บรรยากาศการบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อน วัดพระแก้ว จ.เชียงราย(๑)


บรรยากาศการบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อน วัดพระแก้ว จ.เชียงราย

  

 

     วันที่ ๑ เมษายน ๒๕๕๒ วัดพระแก้ว จังหวัดเชียงราย ร่วมกับเทศบาลจังหวัดเชียงราย ได้จัดให้มีพิธีบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อน มีนักเรียนเข้าบรรพชาครั้งนี้รวมทั้งสิ้น ๑๔๗ คน

เด็กนักเรียนผู้ที่จะบรรพชาสามเณร

  ก่อนบรรพชาเป็นสามเณร สิ่งที่ต้องทำคือการโกนผม จากการสังเกตุว่าผู้ที่จะบรรพชาจะถือดอกบัวเกือบทุกคน

ดอกบัวมีความสำคัญอย่างไรหรือ จึงต้องถือ

 คนไทยส่วนใหญ่มักจะใช้ดอกบัว ในการบูชาพระอยู่เสมอ 

      ความเชื่อในทางพุทธศาสนา ตั้งแต่สมัยโบราณว่า ดอกบัวก็เหมือนกับคนเรานี้เอง ดอกบัวที่ชูดอกพ้นจากผิวน้ำขึ้นมารับแสงสว่างได้นั้น ก็เหมือนกับ ผู้ที่หลุดพ้นจากความทุกข์ทั้งปวง กลายเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรม ซึ่งถือเป็นความหมายอันลึกซึ้ง และเป็นมงคลยิ่งนัก

      คนโบราณจึงมึความเชื่อว่า ครอบครัวใดที่ปลูกบัวเอาไว้ประจำบ้าน ก็จะช่วยให้คนครอบครัวนั้น มีจิตใจที่บริสุทธิ์ สะอาด และเบิกบานแจ่มใส เช่นเดียวกับดอกบัว และยังเชื่ออีกว่า สายใยของบัวที่ยืดยาวนั้น คือสายสัมพันธ์ของครอบครัว จะทำให้ทุกคนมีความห่วงใยรักใคร่ และผูกพันต่อกันอย่างแนบแน่น ครอบครัวนั้น ก็จะมีแต่ความสุข เพราะความรักใคร่ปรองดองของคนในครอบครัวทุกคน

  โกนผมนาค เลือดไหล

ช่วยกันคนละไม้คนละมือขอร่วมโกนผมนาคด้วยคน

นาคพร้อมที่บรรพชาเป็นสามเณร

นั่งสมาธิก่อนบรรพชา

ทำไมผู้ที่จะบรรพชาอุปสมบท จึงเรียกว่านาค

มีเรื่องเล่าว่า สมัยพระพุทธกาลมีพญานาคตนหนึ่งอยากจะบวช จึงแปลงกายเป็นมนุษย์แล้วบวช

จากนั้นก็ถูกจับได้ว่าเป็นพญานาค พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่านาคเป็นอภัพสัตว์

จะบรรลุมรรคผลไม่ได้ จึงมิสามารถบวชได้ พญานาคจึงเสียใจมากแล้วจากไป

(ในคัมภีร์มหาวรรค แห่งพระวินัยปิฎก เขียนไว้แค่นี้ส่วนที่เหลือเป็นการเล่าเสริมขึ้นมา)

จากนั้นพญานาคจึงขอให้ฝากชื่อของตนไว้กับคนที่จะบวชใหม่

เพื่ออุทิศผลบุญกุศลมาให้แก่ตนซึ่งบวชไม่ได้ เพราะเหตุนี้คนบวชใหม่จึงถูกเรียกว่า “นาค” สืบมา

นาค นอกจากจะแปลว่า งูใหญ่ แล้วยังแปลว่า ไม่มาสู่ความประพฤติชั่ว

เป็นลักษณะของคนดี พระจะบวชให้เฉพาะนาคเท่านั้น

คนชั่ว ๆ เป็นนาคไม่ได้ เพราะฉะนั้น บวชนาค = บวชคนดี

 บรรยากาศช่วงเช้ามีการโกนผมนาค และขบวนแห่นาครอบเวียง

เตรียมแห่นาครอบเวียง

ชมบรรยากาศการบรรพชาสามเณรตอนต่อไป

 

หมายเลขบันทึก: 252454เขียนเมื่อ 1 เมษายน 2009 12:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท