พัฒนาจิตด้วยการภาวนา


บุญที่ไม่มีอะไรเทียบได้........เท่าการฝึกกรรมฐานเพียงครั้งเดียว

 

 

 

 

       ท่าน อาจารย์สนอง วรอุไร ปราชญ์ทางการปฏิบัติธรรมะท่านหนึ่ง ท่านกล่าวไว้ว่าอานิสงส์ของการภาวนานั้น คือ บุญที่ไม่มีอะไรเทียบได้ ต่อให้สร้างโบสถ์ 100 วัด ทอดผ้าป่า 1,000 กอง บริจาคเงินกี่สิบล้านก็ยังมีอานิสงส์ไม่เท่าการฝึกกรรมฐานเพียงครั้งเดียว นอกจากนั้น ทานและศีลยังเป็นพื้นฐานสำคัญของการภาวนา หากไม่เคยทำทานและศีลไม่บริสุทธิ์ ฝึกอย่างไรจิตก็ไม่นิ่ง
      

      วิธีฝึกวิปัสสนากรรมฐาน ก็คือ การฝึกตามหลักสติปัฏฐาน 4 คือใช้จิตตามดู ตามรู้ กาย เวทนา จิต และธรรม ให้เห็นตามความเป็นจริง


1. การตามดูกาย คือ การพิจารณาร่างกายทุกแง่ทุกมุม แยกจนเห็นรูปและนามที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป อย่างชัดเจนตามหลักไตรลักษณ์ ฝึกแรกๆดูเพียงแค่หยาบๆ คือ กำหนดสติพิจารณากายดูก่อนว่าร่างกายนี้ประกอบด้วยอวัยวะน้อยใหญ่อะไรบ้าง แล้วอวัยวะเหล่านั้นประกอบขึ้นจากอะไร เมื่อแยกจนเห็นเนื้อหนังมังสา ตับไต ไส้พุง กระดูก น้ำเหลือง และอื่นๆ แยกกันเป็นกองๆได้แล้ว ในที่สุดจะเห็นว่ารูปทั้งหลายไม่มี ไม่ใช่ตัวเรา ไม่ใช่ร่างกายของเราแต่เป็นเพียงปฏิกูลที่มาประกอบเข้าเป็นร่างกายของเรา เท่านั้น แล้วจะถ่องแท้ว่าทุกอย่างไม่เที่ยง ล้วนเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ในที่สุดต้องดับไปหมด


2. การตามดูเวทนา คือ การตามดูความรู้สึกของตัวเองในแต่ละขณะว่าปัจจุบันเรารู้สึกอย่างไร สุข ทุกข์ หรือว่าเฉยๆ แล้วพิจารณาว่าความรู้สึกนั้นๆเกิดขึ้นเพราะสาเหตุใด เวลารับสิ่งที่มากระทบตัวเราต่างจากเวลาที่ไม่มีสิ่งมากระทบอย่างไร และถูกกระทบดีต่างจากสิ่งที่มากระทบไม่ดีอย่างไร


3. การตามดูจิตและธรรม คือ การตามสังเกตปรากฎการณ์ธรรมชาติของสภาพจิตใจในปัจจุบันขณะว่ามีลักษณะอย่างไร เกิดโทสะ(โกรธ)ขึ้นก็รู้ว่ามีโทสะ เกิดโลภะ(โลภ)ก็รู้ว่ามีโลภะ และรู้ว่าจิตใจในตอนที่โกรธและโลภนั้นต่างจากจิตใจตอนที่สงบอย่างไร รวมทั้งเห็นถึงกระบวนการในการเกิดขึ้น แปรเปลี่ยนและดับไปของสภาพจิตใจแต่ล่ะอย่างของการปรุงอารมณ์ เช่น เมื่อโกรธก็เข้าใจวงจรของความโกรธว่าขึ้นสูง เดี๋ยวก็ต้องอ่อนลงและดับไป เมื่อฝึกไปเรื่อยๆจะทำให้นิ่งขึ้น อะไรกระทบก็ไม่หวั่นไหว

 

สรุปย่อๆ การฝึกวิปัสสนากรรมฐานตามหลักสติปัฏฐาน 4 คือ กาย เวทนา จิต ธรรม นั้น เราจะเลือกตามดูอะไรก็ได้ตามแต่จริตหรือความถนัดของแต่ละคน แต่เมื่อเลือกแล้วขอให้ตามสังเกตพิจารณาให้ถี่ถ้วนที่สุด อะไรเข้ามาก็พิจารณาตรงนั้น จนเห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่างย่อมเป็นไปตามกฎธรรมชาติ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แล้วอุเบกขาคือความวางเฉยและความรู้แจ้งเห็นจริงจะเกิด เมื่อฝึกสั่งสมไปเรื่อยๆ ไม่ว่าจะพบสิ่งกระทบรุนแรงเพียงใด ย่อมจะไม่ดีใจ เสียใจ ไม่หวั่นไหว ไม่รู้สึกอะไรทั้งนั้น ในทางตรงกันข้าม ปัญญาจะเกิดขึ้นแทนที่ทุกการกระทบ กระทบไม่ดีก็ได้ปัญญา กระทบดีก็ได้ปัญญา

 

 

ที่มา : หนังสือยิ่งกว่าสุขเมื่อจิตเป็นอิสระ เขียนโดย ดร.สนอง วรอุไร

คำสำคัญ (Tags): #ภาวนา
หมายเลขบันทึก: 252370เขียนเมื่อ 31 มีนาคม 2009 23:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 พฤษภาคม 2012 21:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

ดูกาย เวทนา และจิตธรรม

ครูต้อยขอจำไปฝึกค่ะ

ขอบคุณค่ะ

 

ขอบคุณที่นำสิ่งดีงามมาให้ค่ะ

ชอบอ่านหนังสือของท่านเหมือนกัน..ล่าสุดอ่านตายแล้วฟื้นตื่นมาเล่าได้แง่คิดมากมาย

ขอบคุณนะคะ

วันนี้คุณภาวนาแล้วหรือยัง...

มีข้อแนะนำมาฝากครับสำหรับผู้เริ่มภาวนา..ก่อนจะภาวนาต้องลองตรวจดูจริตของเราก่อนนะครับ

สำหรับวิปัสสนามี 2 จริตเท่านั้น

1) ตัณหาจริต - จะเป็นพวกรักสวย รักงาม ชอบความสงบ สบายๆถ้าเป็นมือใหม่ต้องฝึกตามรู้กาย ถ้าปัญญากล้าตามรู้เวทนาได้ครับ

2) ทิฏฐิจริต - จะเป็นพวกชอบคิด คิดได้ทั้งวัน คิดเล็กคิดน้อย เจ้าทฤษฏี ชอบอธิบาย ชอบเหตุ ชอบผล ถ้าเป็นมือใหม่ต้องฝึกตามดูจิตครับ ถ้าปัญญากล้าตามรู้ธรรมได้เลยครับ

สติปัฏฐานไม่จำเป็นต้องฝึก 4 ฐานพร้อมกัน ฐานใดที่ตรงกับจริตก็ช่วยให้เราละรูป นามได้ครับ

บางคนอยากภาวนา บางคนภาวนาแล้วแต่ไม่ก้าวหน้า อันนี้ตองลองตรวจสอบตัวเองว่าภาวนาแล้วใจโปร่ง โล่งเบา มีสติ เห็นกิเลสบ่อย ทุกข์ค่อยๆหล่นหาย อันนี้มาถูกทางครับ

ถ้าภาวนาแล้วรู้สึกอึดอัด หนักๆ ไม่เปลี่ยนแปลง อาจจะติดตรงไหนอยู่สักอย่างครับ

ลองหาพ่อแม่ครูบาอาจารย์ช่วยตรวจสอบให้จะดีมากครับ

Pสวัสดีค่ะ ขอบคุณสำหรับคำแนะนำนะคร้าเป็นสิ่งที่มีประโยชน์มากเลยค่ะเพราะส่วนใหญ่หนูจะอ่านจากหนังสือค่ะไม่ค่อยได้ปฎิบัติอ่านแล้วสบายใจดีค่ะ

จะตอบว่าวันนี้ยังไม่ได้ปฏิบัติเลยค่ะ

สวัสดีค่ะคุณครูต้อย ดีใจมากเลยค่ะที่นำบทความมาแล้วเป็นประโยชน์

ชอบและเป็นเรื่องที่ดีมากค่ะ  เป็นการฝึกจิตตนเอง ตอนนี้ฝึกนั่งสมาธิอยู่ค่ะ  แต่ยังไม่เก่งพอ 

              

สวัสดีค่ะคุณadd

ท่านได้เขียนหนังสือไว้หลายเล่มเลยค่ะ

ประวัติท่านก็น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง

สวัสดีค่ะคุณครู ตุ๊กตา หนูอยากปฏิบัติได้นะค่ะแต่ตอนนี้ได้แค่อ่านค่ะ

พยายามเข้านะค่ะ  ต้องสำเร็จค่ะ

                            

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท