HR TALK SHOW : Go Training Talk ศักยภาพคนไร้ขีดจำกัด ตอนที่ 6


แบ่งปันความรู้ สู่สังคมอุดมปัญญา

จาก 5 ตอนที่แล้วผมได้เขียนเล่าภาพรวมของงานมาและได้แนะนำวิทยากรมาแล้ว 4 ท่าน (ความเดิมตอนที่แล้ว

http://gotoknow.org/blog/attawutc/251475)   สำหรับตอนนี้ ผมจะนำเสนอวิทยากรที่เป็นวิทยากรจริงๆ มีอุดมการณ์ในการเป็นครู

 

วิทยากรท่านที่ 5 คือ อาจารย์ ไชยยศ  ปั้นสกุลไชย เป็นนักฝึกอบรมที่ไม่อิงอยู่ในกรอบรูปแบบกฎเกณฑ์ใดๆ ใช้กลยุทธ์การฝึกอบรมแบบง่ายๆ สบายๆ เหมาะกับสังคมไทย จนได้ฉายา วิทยากรนอกกรอบ : Innovative Trainer”

http://gotrainingtalk.wordpress.com/speaker/

  

http://www.oknation.net/blog/chaiyospun

อาจารย์ ไชยยศ เปิดตัวด้วย Key word คำว่า “BLOCK” จากนั้นโยงไปยังเนื้อหาของการเรียนรู้แบบ TED (Technology / Entertain / Design) แต่เป้าหมายที่แท้จริงของการนำเสนอในวันนั้นคือ การให้ เปิดรับ แสดงออก อย่าปิดกั้นตัวเอง โดยแปลง “BLOCK” ให้เป็น “BLOG” :ซึ่งเราชาว GTK ทราบดีว่า BLOG ได้สร้างคุณานุประการไว้ให้กับนักเรียนรู้อย่างเราๆ ท่านๆ ได้มากเพียงไร  อาจารย์มี BLOG อยู่ที่ค่าย oknation ได้เริ่มเขียน BLOG มาตั้งแต่วันที่ 4 เมษายน 2551 ระยะเวลาเพียงไม่ถึงปี อาจารย์ได้เขียนบันทึกไว้ถึง 319 เรื่อง มีผู้เข้าชมถึง 67,534 คน (ข้อมูล ณ วันที่ 28 มีนาคม 2552 ) อาจารย์มีข้อแนะนำสำหรับนักเขียน BLOG เพื่อให้มีเรื่องเขียนอยู่อย่างต่อเนื่องดังนี้

-         เป็นเรื่อง จริง ใกล้ตัว

-         เรื่องที่น่าสนใจ

-         เป็นเรื่องส่วนตัว

-         ประสบการณ์

โดยอาจารย์ได้ยกตัวอย่างจากการเขียน BLOG แม้เป็นเรื่องส่วนตัวก็ทำให้มีประโยชน์ต่อสังคมได้ เช่น เรื่องการเรียนรู้ของเด็ก เรื่องโรคกรนเสียงดัง  (http://www.oknation.net/blog/chaiyospun/category/ChildLearning) เป็นต้น

 

สุดท้ายอาจารย์ได้สรุปคำจำกัดความของ “BLOG” แต่ละตัว โดยเชิญชวนให้เรามา .แบ่งปันความรู้ สู่สังคมอุดมปัญญา ด้วยประโยชน์ BLOG ดังนี้

B : Business – ทำให้มีการติดต่อธุรกิจ และเปิดช่องทางการธุรกิจสร้างรายได้

L :  Learning – ทำให้เกิดการเรียนรู้ ค้นคว้าหาความรู้จุดประกาย ไปไม่มีที่สิ้นสุด

O : Open Up – ทำให้เปิดใจ มีสติ สมาธิ จากการแสดงความคิดเห็นที่เกิดขึ้นใน BLOG

G : Gang -  ได้เพื่อน ได้เครือข่าย ได้มุมมองความคิดที่เราคาดไม่ถึง

หมายเลขบันทึก: 251525เขียนเมื่อ 28 มีนาคม 2009 15:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

  • เท่าที่อ่านคร่าวๆ
  • ได้ความรู้สึกว่า การเป็นวิทยากรนี่ไม่ง่าย แต่ก็ไม่ยากนะครับ

ขอบคุณ คุณ. Nat_Panik ที่เข้ามาให้กำลังใจแสดงความคิดเห็นครับ ผมเห็นด้วยครับว่าการเป็นวิทยากรนี่ไม่ง่าย แต่ก็ไม่ยาก อยู่ที่ว่าเรารักที่จะทำในสิ่งที่ชอบหรือไม่ อย่างที่คุณสมศักดิ์ ชลาชลเคยพูดไว้ ถ้าชอบสิ่งใดแล้วให้ทำในสิ่งนั้นจนถึงที่สุด ยกตัวอย่างเกมคอมพิวเตอร์ที่ผู้ใหญ่มองว่าไร้สาระ แต่หารู้ไม่ว่าเด็กที่คลั้งไคล้การเล่นเกมนั้น ปัจจุบันได้ผันตัวเองมาสู่นักพัฒนาเกมที่ประสบความสำเร็จแล้ว หรือตามที่มีการวิจัยออกมาว่า นักศึกษาแพทย์ที่ใช้เคยเล่นเกมโดยใช้ JOY STICK คล่องๆ จะสามารถใช้เครื่องมือผ่าตัดได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าคนที่ไม่เคยใช้ JOY STICK

  • ประเด็นนี้น่าสนใจครับ
  • แต่เราจะพัฒนาอย่างไรให้เด็กไทยเรียนรุ้เพื่อพัฒนา ไม่ใช่เห็นว่าลูกติดเกม แล้วคิดว่า ต่อไป อนาคตโปรแกรมเมอร์มือหนึ่งแน่นอน แต่กลับส่งเสริมผิดทางกลายเป็นอย่างอื่นไปนะครับ

ในความคิดผม อยากให้คิดให้ในมุมมองในแง่ของพรหมวิหาร เพื่อการหลุดพ้น  ซึ่งผมคิดว่าผู้ใหญ่เราต้องเป็นตัวอย่างที่ดีแก่เด็ก ทำให้ดู อยู่ในเห็น ซึมซับพฤติกรรมด้านคุณธรรม จริยธรรม สร้างความศรัทธาให้เด็กเกิดแรงบันดาลให้อยากเรียนรู้ เรียนรู้ วิธีการเรียนรู้ สร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตัวเอง (ขอยืมสำนวนของอาจารย์วรภัทร ภู่เจริญ (คนไร้กรอบ) http://gotoknow.org/blog/ariyachon มาใช้ครับ) อยากให้ลองอ่าน Link เหล่านี้ ดูครับ

http://gotoknow.org/blog/sombatn-ednuqakm/250133

http://www.managerroom.com/forums/forum_topics.asp?FID=8

อ่านหนังสือ Innovative Trainer ของ อ.ไชยยศ แล้ว

รู้ว่าจะเป็น วิทยากรนอกกรอบ นั้นต้องเชี่ยวชาญจริง ๆ อ่านแล้ว

ทำให้นึกถึง อ.อุไรวรรณ อยู่ชา ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาบุคลากร

Thaiskillplus และขอยกให้เป็น วิทยากรนอก(กรอบ)

อีกคนหนึ่งค่ะ เพราะเคยไปเรียนกับอาจารย์ที่ TMA มาแล้ว

ประทับใจสไตล์การสอนมาก เมื่อมาอ่านหนังสือเล่มนี้ จึงรู้ว่า

สไตล์การสอนของอาจารย์อุไรวรรณ คือ สไตล์ของวิทยากรนอก(กรอบ)

ซึ่งมีอาจารย์อุไรวรรณ เป็นตัวจริง ๆ ค่ะ

เราทำงานราชการ อยู่กองการเจ้าหน้าที่ จัดอบรมให้ กรมฯ เชิญวิทยากร

มาเยอะมาก ๆ แล้ว แต่ละคนก็ต่างสไตล์ เช่น แน่นด้วยวิชาการแต่สอนได้น่าเบื่อ

บางคนตลกสนุก วิชาการไม่มี บางคนชื่อเสียงดีมาก แต่ไม่รู้จริง เฮ้อ !

แต่วันก่อน เราได้ลองชมการเรียนทางไกลผ่านดาวเทียม ของ NTU

ประทับใจกับการบรรยาย ของ อ.อุไรวรรณ อยู่ชา มาก ๆ ค่ะ จึงทำให้

เห็นด้วยกับคุณวันวิสา ว่า อ.อุไรวรรณ เป็นวิทยากรนอกกรอบจริง ๆ สอน

ได้ประทับใจมาก นำทฤษฏีมาผสมเข้ากับการทำงานจริง ในหลักสูตร

"การสอนงาน การแนะนำงาน" อาจารย์เข้าใจธรรมชาติของคนทำงาน

สรุปประเด็นและตอบคำถามได้ตรงมากค่ะ ถ้า หน่วยงานราชการ มีโอกาส

เชิญอาจารย์ที่มีสไตล์อย่าง อ.อุไรวรรณ และ อ.ไชยยศ มาบรรยายจะดีมาก ๆ

แต่เราก็ติดเรื่อง อัตราค่าบรรยายซึ่งระเบียบของกระทรวงการคลัง จ่ายต่ำมาก

เมื่อเทียบกับฝีมือของอาจารย์ เราก็เลยได้แต่เชิญวิทยากรที่นั่งสอนบนเวที

ไม่สนใจผู้เรียน เน้นวิชาการ เหมือนเดิม !!

อาจารย์กฤติพงศ์ เดชส่งจรัสก็น่าสนใจนะ สอนแบบ Tailor made แนวว่าอาจารย์เตรียมเนื้อหาจากการที่ได้พูดคุยสอบถามมา พอถึงเวลาสอนจริง ๆ อาจารย์แกจะประเมินผู้เรียนอย่างแนบเนียน ใช้วิธีการพูดคุย แล้วปรับเนื้อหาให้ตรงกับธรรมชาติและระดับการเรียนรู้ของผู้เรียน โดยไม่หลุดวัตถุประสงค์เลย แถมยังสอนสนุกอีก จัดโต๊ะให้ก็ไม่เคยนั่ง (ยกเว้นสภาพห้องบังคับ) อาจารย์ไม่เพียงแค่สอนเท่านั้น แต่ท่านยังเป็นที่ปรึกษาด้านการพัฒนาองค์กรและพัฒนาบุคลากรให้กับหน่วยงานราชการและเอกชนหลายแห่ง เช่น สป.ก.คลัง (สมรรถนะ), ก.พลังงาน (ยุทธศาสตร์องค์กร), ก.แรงงาน (ยุทธศาสตร์แรงงานนอกระบบ), กรมสรรพากร (การบริการ), MK Restaurant (การบริการ), กรมควบคุมโรค (ค่านิยมองค์กร), ก.พม. (ยุทธศาสตร์ประชาสัมพันธ์, ยุทธศาสตร์กระทรวง), ยูนิลีเวอร์ (ค่านิยมองค์กร) เป็นต้น ถ้าให้เขียนลงไปอีก ยาวแน่ค่ะ อาจารย์ช่วยงานเป็นนักวิจัยโครงการอยู่ที่สถาบันพระปกเกล้า, สถาบันส่งเสริมการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี, สำนักบริการวิชาการ ม.บูรพาและ ม.มหาสารคาม ลองติดต่ออาจารย์ดูนะคะ ค่าใช้จ่ายอาจารย์บอกว่าก็ตามระเบียบของหน่วยงานค่ะ ถ้างบน้อยก็คุยกันได้ ไม่มีปัญหา เพราะปัญญาเป็นสมบัติของโลก ไม่ควรหวงไว้คนเดียว อาจารย์ว่าไว้อย่างนั้น ตอนไปขอไฟล์ของอาจารย์ค่ะ ถ้ามีหลักสูตรอะไรก็ลองติดต่อดูนะคะ 08-1833-6328 (ขออนุญาตอาจารย์แกแล้วค่ะ)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท