ทักษะการเสริมกำลังใจ


ทักษะการเสริมกำลังใจ

4.  ทักษะการเสริมกำลังใจ (Reinforcement)

ทักษะการเสริมกำลังใจ

                การเสริมกำลังใจ หมายถึง การให้รางวัลหรือใช้คำพูดชมเชยหลังจากที่ผู้เรียนประพฤติปฏิบัติหรือมีพฤติกรรมตามที่ต้องการ เพื่อช่วยให้ผู้เรียนเกิดความมั่นใจ กล้าที่จะตอบคำถาม กล้าที่จะแสดงความคิดเห็น และเป็นการกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความอยากเรียน

                สิ่งที่ควรพิจารณาเกี่ยวกับการใช้วิธีการเสริมกำลังใจก็คือ ผลที่ต้องการจากการเสริมกำลังใจ ตามความเป็นจริงแล้ว จะมุ่งให้ผู้เรียนมองเห็นคุณค่าด้วยตนเองมากกว่าจะหวังสิ่งตอบแทนจากภายนอก หมายถึง ผู้เรียนควรเห็นคุณค่าจากการร่วมกิจกรรมนั้นๆ ด้วยตนเอง อย่างไรก็ตาม การที่จะให้ผู้เรียนเห็นคุณค่าด้วยตนเองเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ยาก ผู้สอนจึงต้องอาศัยการเสริมกำลังใจจากภายนอกเข้ามาช่วย แต่ต้องเลือกใช้ให้เหมาะกับบุคคลและวาระ

                หลักของการเสริมกำลังใจ

1. ผู้เรียนควรได้รับการเสริมกำลังใจทันทีเมื่อแสดงพฤติกรรมสอดคล้องกับเป้าหมายของการเรียนการสอน

2. ควรเลือกวิธีเสริมกำลังใจที่เหมาะแก่ผู้เรียนแต่ละคน

3. วิธีเสริมกำลังใจที่นำมาใช้ควรสอดคล้องกับพฤติกรรมที่ผู้เรียนแสดงออก

4. วิธีเสริมกำลังใจบางประเภทไม่ควรนำมาใช้บ่อยจนเกินไป เช่น การให้รางวัลอย่างพร่ำเพรื่อ

5. ควรให้ผู้เรียนอื่นๆ ได้มีส่วนร่วมในการเสริมกำลังใจด้วย เช่น ปรบมือ หรือช่วยกันให้คะแนน

6. การเสริมกำลังใจไม่ควรพูดเกินความเป็นจริง ควรพูดให้ตรงตามพฤติกรรมที่ผู้เรียนแสดงออก เช่น ถ้าผู้เรียนตอบถูกหมดก็บอกว่าดีมาก ถ้าตอบถูกเพียงบางส่วนก็บอกว่าใช้ได้

7. คำพูดที่ใช้เสริมกำลังใจไม่ควรใช้คำซ้ำบ่อยๆ เพราะผู้เรียนจะเกิดความรู้สึกเบื่อ และไม่เห็นคุณค่าของคำชมนั้น

8. การเสริมกำลังใจบางอย่างอาจมีผลต่อผู้เรียนคนหนึ่ง แต่ในขณะเดียวกันอาจจะไม่มีผลกับผู้เรียนอีกคนหนึ่ง

                วิธีเสริมกำลังใจ

1. การเสริมกำลังใจด้วยวาจา เช่น กล่าวคำชมว่า   ดี  ถูกต้อง  ใช้ได้  มีเหตุผลที่ดี  เก่งมาก  เป็นความคิดที่ดีมาก

2. การเสริมกำลังใจด้วยท่าทาง เช่น พยักหน้า  ยิ้ม  เขียนคำตอบบนกระดาน

3. การเสริมกำลังใจด้วยการให้รางวัลหรือสัญลักษณ์ต่างๆ เช่น ให้สิ่งของ ให้  A  B   หรือให้ดาวในสมุดส่งงาน

หมายเลขบันทึก: 253799เขียนเมื่อ 6 เมษายน 2009 12:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 16:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท