า
เทคโนโลยีเครือข่ายสายไฟฟ้า (Powerline Network) หรือ Power Line Communication เป็นการนำเอาสายไฟฟ้าที่เดินอยู่ภายในบ่านมาใช้รับ-ส่งข้อมูล (การใช้งานจะต้องมีอุปกรณ์แปลงสัญญาณข้อมูลออกจากสัญญาณไฟฟ้า) เทคโนโลยีเครือข่ายสายไฟฟ้าสามารถจะรับ-ส่งทั้งภาพ เสียง ไฟล์ข้อมูลขนาดใหญ่ รวมทั้งการท่องอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงขนาด 4.5 เมกกะบิตต่อวินาที (ความเร็วบนโมเด็มประมาณ 56 กิโลไบต์ต่อวินาที) การทำงานพื้นฐานของเทคโนโลยีเครือข่ายสายไฟฟ้า เมื่อมีสัญญาณข้อมูลจากอินเตอร์เน็ตซึ่งจะมีความถี่สูงเข้าก็จะส่งสัญญาณนี้ไปยังสถานีไฟฟ้าท้องถิ่น เพื่อจ่ายไฟฟ้าให้กับทุกบ้าน ผู้ใช้จะต้องมีหม้อแปลงพิเศษสำหรับเสียบเข้ากับปลั๊กไฟตามบ้าน แล้วทำการแปลง-แยกสัญญาณข้อมุลต่าง ๆ ทั้งภาพและเสียงออกจากสัญญาณไฟฟ้า จากนั้นจึงส่งข้อมูลเหล่านั้นไปให้แก่เครื่องคอมพิวเตอร์หรือครื่องใช้ไฟฟ้าอื่น ๆ ต่อไป

องค์กรที่ควบคุมดูแลมาตรฐานการใช้เครือข่ายสายไฟฟ้าคือ HomePlug Powerline A lliance โดยการรวมตัวของบริษัทผู้ผลิตอุปรณ์เครือข่ายชั้นนำต่างๆ เช่น AMD, CISCO, Compaq, Intel, Motorola, 3COM ฯลฯ มีเว็บไซต์ชื่อ www.homeplug.org

เทคโนโลยีของบริษัท Intellon จะเป็นการออกแบบชิพ (Chip) เพื่อใช้ฝังเข้าไปในคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ จากรูปที่ 5.8 จะเห็นว่าเทคโนโลยี Intellon Homeplug 1.0 Compliant มีความเร็วสูงถึง 14 เมกกะบิตต่อวินาที

เทคโนโลยีเครือข่ายแบบไร้สาย
เทคโนโลยีเครือข่ายแบบไร้สาย (Wireless) มีการพัฒนาใช้งานในช่วงมากกว่า 5 ปีที่ผ่านมา เหมาะสำหรับสถานที่ๆ ไม่ต้องการเดินสายแลนด์ให้เกะกะ เช่น ห้อง ประชุม ห้องรับรองลูกค้าระดับ VIP สวนสาธารณะหรือพื้นที่ๆ ไม่สามารถจะเดินสายแลนด์ได้ เพียงแต่เรานำเครื่องคอมพิวเตอร์มาตั้งใช้งานให้อยู่ในรัศมีการกระจายคลื่น โดยจะมีรัศมีทำการตั้งแต่ 80 ถึง 400 ฟุต เทคโนโลยีเครือข่ายแบบไร้สายมีอยู่ 2 ชนิดด้วยกันคือ
1. HomeRF (Home Radio Frequency)
2. IEEE 802.11

HomeRF (Home Radio Frequency) เป็นผลิตภัณฑ์ของกลุ่มบริษัท Cayman System, Compaq Ciemens, Intel, Motorola และ Proxim ที่ออกแบบมาให้ใช้งานภายในบ้าน ช่วยให้เราสามารถจะหิ้วโน๊ตบุ๊คไปนั่งทำงานในห้องใดในบ้านก็ได้ หรือจะมานั่งเปิด E-mail และค้นหาข้อมูลบนอินเตอร์เน็ตตรงสนามหญ้าหน้าบ้านก็ได้ ไม่ต้องสนใจเรื่องสายแลนด์จะยาวผอไหม ? เพราะระบบ HomeRF จะใช้คลื่นความถี่ 2.4 GHz (จิกะเฮิร์ต) สำหรับทะลุทะลวงผนังห้อง กำแพง สิ่งกีดขวางต่างๆ ในการรับ-ส่งข้อมูล ระบบนี้จะมีรัศมีการประมาณ 150 ฟุต มีความเร็วในการรับ-ส่งไฟล์ 10 เมกกะบิตต่อวินาทีตามมาตรฐาน HomeRF 2.0

IEEE 802.11b เป็นผลงานการออกแบบและพัฒนาโดยหน่วยงาน Institute of Electrical and Electronic Engineers (IEEE หรือเรียกว่า I triple E) เครือข่ายแบบ IEEE 802.11b จะรู้จักกันในชื่อ Wireless LAN(WLAN) ใช้คลื่นความถี่ 2.4 GHz (จิกะเฮิร์ต) ในการรับ-ส่งข้อมูล ระบบนี้จะมีรัศมีทำการประมาณ 80-300 ฟุต จากจุดเข้าใช้งาน หรืออาจจะมากถึง 100 เมตร มีความเร็วในการรับ-ส่งไฟล์ 11 เมกกะบิตต่อวินาที ระบบเครือข่ายไร้สาย หรือ Wireless LAN นี้จะประกอบด้วย 2 ส่วนคือ Access Point (จุดเข้าใช้) และการ์ด PC โดยทั้ง 2 ส่วนนี้จะทำหน้าที่รับ-ส่งสัญญาณคลื่นความถี่ 2.4 GHz มีหน่วยงานที่ทำการทดสอบและรับรองผลิตภัณฑ์เหล่านี้คือ WECA (Wireless Ethernet Compatibility Alliance) มีเว็บไซต์ www.wi-fi.com สำหรับอินฟอร์มเมชั่น ต่างๆที่เกี่ยวข้อง มีอยู่ 2 บริษัทที่ออกแบบชิพจากทั้ง 2 บริษัทนี้

ระบบความปลอดภัย การรับ-ส่งข้อมูลไร้สายแบบ IEEE 802.11b ออกไปนั้น ย่อมจะมีโอกาสถูกดัก จับข้อมูลเช่นกัน ดังนั้นก่อนที่จะรับผลิตภัณฑ์ทาง WiFi จะตรวจสอบระบบรักษาความปลอดภัย ซึ่งจะไปตามมาตรฐานของ WEP (Wired Equivalent Privacy) เป็นการเข้ารหัสข้อมูล (Data Encryption) ขนาด 40-64 บิต และ 128 บิต เพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้กับข้อมูล

Wireless LAN ความเร็ว 5 GHz
ระบบเครือข่ายไร้สายแบบ IEEE 802.11b จะมีความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูล 5-11 เมกกะบิตต่อวินาทีพร้อมด้วยการเข้ารหัสข้อมูล ขณะนี้มีผู้ผลิตหลายรายทั้งประเทศสหรัฐอเมริกาและกลุ่มประเทศในยุโรปเริ่มออกแบบพัฒนาตรฐาน IEEE 802.11a ซึ่งใช้คลื่นความถี่ 5 GHz (จิกะเฮิร์ต) ทำให้สารถส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูงถึง 22-72 เมกกะบิตต่อวินาที และสนับสนุน Quality of Service งานที่เกี่ยวกับระบบมัลติมีเดีย เช่น ภาพเสียงที่คมชัดอีกด้วย เนื่องจากผู้ผลิตทางสหรัฐฯ จะใช้มาตรฐาน 802.11b ซึ่งมีการทำงานคล้ายกับระบบ Ethernet คือ Listen before Transmitting หรือ ฟังก่อนส่ง แต่ทางยุโรปจะใช้มาตรฐานของ HIPERLAN/2 ในการทำงานโดยจะกำหนด time slot คล้ายกับระบบ ATM ความแตกต่างของ 2 มาตรฐานนี้จะทำให้เกิดปัญหาแก่ผู้ใช้งานคือไม่สามารถนำอุปกรณ์ของฝั่งยุโรปมาใช้ในสหรัฐฯ ได้ และผู้ใช้ในสหรัฐฯ ก็ไม่สามารถจะนำ อุปกรณ์ในประเทศไปใช้ในยุโรปได้เช่นกัน

หมายเลขบันทึก: 254286เขียนเมื่อ 8 เมษายน 2009 10:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2015 17:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท