กุศลกรรมบท ๑๐ (๒)


กุศลกรรมบท ๑๐ : (ทางแห่งกุศลกรรม, ทางทำความดี, กรรมดีอันเป็นทางนำไปสู่ความสุขความเจริญหรือสุคติ – Kusala-kammapatha : wholesome course of action)


ก.กายกรรม ๓ (การกระทำทางกาย – bodily action)
๑. ปาณาติปาตํ ปหาย ฯเปฯ สพฺพปาณภูตหิตานุกมฺปี โหติ (ละการฆ่าการเบียดเบียน มีเมตตากรุณาช่วยเหลือเกื้อกูลกัน – to avoid the destruction of life and be anxious for the welfare of all lives)
๒. อทินฺนาทานํ ปหาย ฯเปฯ อทินฺนํ เถยฺยสงฺขาตํ อนาทาตา โหติ (ละอทินนาทาน เคารพกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินของผู้อื่น – to avoid stealing, not violating the right to private property of others)
๓. กาเมสุมิจฺฉาจารํ ปหาย ฯเปฯ น จาริตฺตํ อาปชฺชิตา โหติ (ละการประพฤติผิดในกาม ไม่ล่วงละเมิดประเพณีทางเพศ – to avoid sexual misconduct, not transgressing sex morals)

ข. วจีกรรม ๔ (การกระทำทางวาจา – verbal action)
๔. มุสาวาทํ ปหาย ฯเปฯ น สมฺปชานมุสา ภาสิตา โหติ (ละการพูดเท็จ ไม่ยอมกล่าวเท็จเพราะเหตุตนเอง ผู้อื่น หรือเพราะเห็นแก่ประโยชน์ใด ๆ – to avoid lying, not knowingly speaking a lie for the sake of any advantage)
๕. ปิสุณํ วาจํ ปหาย ฯเปฯ สมคฺคกรณึ วาจํ ภาสิตา โหติ (ละการพูดคำส่อเสียด ช่วยสมานคนที่แตกร้ายกัน ส่งเสริมคนที่สมัครสมานกัน ชอบกล่าวถ้อยคำที่สร้างสามัคคี – to avoid malicious speech, unite the discordant, encourage the united and utter speech that makes for harmony)
๖. ผรุสํ วาจํ ปหาย ฯเปฯ พหุชนมนาปา ตถารูปึ วาจํ ภาสิตา โหติ (ละคำหยาบ พูดแต่คำสุภาพอ่อนหวาน – to avoid harsh language and speak gentle, loving, courteous, dear and agreeable words)
๗. สมฺผปฺปลาปํ ปหาย ฯเปฯ กาลวาที ภูตวาที อตฺถวาที ธมฺมวาที วินยวาที นิธานวตึ วาจํ ภาสิตา โหติ ฯเปฯ (ละการพูดเพ้อเจ้อ พูดแต่คำจริง มีเหตุผล มีสารประโยชน์ ถูกกาลเทศะ – to avoid frivolous talk ; to speak at the right time, in accordance with facts, what is useful, moderate and full of sense)

ง. มโนกรรม ๓ (การกระทำทางใจ – mental action)
๘. อนภิชฺฌาลุ โหติ ฯเปฯ (ไม่เพ่งเล็งอยากได้ของผู้อื่น – to be without covetousness)
๙. อพฺยาปนฺนจิตโต โหติ ฯเปฯ สุขี อตฺตานํ ปริหรนฺตูติ (ไม่มีจิตคิดร้าย คิดปรารถนาแต่ว่า ขอให้สัตว์ทั้งหลายไม่มีเวร  ไม่เบียดเบียน ไม่มีทุกข์ ครองตนอยู่เป็นสุขเถิด – to be free from ill-will, thinking, “Oh, that these beings were free from hatred and ill-will, and would lead a happy life free from trouble.”)
๑๐. สมฺมาทิฏฺฐิโก โหติ ฯเปฯ สยํ อภิญฺญา สจฺฉิกตฺวา ปเวเทนฺตีติ (มีความเห็นชอบ เช่นว่า ทานมีผล การบูชามีผล ผลวิบากของกรรมดีกรรมชั่วมี เป็นต้น – to possess right view such as that gifts, donations and offerings are not fruitless and that there are results of wholesome and unwholesome actions)

กุศลกรรมบทหมวดนี้ ในบาลีเรียกชื่อหลายอย่าง เช่นว่า ธรรมจริยา (ความประพฤติธรรม – righteous conduct) บ้าง โสไจย (ความสะอาดหรือเครื่องชำระตัว – cleansing) บ้าง อริยธรรม (อารยธรรม, ธรรมของผู้เจริญ – virtues of a noble or civilized man) บ้าง อริยมรรค (มรรคอันประเสริฐ – the noble path) บ้าง สัทธรรม (ธรรมดี, ธรรมแท้ – good law; true law) บ้าง สัปปุริสธรรม (ธรรมของสัตบุรุษ – qualities of a good man) บ้าง ฯลฯ

M.I.287; A.V.266,275-278.       ม.มู.12/485/523; องฺทสก.24/165/287; 168-181/296-300. (อักษรย่อชื่อคัมภีร์)


 


พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)
Dictionary of Buddhism
Phra Brahmagunabhorn (P.A. Payutto)

ISBN 974-8357-89-9
พิมพ์ที่ บริษัท เอส.อาร์.พริ้นติ้ง แมส โปรดักส์ จำกัด

หมายเลขบันทึก: 254241เขียนเมื่อ 8 เมษายน 2009 05:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

กราบขอบพระคุณที่ให้ความรู้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท