เกินความคาดหมาย…ชนะด้วยความคิดเชิงบวก...


ปัญหาทุกปัญหามีทางแก้ไข...โดยการเปลี่ยนมุมมอง

           สองคนยลตามช่อง...คนหนึ่งเห็นโคลนตม แต่อีกคนกลับมองเห็นดวงดาว...เป็นการเปิดประเด็นของการอบรมเรื่อง ชนะด้วยการคิดเชิงบวก ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 24 มีนาคมที่ผ่านมา ทำให้ได้รับความรู้และประสบการณ์หลายอย่างผ่านกิจกรรมที่จัดขึ้น

การสำรวจความรู้และเติมเต็มด้วยการเรียนรู้ร่วมกัน 

          เริ่มแรกเป็นการประเมินโดยใช้คำถามเร็ว-ตอบเร็ว ในคำถาม 3 ข้อที่ว่า ความคิดเชิงบวกหมายถึงอะไร? ปัจจัยที่ส่งเสริมความคิดเชิงบวกคืออะไร?  และอุปสรรค์ที่ทำให้ไม่สามารถคิดเชิงบวกคืออะไร? เป็นการดึงความคิดแบบ Tacit Knowledge ของแต่ละคนออกมา แล้วนำมารวมกันและแบ่งออกเป็นหมวดหมู่ ทำให้เห็นว่าแต่ละคนก็มีประสบการณ์และความรู้ที่เหมือนกันบ้างแตกต่างกันบ้าง เป็นการดึงความรู้ที่มีอยู่ออกมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันและได้ผลสรุปที่เป็นความรู้และวิธีการที่นำไปใช้ในชีวิตและการทำงานได้

          ความคิดเชิงบวก หมายถึง

-          ความคิด/คิดที่จะทำเชิงสร้างสรรค์

-          คิดในทางที่ดี มีประโยชน์และหวังผลสำเร็จ

-          การคิดแต่สิ่งดีๆมองโลกในแง่ดีและปฏิบัติดี

-          การมองปัญหาที่เกิดขึ้นในทางสร้างสรรค์ เพื่อให้เกิดความรู้สึกด้านดี

-          มุมมองหรือการมองแบบมีเหตุมีผลทราบถึงเหตุที่ทำให้เป็นอย่างนั้น

ปัจจัยที่ส่งเสริมความคิดเชิงบวก สรุปเป็น 3 กลุ่มคือ

1.      ทัศนคติ(Attitude) รู้สึกดีกับงานที่ทำ เพื่อนร่วมงาน องค์กร ลูกค้า คู่แข่ง(การร่วมมือภายใต้การแข่งขัน)

2.      ความรู้ (Cognition) การคิดโดยใช้ความรู้เป็นพื้นฐาน ทำให้เกิดประโยชน์และเพิ่มมูลค่า

3.      ปัจจัยส่งเสริม(Motivation Factor) เป้าหมาย ความสำเร็จ สะท้อนกลับสิ่งที่ดี สิ่งแวดล้อม

อุปสรรค์ที่ทำให้ไม่สามารถคิดเชิงบวก แบ่งได้เป็น 3 กลุ่มคือ

1.      ตนเอง  -  ยึดติดกับความคิดเดิมๆ / จิตใจไม่ดี คิดไม่ดี

 -  ความอคติ /อารมณ์ที่เกิดขึ้น

                -  ทัศนคติเชิงลบ / มีประสบการณ์ที่เลวร้าย / ความรู้สึกน้อยใจ / ความ

                     กลัว  สงสัย   

                -  ไม่รับฟังผู้อื่น / การปิดกั้นตนเอง

2.      กลุ่ม     -   การทำโทษ

            -  ไม่คิดจะมีส่วนร่วม

            -   ความคิดเห็นขัดแย้ง / ข้อเสียของแต่ละบุคคล

3.      สังคม     -   สภาวะทางสังคม / สังคมในแต่ละสังคมนั้นๆ

                  -   สถานะภาพความมั่นคงทางการเมือง

                  -    สภาพเศรฐกิจที่ไม่ดี

เทคนิค KM เพื่อการพัฒนางาน

          ดร.ธำรงค์ อุดมไพจิตรกุล ได้ยิงคำถามให้ผู้อบรมดึงความคิดเห็นของแต่ละคนออกมาว่า ภาพ  ?  นี้คุณคิดว่ามีความหมายว่าอย่างไร? บางคนก็บอกว่าเป็นคำถาม บางคนก็บอกว่าคือปัญหา บางคนก็บอกว่าสงสัย แต่วิทยากรบอกว่า ภาพ  ? มีคนบอกว่านี่คือตัวปัญญา เพราะปัญหาก่อให้เกิดปัญญา...ที่ไหนไม่มีปัญหาที่นั่นไม่ก้าวหน้าหรือพัฒนาจากเดิม เมื่อเกิดปัญหาขึ้นความรู้เดิมที่มีอยู่ตอบไม่ได้ จำเป็นต้องหาความรู้ใหม่มาแก้ไขปัญหา จึงเกิดปัญญาขึ้น คนที่แก้ปัญหาได้เก่งกว่าคือคนที่เข้าไปนั่งในใจลูกค้า(รู้ว่าต้องการอะไร)

          การจัดการความรู้(KM) ซึ่งดร.ธำรงค์ได้ให้ความหมายว่า ความรู้ใหม่ / นวัตกรรมที่ใช้พัฒนางาน โดยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันของคนทำงาน ณ.จุดทำงาน เพื่อขับเคลื่อนองค์กรไปสู่องค์กรที่มีผลการปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ

1. เริ่มที่ใจ (Attitude for Change) โดยอยากมีส่วนร่วมในความสำเร็จขององค์กร ,เตรียมความพร้อมเพื่อความสำเร็จ, การปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์

2. คิดได้ ทำได้ (Think for Better) คิดจากสิ่งที่เห็นโดยไม่ใช้ดุลพินิจ(ความรู้สึก) ,คิดจากสิ่งที่เห็นโดยใช้ดุลพินิจ((ความรู้ เหตุผล ปัญญา) ,คิดจากสิ่งที่เห็นโดยใช้ดุลพินิจและปฏิบัติได้ (KM)

3. KM : เนียนเข้าไปในงาน ไม่ใช่งานใหม่

What คืออะไร?  ความรู้ใหม่ที่ใช้พัฒนางาน โดยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันของคนทำงาน  

                       ณ.จุดทำงาน เพื่อขับเคลื่อนองค์กรไปสู่องค์กรที่มีผลการปฏิบัติงานที่เป็น

                       เลิศ

Why ทำไมต้องทำ  เพื่อให้ทุกคนร่วมสร้างความสำเร็จด้วยปัญญาของแต่ละคน

Whom เป็นเรื่องของใคร?  ทุกคนในองค์กร

When mเมื่อไหร่?  ตลอดเวลาอย่างต่อเนื่อง เพื่อความพึงพอใจของผู้มารับบริการ ตาม

                         วัตถุประสงค์การจัดตั้งองค์กร

How ทำอย่างร?   - กระตุ้นตนเองให้อยากรู้อยากประสบความสำเร็จ

                        - กำหนดเป้าหมายหรือประเด็นที่จะพัฒนา

                        -  ค้นคว้าด้านความรู้แล้วนำมาประมวลด้วยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

                        -  จัดทำคู่มือการทำงานใหม่ นำมาใช้งานและพัฒนาบุคลากร

วิทยากรถามว่าเราทำงานเพื่อใคร?  ถ้าไม่รู้ว่าเราทำงานเพื่อใคร? ลองตอบคำถาม 3 ข้อนี้ดูโดยให้เราลองตอบคำถามในใจ

1. ทำงานเพื่อตัวเองหรือคนอื่น (...............)

2. ความสุขที่เกิดขึ้นจากงานปัจจุบัน มาจากที่ทำงานให้ตัวเองหรือผู้อื่น(............)

3. บริษัทหรือองค์กร จ้างคุณมาทำงานเพื่อตนเองหรือคนอื่น(..........)

4. เพื่อนที่รู้ใจ (Community of Interest = CoI)  หรือที่วิทยากรบอกว่า เพื่อนรู้ใจหรือ พ-ว-ก (ทำให้อุ่นใจ) = พึ่งพาได้ = ไว้วางใจ = เกรงอกเกรงใจ

          -  อยู่กับคนที่รู้ใจแล้วขยายให้เต็มองค์กร

          -  คิดคนเดียวผลบวกทวีบวก ร่วมคิดหลายคนผลทวีคูณ

          -  ทุกคนในองค์กรร่วมกันเก่งกว่าคนใดคนหนึ่งเพียงคนเดียวในองค์กร

          -  จากคู่หูสู่ครอบครัวงาน

          -  ร่วมใจดึง TK สร้างองค์ความรู้ใหม่ ขับเคลื่อนองค์กรจาก CoI สู่ CoP ที่มีจริตร่วม

5. ชำแหละ KM : SWOT KM

จุดแข็ง (Strength) :  พนักงานเป็นจุดศูนย์กลางของกระบวนการ , คิดจากสิ่งที่มี , ทำจากสิ่งที่คิด , การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทวีคูณ , เป็นการลงทุนไม่ใช่ค่าใช้จ่าย , สร้างวินัยการเรียนรู้ตลอดชีวิต , ต่อยอดความรู้ / ภูมิปัญญาเดิม

          จุดอ่อน (Weakness) : ขาดเจตสิกเชิงรุก , กลัวการสูญเสียสถานภาพ , หวงความรู้ , ทำ KM เพื่อ KM , คิดว่าเป็นภาระ

          โอกาส (Oppoutunity) : การประหวัดทรัพยากร , การสร้างความแตกต่าง , การใช้ประโยชน์จากสินทรัพย์ทางปัญญา , การมีส่วนร่วมในการทำงาน , มาตรฐานที่ต้องใจ , นวัตกรรมในการขับเคลื่อนองค์กร , การบริหารความเสี่ยง

          อุปสรรค์ (Threat ) : ความรู้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว , วัฒนธรรม”เลียนรู้” สูงกว่า”เรียนรู้  , การปรับเปลี่ยนกลยุทธ์แบบบูรณาการทำให้สูญเสียความชำนาญเฉพาะด้าน , องค์กรมีขนาดเล็กลงแต่มีความซับซ้อนมากขึ้น

6. “ SECIL” ปัญญาปฏิบัติ : องค์กรอัจฉริยะ

          -  บอกเล่าให้เข้าใจ TK (Socialization) สู่ TK

          -  จดไว้เป็นหลักฐาน EK (Externalization) สู่ TK

          -  ตรวจทานจัดทำใหม่ EK (Combination) สู่ EK

          -  นำไปใช้และพัฒนาตน : Utilization / TK สู่ EK

          -  ทุกคนเรียนรู้พัฒนา (Learning Organization)

7.  องค์ประกอบ KM  : KM = L(CMP)3T

                KM = Knowledge Management , L= Leader , C= Cognition , C= Communication , C= Culture , P= People , P= Process , P= Platform , M= Mind , M= Motivation , M= Measurement , T= Technology

          การใช้เครื่องมือการจัดการความรู้ ให้ประสบความสำเร็จต้องอาศัยปัจจัยสนับสนุนและกระบวนการตามกรอบ “ SPEAKING”

          S = Space : พื้นที่ / สถานที่ / เวที

          P = Process : กระบวนการที่ดึงเอาTK ออกมาใช้ด้วยความสมัครใจ

          E = Ends : เป้าหมายที่ต้องการให้เกิด

          A = Attitude : ทัศนคติเชิงบวกต่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

          K = Key Supporter : ผู้ให้การสนับสนุน เช่น หัวหน้างาน เป็นต้น

          I = Instrument : เครื่องมือ อุปกรณ์ สิ่งอำนวยความสะดวก ฯลฯ

          N = Norm : บรรทัดฐานในการปฏิสัมพันธ์ ที่อยู่บนความไว้วางใจกัน เครารพใน

                          ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์

          G = Generalization : ได้คำตอบหรือผลสรุปที่นำไปใช้ได้

8. การจัดการความรู้ด้วย “5ร”

รวมใจ ร่วมร่างเป้าหมาย รวมประสบการณ์ ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ รังสรรค์และใช้ประโยชน์

9. คิดถึงความสำเร็จต้อง KM (Think Success Think KM )

   

กิจกรรมสร้างองค์ความรู้ด้วยการจัดการความรู้

          ภาคบ่ายได้มีกิจกรรม ซึ่งแบ่งกัน 3 กลุ่ม โดยมุ่งหวังให้เกิดกิจกรรมการคิดเชิงบวก ช่วงแรก โดยให้แต่ละกลุ่มร่วมกันดึงความคิด ซึ่งเป็นลักษณะของคนคิดเชิงลบ มานำเสนอพร้อมด้วยกิจกรรมโดยให้ตัวแทนที่ออกไปนำเสนอนั้น จับอุปกรณ์ไปคนละชิ้น แล้วทำให้แตก เสร็จแล้วนำกลับมากลุ่มของตัวเอง ให้สร้างสรรค์ให้เป็นความคิดเชิงบวกให้ได้ภายใต้อุปกรณ์เสริมที่มีให้ ในเวลาที่กำหนด ซึ่งมีอ.อรและอ.ยุทธ เป็นคนดูแลการทำกิจกรรมนี้

 

          จากกิจกรรมนี้แต่ละคนช่วยกันออกไอเดีย คนละไม้ละมือ ไม่น่าเสชื่อว่าแต่ละกลุ่มสามารถทำชิ้นงานที่แตกนั้นมาทำให้เป็นงานชิ้นใหม่ ที่ได้ประโยชน์ได้ และมีความหมายดีเชิงสร้างสรรค์ (ซึ่งถ้าเชื่อว่า เพื่อนทำได้ก็จะบวกทันที) ซึ่งชนะด้วยการคิดเชิงบวก คิดได้ต้องทำได้

 

ทุกกลุ่มออกมาบอกความหมายชิ้นงานที่ได้สร้างขึ้น

กลุ่มฮีโร่(

หมายเลขบันทึก: 252080เขียนเมื่อ 31 มีนาคม 2009 00:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

กลุ่ม Innovation  ก็ทำออกมาได้น่าสนใจทีเดียและให้ Concept ว่า รวมใจเป็นหนึ่ง สามัคคีคือพลัง

          กลุ่ม New Wave  เลือกที่จะนำเอาชิ้นส่วนของแจกันที่แตกมาประกอบใหม่แล้วประสานด้วยเทปที่ตัดเป็นรูปหัวใจติดไว้โดยรอบ และตกแต่งส่วนอื่นด้วยริบบิ้นและมาตั้งประกอบกับฉากหลังที่มีรูปและมุมกำลังใจที่ว่า ท้อเป็นเพียงถ่าน ผ่านจึงเป็นเพชรโดยมองว่าภาชนะที่แตกนั้นเปรียบเหมือนความคิดเชิงลบของคนในองค์กร กลุ่ม New Wave เลือกที่จะใช้ความคิดเชิงบวกโดยใช้ใจในการประสานใจ นำภาชนะมาประกอบเข้าด้วยกันใหม่ ช่วยกันประคับประคององค์กรให้เกิดความสามัคคี ภายใต้ทีมที่แข็งแกร่งประดุจเพชร 

          จากกิจกรรม  จากของแตกๆ(ความคิดเชิงลบ) นำมาทำกิจกรรมสร้างสรรค์ให้เกิดความคิดเชิงบวก แล้วทำต่อเป็น Action plan (คิดได้ ทำได้) แล้วทุกกลุ่มก็มานำเสนอแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน

          ความหมายของความคิดเชิงบวกนั้น ประกอบด้วย 4 อย่างคือ

          1. ความรู้  2. ต้องสร้างสรรค์  3. ต้องประสบความสำเร็จ  4. ต้องเป็นประโยชน์

2.2 (ใช้ความรู้เป็นฐาน เพื่อสร้างสิ่งใหม่ๆ ต้องประสบความสำเร็จ และเป็นประโยชน์)

          จนมาถึงช่วง AAR  มีการเปิดใจกับสิ่งที่คาดหวังและสิ่งที่ได้รับ ประทับใจคุณจรรยาที่บอกว่า เธอคิดว่าทุกอย่างที่เข้ามาในชีวิตนั้น ให้คิดเป็นบวกหมดแล้วจะพบแต่ความสุข และสิ่งที่ได้จากการมาอบรมเรื่องชนะด้วยการคิดเชิงบวก ได้มากกว่าบวก เกินความคาดหมายจริงๆ ขอบคุณทุกคนในทีมงานและเพื่อนรวมอบรมทุกท่านที่ได้ทำให้เกิดมุมมองและสิ่งที่ดีๆมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้แก่กันและเป็นที่น่าประทับใจมากค่ะ.

                       

เข้ามาเติมอาหารสมอง ก่อนนอนครับ

สวัสดีค่ะคุณ Small man ~ natadee

·    อาหารสมองยามดึกจานนี้ คงจะมีประโยชน์บ้างนะคะ

·   นอนดึก รักษาสุขภาพด้วยนะคะ

·   ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมค่ะ.

                                  

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท