บทที่1. สถานการณ์ด้านสถานะของบุคคลลาวในประเทศไทย (1. นิยามของคำว่า “คนลาว”)


บทที่1. สถานการณ์ด้านสถานะของบุคคลลาวในประเทศไทย

 

         ในบทนี้ผู้เขียนจะได้ศึกษาถึงสถานการณ์ของคนลาวในประเทศไทย ซึ่งผู้เขียนจะได้เริ่มจากในการให้คำนิยามในคำว่า คนลาว เพื่อเป็นการทำความเข้าใจ ในคำว่าคนลาวหมายถึงบุคคลหรือกลุ่มใดบ้างและมีความหมายไว้อย่างไร แล้วจะนำไปสู่การจำแนกคำว่าคนลาวในประเทศไทยนั้นมีสักกี่ประเภทและประเภทใดบ้าง ซึ่งบุคคลดังกล่าวจะมีสิทธิหรือมีสถานะตามกฎหมายของรัฐไทยได้หรือไม่  ซึ่งผู้เขียนจะได้ทำการศึกษาดังต่อไปนี้

 

  1. นิยามของคำว่า คนลาว       

 

     ในส่วนนี้ผู้เขียนจะได้ศึกษาตามข้อเท็จจริงและตามข้อกฎหมายลาว ในคำว่า คนลาว นั้นหมายความว่าอย่างไร และเอาอะไรมาพิสูจน์เพื่อที่จะยืนยันได้ว่าเขาเป็นคนลาวจริงหรือไม่ และมีแต่บุคคลที่มีเชื้อสายคนลาว ต้องเป็นบุคคลที่เกิดและอาศัยอยู่ในดินแดนของ สาธารณรัฐ ประชาธิปไตย ประชาชนลาวเท่านั้นหรือไม่ จึงจะสามารถเรียกว่าเป็นคนลาวได้ ในกรณีบุคคลที่ถือได้ว่าเป็นบุคคลที่เกิดในประเทศลาวแต่เขาได้เข้ามาอาศัยหรือทำงานในประเทศไทย แต่บุคคลดังกล่าวยังไม่ได้ทำบัตรหรือไม่มีบัตรประจำตัวประชาชน ซึ่งไม่หนังสือใดๆที่ติดตัวมาด้วยเพื่อที่จะยืนยันได้ว่าบุคคลดังกล่าวจะเป็นคนลาวจริงหรือไม่ ส่วนมากจะเป็นกลุ่มคนที่ลักลอบเข้าเมืองไทยอย่างผิดกฎหมายหรืออาจเป็นบุคคลที่เข้าเมืองอย่างถูกต้อง[1]และกรณีที่เด็กเกิดในประเทศไทย ซึ่งบิดา มารดา หรือ บิดาหรือมารดา ซึ่งเป็นคนลาวจะถือว่าเป็นคนลาวได้หรือไม่และตามกฎหมายลาวยอมรับเขาหรือไม่อย่างไร ผู้เขียนจะได้ศึกษาดังต่อไปนี้

     ตามกฎหมายของสาธารณรัฐ ประชาธิปไตย ประชาชนลาว ได้ให้คำนิยามไว้ว่า คนลาวเป็นผู้ที่มี สัญชาติลาวตามมาตรา2แห่งกฎหมายว่าด้วยสัญชาติลาว ซึ่งได้กำหนดว่า “ สัญชาติลาวเป็นสายเกี่ยวพันอย่างใกล้ชิดทางด้านการเมืองและกฎหมายระหว่างบุคคลกับรัฐของสาธารณรัฐ ประชาธิปไตย ประชาชนลาวซึ่งแสดงออกถึงสิทธิและพันธะกรณีของพลเมืองลาวต่อรัฐ สาธารณรัฐ  ประชาธิปไตย

ประชาชนลาว สิทธิและความรับผิดชอบของรัฐ สาธารณรัฐ  ประชาธิปไตย  ประชาชนลาว ต่อพลเมืองลาว ผู้ที่มีสัญชาติลาวถือว่าเป็นพลเมืองลาว[2] นอกนั้นในมาตรา 34 แห่งรัฐธรรมนูญลาวยังได้บัญญัติไว้ว่า พลเมืองลาวหมายถึงผู้ที่มีสัญชาติลาวตามที่ได้กำหนดไว้ในกฎหมาย[3]

     จากการศึกษาตามข้อเท็จจริงและตามตัวบทของกฎหมาย ผู้เขียนเห็นว่าคำว่า “คนลาว” นั้นมิใช้แต่บุคคลที่เกิดในดินแดนของสาธารณรัฐ  ประชาธิปไตย  ประชาชนลาว และบิดา มารดาที่มีสัญชาติลาวเชื้อสายลาว และมีภูมิลำเนาในสาธารณรัฐ  ประชาธิปไตย ประชาชนลาวเท่านั้น แต่คนลาวนั้นก็อาจเป็นบุคคลที่มีเชื้อสายต่างประเทศ และอาจไม่ได้เกิดในดินแดนของสาธารณรัฐ ประชาธิปไตย ประชาชนลาว ซึ่งอาจเป็นบุคคลที่เคยมิสัญชาติอื่นมาก่อนหรือเป็นบุคคลที่เคยมีสัญชาติลาวแต่ถูกเสียสัญชาติลาวด้วยเหตุผลที่ว่าไปอยู่ต่างประเทศแล้วได้มีสัญชาติอื่น หรือเป็นคนไร้รัฐ ไร้สัญชาติในต่างประเทศ ที่ไปอยู่ต่างประเทศโดยไม่ได้รับอนุญาตเกินกฎหมายลาวที่กำหนดไว้ ซึ่งเป็นเหตุที่ทำให้เสียสัญชาติลาวไป และอาจเป็นบุคคลที่ไร้รัฐ ไร้สัญชาติ แต่มีความผูกพัน หรือมีนิติสัมพันธ์กับรัฐ และมีที่อยู่มีภูมิลำเนาอย่างถาวรในสาธารณรัฐ  ประชาธิปไตย  ประชาชนลาว ก็อาจมีสัญชาติลาวได้ตามกฎหมายลาวที่กำหนดไว้

     ดังนั้นคำว่า คนลาว ผู้เขียนจึงสรุปได้ว่า คนลาวนั้นไม่มีเฉพาะแต่คนลาวที่มีสัญชาติลาว มีเชื้อสายลาวและต้องเป็นบุคคลที่เกิดในดินแดนของรัฐ สาธารณรัฐ  ประชาธิปไตย  ประชาชนลาวเท่านั้นบุคคลที่มีสัญชาติต่างประเทศ มีเชื้อสายต่างประเทศ หรือเป็นคนไร้รัฐ ไร้สัญชาติและเกิดอยู่นอกดินแดนของ สาธารณรัฐ  ประชาธิปไตย  ประชาชนลาว ก็อาจเป็นคนลาวหรือได้สัญชาติลาวตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายลาว

      จากการศึกษาตามข้อบทของกฎหมายและตามข้อเท็จจริงแล้ว ผู้เขียนจึงสามารถพบว่า คำว่า“คนลาว” เป็นสามกรณีด้วยกันเช่น คนลาวโดยสัญชาติลาว คนลาวโดยเชื้อชาติลาว คนลาวโดยนโยบายของรัฐและหลักสิทธิมนุษยชน ซึ่งผู้เขียนจะได้ทำทำการศึกษาเป็นแต่ละกรณีดังต่อไปนี้



[1] หมายว่าในกลุ่มคนเหล่านี้ตอนแรกที่เข้าเมืองมาถูกต้องกฎหมายถือ PASSEPORT หนังสือผ่านแดน โดยผ่านจากการตรวจและปร้ำตราวีชาเข้า-อออย่างถูกต้องทุกประกาน แต่อาศัยอยู่เกินกำหนดระยะเวลาที่กำหนดไว้ซึ่งไม่กล้าที่จะถือเอาหนังสือดังกล่าวนั้นไปแจ้งต่อเจ้าหน้าที่ตามด่านต่างๆเขาเจ้าจึงถิ้งและทำหาย เมื่อในขณะที่เจ้าหน้าที่ตำรวจไทยจับได้ถามหาหนังต่างๆก่อมีดังนั้นเจ้าหน้าที่ก็เลยใส่ข้อหาว่าเป็นคนลาวที่เข้าเมืองแบบผิดกฎหมาย

[2] มาตรา2, กฎหมายว่าด้วยสัญชาติลาว, ค.ศ. 2004.

[3] มาตรา34, แห่งรัฐธรรมนูญ ส ป ปลาว ค.ศ . 2003.

หมายเลขบันทึก: 251812เขียนเมื่อ 29 มีนาคม 2009 22:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 21:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เรืยน เพื่อนคนลาว และ ไทย

เรื่อง กานทำบัตรพักเชาชั่วคราว สำหรับคนต่างจังหวัด เข้ามาอยู่ในตัวเมือง

อย่ากทราบว่า ทางรัฐบาลไทย ก็เก็บค่าธรรมเนืยม สำหรับคนไทย ที่มาจากต่างจังหวัด คือมาเช่าห้องอยู่ แล้วต้องได้จ่ายให้รัฐบาลไทย เหมือนกับ รัฐบาบของ สปปลาว ทำ เหมือกัน หรือเปล่า  เพราะผมมาเรืยน ที่นครหลวงเวืยงจันทน์ ต้องได้จ่ายค่าธรรมเนืยม หรือ ว่าเก็บภาษี จากคนต่างถิ่นที่ต้องมาอาศัยอยู่ในเมือง เดือนละ 20 บาท/คน 

ชื่งต้องได้จ่ายเป็นงวดให้ คณะผู้ใหญ่บ้าน และ ตำรวจกุ่ม  ยิ่งไปกว่านั้น คือเขาสามารถมาตรวจยามกลางคืน ตามห้องเช่าโดยไม่ได้มีอะไรแจ้งล่วงหน้า เขามาเคาะประตูห้อง แล้วเรานอนดับอยู่ก็ต้องได้ลุกขื้นมา ให้เขาตรวจ   รัฐบาลลาวทำแบบนี้นะ  ถ้ามีคนมาปลอมตัวเป็นเจ้าหน้าที่ ไอ้พวกห้องเช่า คงจีบหายเลย   ตอบด้วยนะ พี่น้องคนลาว และ ไทย  ด้วยเมล  [email protected]

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท