2.2. คนลาวที่เข้าเมืองโดยไม่ถูกกฎหมาย


            

 

                  คนลาวที่เข้าเมืองโดยมิชอบด้วยกฎหมายนั้น หมายถึงบุคคลที่ได้เข้ามาในประเทศไทยโดยไม่ได้รับอานุญาติ ไม่มีหนังสือใดๆ เช่น PASSPORT หนังสือผ่านแดน หรือมีหนังสือแต่ไม่ได้รับการตรวจลงตราในหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางเช่นว่านั้นจากสถานทูตหรือกงสุลไทยในต่างประเทศหรือจากกระทรวงการต่างประเทศ[1] ซึ่งไม่เป็นไปตามมาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าพวกลักลอบเข้าเมืองอย่างผิดกฎหมาย ได้แก่พวกที่หลบหนีเสี่ยงภัยความตาย และพวกที่เข้ามาหางาน เป็นต้น

                  ตัวอย่าง 1 ในกรณีของสองพี่น้องคือ นาย ทอง อายุ 18 ปี เป็นพี่คนโต และ นาย ใจดี อายุ 15 ปี เป็นคนที่ 3 เขาซึ่งมีพี่น้องด้วยกันทั้งหมด 6 คน เกิดที่บ้านถ้ำปะแหน เมืองจำพอน แขวงสะหวันนะเขต ประเทศลาว ซึ่งเป็นบุตรของนาย เวียง และ นางบี้ ก่อนเข้ามาทำงานได้มี นายแก้ว ไม่ทราบนามสกุล ได้ไปชักชวนเขา เพื่อเข้ามาทำงานในประเทศไทย นายแก้ว บอกว่า ไปทำงานอยู่กรุงเทพฯ ได้เงินดีและไปทำงานอยู่โรงงาน ก่อนจะเข้ามาทำงานในประเทศไทยสองพี่น้อง ได้จ่ายเงินให้ นายแก้ว คนละ 4,000 บาท 2 คนรวมเป็น 8,000บาท เพื่อเป็นค่านายหน้า  ซึ่งพอมาถึงประเทศไทยแล้ว นาย แก้ว ได้นำไปทำงานอาชีพ เลี้ยงเป็ดตามทุ่งนา ที่อำเภอไทรน้อย จังหวัด นนทบุรี นายจ้าง ชื่อ นาย เอกพงษ์ ไม่ทราบนามสกุล ซึ่ง นายจ้าง ตกลงให้เงินเดือน เดือนละ 3,000 บาท นับตั้งแต่มาทำงานเป็นเวลา 7 เดือนกว่าแล้ว ยังไม่เคยได้รับเงินเดือนเลย ในสภาพความอยู่ อาศัยอยู่กิน กลางทุ่งนากับตัวเป็ดและไม่มีที่นอนมีเพียงเต๊นท์เล็กๆที่สามารถเคลื่อนย้ายได้ ส่วนอาหาร นายจ้างเอาไปส่งให้เองเป็นกล่องเล็กๆ 1 กล่องต่อ 1 คนต่อวัน ไม่มีโอกาสที่จะเข้าหมู่บ้านเพื่อซื้อของใช้ส่วนตัว ไม่ได้รับการดูแลทางด้านสุขภาพยามเจ็บป่วย[2]

                  จากปัญหาดังกล่าว นายทอง นายใจดี สองพี่น้อง จึงได้หลบหนีออกจากทุ่งนาดังกล่าว แล้วมาหารถแท็กซี่เพื่อขอความช่วยเหลือและในที่สุดรถแท็กซี่ก็ได้มาส่งถึงสถานทูตลาว และทางสถานทูตลาวก็ได้ออกหนังสือเดินทางส่งกลับไปที่ประเทศลาวเป็นที่เรียบร้อยโดยดี[3]

                  ตัวอย่าง 2 ในกรณีของนายแล่ เกิดเมื่อวันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2537 อายุ 15 ปี เกิดที่ บ้านโนนแดงใต้  เมืองสุกุมมา แขวงจำปาศักดิ์ ประเทศลาว  บิดาชื่อ นายบุนยัง และมารดาชื่อนางบัวสี เป็นคนสัญชาติลาวทั้งคู่ นายแล่ มีพี่น้องร่วมท้องแม่เดียวกันทั้งหมด 4 คน นายแล่ เป็นคนที่ 2 โดยเคยได้เรียนหนังสือจนถึงป.4 นายแล่บอกว่าบิดาและมารดาของตนมีบัตรประจำตัวประชาชนลาว แต่ตัวเขายังไม่มีบัตรประจำตัว

                  นายแล่ หนีออกบ้านที่โนนแดงใต้กับเพื่อนอีกหนึ่งคนแต่เพื่อนได้กลับคืนไปแล้ว นายแล่ ตั้งใจมาทำงานที่ประเทศไทยเพราะเห็นคนในหมู่บ้านที่มาทำงานที่เมืองไทยแล้วกลับไปมีเงินทอง ซื้อของมากมาย ซึ่งมีนายหน้านำมาผ่านชายแดนไทยทางจังหวัดอุบลราชธานี และส่งตัวไปจนถึงที่ทำงานในฟาร์มเลี้ยงหมู ในเมืองชลบุรี นายแล่ได้เสียเงินค่านายหน้าจำนวน 4,500 บาท นายหน้าบอกว่าเงินเดือนในเดือนแรกจะถูกหักเป็นค่านายหน้า(4,500บาท) นายแล่ ได้ทำงานอยู่ที่นั้นได้ประมาณ 3 เดือนเศษ ก็ยังไม่ได้เงินเดือน นายจ้างบอกว่าหักเงินให้นายหน้าที่พามายังไม่หมด ดังนั้น นายแล่ จึงหนีออกจากฟาร์มเลี้ยงหมู มาทำงานก่อสร้าง แต่งานก่อสร้างที่นายแล่ทำนั้นเป็นงานหนักมาก ซึ่งได้รับค่าจ้างวันละ 80 ถึง 100 บาท เมื่อผ่านไปอีกเพียงหนึ่งเดือน นายแล่ก็ได้ออกจากที่ทำงานเพื่อไปหางานใหม่ทำและหางานใหม่ไม่ได้จนมาถึงกรุงเทพฯก็ยังไม่มีงานทำ และในที่สุดก นายแล่ ก็ได้หาเก็บของเก่าขายแถวสนามหลวง ต่อมาก็รู้สึกว่าทำไม่ไหว เงินที่ได้มาจากค่าแรงงานที่ทำงานก่อสร้างก็หมดและหาเก็บของเก่าขายก็ไม่ได้ นายแล่จึงอยากกลับบ้าน

                  นายแล่ อาศัยกิน-นอน อยู่แถวสนามหลวงและตรอกข้าวสาร อยู่เป็นเวลาหนึ่งอาทิตย์ และเงินที่ได้มาก็หมด จึงไม่มีค่ารถกลับบ้าน นายแล่ก็เดินไปหาตำรวจเพื่อขอความช่วยเหลือจากตำรวจเพื่อที่จะได้กลับบ้านและตำรวจแนะนำว่าถ้าถูกตำรวจจับ ตำรวจไทยจะส่งนายแล่กลับบ้านโดยไม่ต้องเสียเงินค่ารถ[4]

                 เช้าวันที่ 24 พฤษภาคม 2551 นางสาวชลฤทัย  แก้วรุ่งเรือง อาจารย์ประจำสำนักวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพะเยา ไปติดตามคดีการถูกจับของกรณีศึกษานายบุญชัย ไม่มีนามสกุล ที่สถานีตำรวจชนะสงคราม จึงได้เจอกับนายแล่

                   ตอนแรกนายแล่นั่งอยู่หน้าสถานีตำรวจ แล้วแม่ค้าขายน้ำส้มคั้นหน้าสถานีตำรวจ เดินเข้ามาบอกว่ามีเด็กลาวอยากมาขอให้ตำรวจจับเพราะอยากถูกส่งกลับบ้าน ตอนแรกนายแล่ไม่ยอมเดินเข้ามา แต่พอผู้ศึกษาเดินออกไปตาม นายแล่ ก็ยอมเข้ามานั่งคุยกับอาจารย์ ชลฤทัย  แก้วรุ่งเรือง และเจ้าหน้าที่ตำรวจ

            อาจารย์ ชลฤทัย  แก้วรุ่งเรือง เสนอว่าจะพาไปสถานทูตลาวประจำประเทศไทย เพื่อขอความช่วยเหลือและขอรับใบแทนหนังสือเดินทางเพื่อกลับเข้าประเทศ พร้อมทั้งให้ข้อมูลกับว่าจะต้องถูกกุมขังที่สถานีตำรวจชนะสงครามประมาณอย่างน้อย3-5วัน กว่าจะส่งตัวไปกักขังต่อที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (ซอยสวนพลู) อีกเป็นเวลา 3-5 วันจึงจะได้เดินทางไปชายแดน

            แต่นายแล่ที่ไม่มีเงินค่ารถและไม่คิดดำเนินการใดๆ ต่อที่ฟังดูว่ามีหลายขั้นตอนแล้ว ประสงค์จะเลือกถูกขังและถูกส่งไปชายแดน แบบไม่ต้องเสียค่าเดินทางเองมากกว่า อาจารย์ ชลฤทัย  แก้วรุ่งเรือง จึงให้นายแล่ท่องจำและบอกเจ้าหน้าที่ให้ดีว่า ตนเองบ้านอยู่จำปาศักดิ์ และให้ตรวจสอบว่าตนเองจะถูกส่งกลับไปทางจังหวัดอุบลราชธานีเท่านั้น ไม่เช่นนั้นแล้วอาจถูกกลับไปยังชายแดนทางจังหวัดอื่นได้ เช่น ด่านทางจังหวัดเลย หนองคาย หรือเลวร้ายไปกว่านั้น คือ ด่านแม่สาย ด่านแม่สอด ของประเทศพม่า ด่านสระแก้วของประเทศกัมพูชา ซึ่งไม่ใช่ทางกลับบ้าน  นายแล่ก็ดูเข้าใจดีและจดเบอร์โทรศัพท์ของผู้ศึกษากับอาจารย์บุญมีไว้[5]

            ต่อมาในวันที่ 24 พฤษภาคม 2551 ผู้ศึกษาก็ได้โทรศัพท์สอบถามกับนายตำรวจชนะสงครามผู้ที่รับคดีและทางตำรวจบอกว่าจะต้องรออีกให้มีประมาณ 5 คนถึง 6 คน จึงจะได้ส่งเข้าสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง(ต.ม.)และต่อมาในเช้าของวันที่ 29 พฤษภาคม 2551ตำรวจชนะสงครามก็ได้ส่งนายแล่ไปยังสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองใ นระยะนี้ผู้ศึกษาก็ได้โทรศัพท์ติดตามกับเจ้าหน้าที่ตำรวจตามด่านต่างของฝั่งประเทศลาว เช่น ด่านสากลระหว่างแขวงสะหวันนะเขตติดกับจังหวัดมุดาหารประเทศไทย และแขวงจำปาศักดิ์ติดกับจังหวัดอุบลราชธานีและโทรหานางบัวสีซึ่งเป็นบิดาของนายแล่เอง และในที่สุดนายแล่ก็ไปถึงบ้านโนนแดงใต้  เมืองสุกุมมา แขวงจำปาศักดิ์ ประเทศลาวในวันที่ 7 มิถุนายน 2551 อย่างปลอดภัย

            ตัวอย่าง 3 นาง กาวีพร วิไลวรรณ เกิดเมื่อวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2523 สถานที่เกิดบ้านบึงวะ อำเภอ(เมือง)ไกสรพรมวิหาร จังหวัด(แขวง)สะหวันนะเขตที่ประเทศลาว เป็นบุตรของนายธง วิไลวรรณ และนางณี วิไลวรรณ นางกาวีพร มีพี่น้องร่วมท้องแม่เดียวกันทั้งหมด 8 คน นางกาวีพร เป็นคนที่ 2 ซึ่งไม่ได้รับการศึกษาเนื่องมาจากปัญหาความยากจนจึงไม่มีโอกาสที่จะเข้าเรียน ดังนั้นพ่อ แม่ จึงให้ไปหางานทำเพื่อได้เงินมาซื้อข้าวกินในแต่ละวัน

            นางกาวีพรไ ด้เข้ามาในประเทศไทยในปี พ.ศ.๒๕๓๗ โดยผ่านเข้ามาทางด่านจังหวัดมุกดาหารประเทศไทย ซึ่งมีนายหน้านำพามาชื่อว่าป้าหนิงอยู่ที่บ้านชอก แขวงสะหวันนะเขต มาด้วยกัน 4 คน ก่อนที่จะเข้ามาทำงานในประเทศไทย ป้าหนิงบอกว่าจะให้มาขายน้ำเต้าหู้ที่กรุงเทพฯแต่พอมาถึงกรุงเทพฯก็ไม่มีน้ำเต้าหู้ขาย จึงได้ไปขายปลาแทนและได้รับค่าตอบแทนเดือนละ ๑,๔๐๐ บาท ในขณะที่ทำงานในกรุงเทพนางกาวีพร ก็ได้พบกับนายยุง แสนสุข ที่เป็นชาวพม่า ซึ่งได้เกิดมีความรักชอบกันจึงตกลงปลงใจกันอยู่แบบสามีภรรยาแต่ยังไม่ได้มีการจดทะเบียนสมรส และได้โยกย้ายมาอยู่ที่บ้านเลขที่ 98/1 บ้านร่มไทย หมู่ 14 ต.ท่าตอน อ.แม่อาย จ.เชียงใหม่ 

            นายยุงกับนางกาวีพร ได้มีบุตรด้วยกันสองคนคือ ชื่อ เด็กชาย ชลชาติ แสนสุข เกิดที่โรงพยาบาลปทุมธานี(สัญชาติลาวระบุไว้ในสูติบัตร) และเด็กหญิง ชติดา แสนสุข เกิดเมื่อวันที่ 14พฤศจิกายน พ.ศ.2550 เกิดที่ โรงพยาบาลฝาง(สัญชาติพม่า ระบุไว้ในสูติบัตร)

            ปัญหาก็คือว่า นางกาวีพร วิไลวรรณ สัญชาติ พม่า ซึ่งระบุไว้ตามแบบรับรองรายการทะเบียนประวัติของคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ

            ถ้าดูตามหลักฐานทางเอกสารแล้ว นางกาวีพร มีสัญชาติพม่า และนายยุงก็มีสัญชาติพม่าทั้งคู่ และบุตรทั้งสองคน คนหนึ่งระบุสัญชาติลาว และอีกคนระบุสัญชาติพม่า ในกรณีนี้ก็เป็นปัญหาที่ยากที่จะแก้หรือให้คำตอบที่ชัดเจนได้ว่า กาวีพรเป็นคนลาวจริงหรือไม่ ถ้าเข้าสู่กระบวนการในการพิสูจน์สัญชาติลาวก็ไม่รู้ว่าจะผ่านหรือไม่ ด้วยเหตุผลหลายประการ เช่น

๑.     แบบรับรองรายการทะเบียนประวัติคนต่างด้าวของนางกาวีพร วิไลวรรณ ได้ระบุสัญชาติพม่า

๒.     ไม่มีบุคคลที่จะรับรองและยืนยันว่า กาวีพร เป็นคนลาว

๓.     นางกาวีพร ไม่สามารถอ่าน เขียนภาษาลาวได้ และการพูด ฟังภาษาลาวได้ แต่ไม่ชัด

๔.     นับแต่เข้ามาไทย นางกาวีพรไม่เคยกลับไปประเทศลาวเป็นเวลากว่า 10 ปีแล้ว[6]

จากการสอบถามหาข้อมูลหลักฐานตามเอกสารและตามข้อเท็จจริงแล้ว ก็ปรากฏว่ายังมีนายจ้างที่นางกาวีพรเคยทำงานกับมาก่อนอยู่กรุงเทพฯพอจะรู้ได้ ผู้เขียนเองก็ได้ให้เขาพยายามติดต่อให้ได้ ในที่สุดนางกาวีพรก็ติดต่อกับนายจ้างคนนั้นได้และได้ติดต่อหาพ่อแม่ที่อยู่ที่ประเทศลาวได้แล้ว

            จากการรวบรวมทางข้อมูล พยานและหลักฐานที่มีอยู่พบว่า ถึงแม้นางกาวีพร จะไม่เคยได้กลับประเทศในบ้านเกิดของตนก็ตาม แต่แม่ของนางกาวีพรก็ได้ส่งเงินเสียภาษีให้กับลาวโดยตลอดมา ซึ่งในมาตรา 2 แห่งกฎหมายว่าด้วยสัญชาติลาวได้บัญญัติว่า “ สัญชาติลาวเป็นสายเกี่ยวพันธ์อย่างใกล้ชิดทางด้านการเมือง และกฎหมายระหว่างบุคคลกับรัฐของสาธารณรัฐ ประชาธิปไตย ประชาชนลาว ซึ่งแสดงออกถึงสิทธิและพันธะกรณีของพลเมืองลาวต่อรัฐ สาธารณรัฐ ประชาธิปไตย ประชาชนลาว สิทธิและความรับผิดชอบของ รัฐสาธารณรัฐ  ประชาธิปไตย  ประชาชนลาว ต่อพลเมืองลาว ผู้ที่มีสัญชาติลาวถือว่าเป็นพลเมืองลาว[7] มาตรา 20 ได้บัญญัติไว้ว่า “ บุคคลผู้ใดที่ได้ไปอยู่ต่างประเทศเกิน 7 ปีโดยไม่ได้รับอนุญาติ หรือไปอยู่ต่างประเทศทีได้รับอานุญาติแต่หากเกินกำหนดและไม่ได้อยู่ในความคุ้มครองของสถานทูต หรือกงสุลลาวที่ประจำในประเทศนั้น และขาดความสัมพันธ์ทางกฎหมายกับรัฐสาธารณรัฐ ประชาธิปไตย ประชาชนลาว เกิน 10 ปีก็จะเสียสัญชาติลาว” และตามมาตรา 48 แห่งรัฐธรรมนูญ ค.ศ.2003 ได้บัญญัติไว้ว่า “ พลเมืองลาวทุกคนมีพันธะเสียภาษีและศุลกากรตามระเบียบกฎหมาย” ที่กำหนด

            จากการอ่านตามมาตรา1วรรค1 มาตรา20วรรค2 แห่งกฎหมายว่าด้วยสัญชาติลาวและมาตรา48แห่งรัฐธรรมนูญของสาธารณรัฐ ประชาธิปไตย ประชาชนลาวเห็นว่านางกาวีพร ยังมีนิติสัมพันธ์กับรัฐสาธารณรัฐ ประชาธิปไตย ประชาชนลาวอยู่ ดังนั้นนางกาวีพรจึงถือได้ว่าเป็นคนลาวโดยข้อเท็จจริงตามกฎหมายลาว[8]

แนวทางการแก้ไขในกรณีของนางกาวีพร

            เพื่อเป็นการพิสูจน์ตัวตนว่านางกาวีพรยังมีสัญชาติลาวจริงหรือไม่และเพื่อเข้าสู่ระบบทะเบียนตามกฎหมายลาวในระดับขั้นพื้นฐานในความเป็นไปได้นางกาวีพรจะต้องมีเอกสารประกอบที่สำคัญดังนี้

๑.     ทะเบียนบ้านที่มีการยืนยันสำเนาถูกต้องตามฉบับเดิมพร้อมด้วยประทับตราสีแดง

๒.     หนังสือยืนยันจากนายบ้านว่า ตุ่น หรือนางกาวีพรเป็นบุตรของนายทงและนางนี และอยู่ในความดูแลของบ้านนี้จริง โดยรับรองจากตำรวจป้องกันความสงบ(ปกส.)เมือง และแขวงที่สังกัดอยู่ พร้อมระบุถึงปีที่เข้ามาในประเทศไทย

๓.     หนังสือยืนยันหรือใบเสร็จรับเงินที่ได้เสียภาษีในแต่ละปีโดยนายบ้านเป็นผู้รับรองก็ได้

 

 

 



[1] มาตรา๑๒,แห่ง พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522.

       โปรดอ่านในภาคนวก

[2] ข้อมูลได้จากการสำพาทจากนาย ทอง และนายใจดี อยู่ที่ สถานทูตลาวในครั้งวันที่ 03 เมษายน พ.ศ. 2551 เวลา 9 นาลิกา

[3] โปรดอ่านต่อในบทที่๓

[4] ผู้เขียนได้สำพาททางโทรศัพท็ กับนายแห้ล เมื่อวัที่7มีถุนายน 2551

[5] นางสาวชลฤทัย  แก้วรุ่งเรือง อาจารย์ประจำสำนักวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวรพะเยา 

[6] มาตรา ๒๐ กฎหมายว่าด้วยสัญชาติลาว ค.ศ.๒๕๐๔.

[7] มาตรา2, กฎหมายว่าด้วยสัญชาติลาว, ค.ศ. 2004.

[8] โปรดดูต่อในบทที่ ๓.

หมายเลขบันทึก: 251824เขียนเมื่อ 29 มีนาคม 2009 23:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 20:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท