Pichet


Home work1-3

งานค้นคว้าและสรุปงานวิจัยครั้งที่ 1

เรื่อง    ปัญหาการบริหารงานวิชาการของพนักงานครูสังกัดสำนักงานเมืองพัทยา

ผู้วิจัย    ภิญญา  รักษาพันธ์

สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัย

เมษายน  2551

จุดมุ่งหมาย

เพื่อศึกษาปัญหาการบริหารงานวิชาการของพนักงานครูสังกัดสำนักการศึกษาเมืองพัทยาใน  5 ด้าน ด้านการจัดและพัฒนาบุคลากร  ด้านการวัดและประเมินผล  ด้านการพัฒนาหลักสูตร ด้านสื่อการเรียนการสอน  ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน

ตัวแปรที่ใช้ในการศึกษา

                 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่  พนักงานครูในโรงเรียนสังกัดสำนักการศึกษาเมืองพัทยา  10   โรงเรียน จำนวน 200  คน

เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล

                  แบบสอบถาม

สถิติที่ใช้วิเคราะห์

1.       ค่าคะแนนเฉลี่ย

2.       ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน

3.       การทดสอบค่า ที ( t – test )

4.       การทดสอบความแปรปรวน ( One Way – ANOVA )

ผลการวิจัย

            1.   พนักงานครุสังกัดสำนักงานการศึกษาเมืองพัทยา มีปัญหาการบริหารงานวิชาการโดยรวมและรายด้านในระดับปานกลาง

                2.   เปรียบเทียบปัญหาการบริหารงานวิชาการของพนักงานสังกัดสำนักการศึกษาเมืองพัทยา  จำแนกตามคุณวุฒิของพนักงานครู โดยรวมและรายได้แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5  โดยพนักงานครูที่มีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรีมีปัญหาการบริหารงานวิชาการมากกว่าพนักงานครุที่มีวุฒิการศึกษาสูงกว่าระดับปริญญาตรี

                3.  เปรียบเทียบปัญหาการบริหารงานวิชาการของพนักงานครูสังกัดสำนักการศึกษาเมืองพัทยา จำแนกตามประสบการณ์ทางการสอนแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ

                4.  เปรียบเทียบการบริหารงานวิชาการของพนักงานครูสังกัดสำนักการศึกษาเมืองพัทยา จำแนกตามขนาดโรงเรียน แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ

งานค้นคว้าและสรุปงานวิจัยครั้งที่ 2

เรื่อง  ปัญหาและแนวทางการพัฒนาการดำเนินงานวิชาการของโรงเรียนในกลุ่มเกาะจันทร์ /สังกัดสำนักงาน         เขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต  2

โดย  กัณย์สิณี สุดประเสริฐ

 ปี     2550

                การวิจัยครั้งนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาเปรียบเทียบปัญหาและศึกษาแนวทางการพัฒนาการดำเนินงานวิชาการของโรงเรียนในกลุ่มเกาะจันทร์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต  2  กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยข้าราชการครูในโรงเรียนในกลุ่มเกาะจันทร์ จันทร์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต  2 

จำนวน  123  คน

เครื่องมือที่ใช้

                 แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า  5  ระดับ  เกี่ยวกับปัญหาการดำเนินงานวิชาการและแบบสอบถามเลือกตอบ ( checklist )  เกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาการดำเนินงานวิชาการของโรงเรียนในกลุ่มเกาะจันทร์จันทร์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต 2

สถิติที่ใช้ ได้แก่ คะแนนเฉลี่ย ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าวิกฤตที   ความถี่ และร้อยละ

                ผลการวิจัยปรากฏ ดังนี้

1.  ปัญหาการดำเนินงานวิชาการของโรงเรียนในกลุ่มเกาะจันทร์  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต  2  อยู่ในระดับปานกลาง

2.  ปัญหาการดำเนินงานวิชาการของโรงเรียนในกลุ่มเกาะจันทร์  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี  เขต 2 ระหว่างความคิดเห็นของข้าราชการครูที่มีสถานภาพการสอนตรงเอกกับไม่ตรงเอก ไม่แตกต่างกัน ยกเว้นด้านการวิจัยวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา และด้านการพัฒนาและส่งเสริมให้มีแหล่งการเรียนรู่ที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05

3.  ปัญหาการดำเนินงานวิชาการของโรงเรียนในกลุ่มเกาะจันทร์  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี  เขต 2  ระหว่างความคิดเห็นของข้าราชการครูที่มีประสบการณ์ในการสอนน้อย ไม่แตกต่างกัน

4.   ปัญหาการดำเนินงานวิชาการของโรงเรียนในกลุ่มเกาะจันทร์  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี  เขต 2  ระหว่างความคิดเห็นของข้าราชการครูที่ปฏิบัติงานในโรงเรียนปกติกับ

ขยายโอกาส ไม่แตกต่างกัน

5.   แนวทางสำคัญในการพัฒนาการดำเนินงานวิชาการของโรงเรียนในกลุ่มเกาะจันทร์  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี  เขต 2   ได้แก่ ผู้บริหาร คณะครู ชุมชน ร่วมกันกำหนดนโยบาย วางแผนในด้านการจัดทำหลักสูตรและนำหลักสูตรไปปฏิบัติให้บรรลุเจตนารมณ์ของหลักสูตร

ควรจัดอบรมเชิงปฏิบัติการให้ครูมีความรู้ ความสามารถ ในการสอนได้ทุกรายวิชาในระดับประถมศึกษา ควรจัดอบรมเชิงปฏิบัติการให้ครูมีความรู้ ความเข้าใจในระเบียบ วิธีการ ขั้นตอนและการสร้างเครื่องมือวัดผลประเมินผล ควรจัดทำแผนปฏิบัติการนิเทศภายในและกำหนดปฏิทินการดำเนินการพร้อมทั้งกำหนดบุคคลผู้รับผิดชอบอย่างชัดเจน ควรสำรวจความต้องการเอกสารหลักสูตร วัสดุอุปกรณ์การสอน วัสดุฝึก สำหรับนักเรียนและจัดหาซื้อตามความต้องการ ควรสำรวจความต้องการ การใช้แหล่งการเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา ควรจัดส่งครูเข้าอบรมเพื่อพัฒนาความรู้ความสารมารถด้านเทคนิคการวิจัย

 

งานค้นคว้าและสรุปงานวิจัยครั้งที่ 3

เรื่อง  ปัญหาและแนวทางการพัฒนาการดำเนินงานวิชาการของโรงเรียนในเขตอำเภอหนองใหญ่ /สังกัดสำนักงาน   เขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต  1

โดย ปิยนุช  ทองพรม

 ปี     2550

                การวิจัยครั้งนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาเปรียบเทียบปัญหาการบริหารงานวิชาการจำแนกตามประสบการณ์สอน  ช่วงชั้นที่สอนและขนาดของโรงเรียน รวมทั้งศึกษาแนวทางการพัฒนาการดำเนินงานวิชาการของโรงเรียนในเขตอำเภอหนองใหญ่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต 1  จำนวน  97  คน

เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล

                 แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า  5  ระดับ มีค่าความเชื่อมั่น  .94  สถิติที่ใช้ในการสิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่  ค่าเฉลี่ย ร้อยละ  ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าวิกฤตที่ (t-test0

การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ( One – way ANOVA )

                ผลการวิจัยปรากฏ ดังนี้

1.       ปัญหาการบริหารงานวิชาการ โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับปานกลาง

2.       ปัญหาการบริหารงานวิชาการจำแนกตามประสบการณ์ในการสอนน้อยกว่า 14  ปี และ   ประสบการณ์ในการสอนมากกว่า  14  ปี โดยรวมและรายด้าน ไม่แตกต่างกัน

3.       ปัญหาการบริหารงานวิชาการจำแนกตามช่วงชั้นที่สอนช่วงชั้นที่ 1  ช่วงชั้นที่    2   ช่วงชั้นที่ 3  และช่วงชั้นที่ 4  โดยรวมและรายด้าน ไม่แตกต่างกัน

4.       ปัญหาการบริหารงานวิชาการจำแนกของโรงเรียนขนาดเล็กและโรงเรียนขนาดใหญ่โดยรวมไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาโรงเรียนขนาดเล็กและโรงเรียนขนาดใหญ่แตกต่างกัน ส่วนด้านอื่นไม่แตกต่างกัน

5.       แนวทางในการพัฒนาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในเขตอำเภอหนองใหญ่ /     สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต  1 ได้แก่ ควรมีการประชุมวางแผนกันระหว่างผู้บริหาร  ครู  และคณะกรรมการสถานศึกษา  ในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา

จากวิสัยทัศน์  ภารกิจ เป้าหมายและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของสถานศึกษา ครูผู้สอนควรจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ จัดให้มีการประชุมร่วมกันระหว่างผู้บริหารและครูเพื่อกำหนดระเบียบแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการวัดผลของสถานศึกษา จัดให้มีการอบรมครูเกี่ยวกับการสร้างและการใช้นวัตกรรมด้วยวิธีที่หลากหลาย จัดให้มีการประสานความร่วมมือในการคิดจัดหา พัฒนาและการใช้สื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยี ควรสนับสนุนงบประมาณในการพัฒนาและศึกษาแหล่งการเรียนรู้ ควรปรับปรุงข้อมูล

สารสนเทศและการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อให้มีความพร้อมในการจัดการเรียนการสอน

 

  

คำสำคัญ (Tags): #1
หมายเลขบันทึก: 253561เขียนเมื่อ 5 เมษายน 2009 13:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 06:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

คุณพิเชษฐ์เนี่ย ขยันจริง ๆ

กี่เรื่องแล้วนี่

เสียดายจังเมื่อวานไม่ได้ไปด้วย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท