การประชุมวิทยากรเครือข่าย สมศ.


อายุของผู้ประเมินค่อนข้างสูงวัย(65 - 68 ปี)

การประชุมวิทยากรเครือข่าย สมศ.           

                เป็นครั้งแรกที่ได้มีโอกาสไปร่วมประชุมวิทยากรศูนย์เครือข่ายสมศ.ของมหาวิทยาลัยราชภัฎ

ราชนครินทร์(24  มีนาคม  2552)ซึ่งสมศ.ให้ดำเนินงานจัดกิจกรรม “การจัดส่งเสริมให้สถานศึกษาเตรียมพร้อมรับการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสองและส่งเสริมให้สถานศึกษานำผลการประเมินไปใช้ปรับปรุงพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา ให้กับสถานศึกษาในจังหวัดภาคตะวันออก 8 จังหวัด ที่ยังไม่ได้รับการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสอง ในการจัดกิจกรรมครั้งนี้มี วัตถุประสงค์ เพื่อให้สถานศึกษามีความเข้าใจและได้รับคำแนะนำที่ถูกต้องเกี่ยวกับมาตรฐาน ตัวบ่งชี้ และเกณฑ์การประเมินคุณภาพภายนอกรอบสองและส่งเสริมให้สถานศึกษานำผลการประเมินและข้อเสนอแนะจากการประเมินภายในหรือภายนอกไปใช้พัฒนาคุณภาพสถานศึกษา

                สรุป ในการประชุมครั้งนี้ โครงการแรก คือ ต้องการให้เขตพื้นที่การศึกษาคัดเลือกโรงเรียนที่ไม่ผ่านการรับรองมาตรฐานจากสมศ. สถานศึกษาที่มีผลการประเมินผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำ และสถานศึกษาที่ศูนย์เครือข่าย สมศ.เห็นว่าเหมาะสม เข้ารับการอบรม โดยให้โควตา เขตพื้นที่การศึกษาละ 3 โรงเรียน ส่วนโครงการที่สอง การอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การพัฒนาระบบการประกันคุณภาพในสถานศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน เฉพาะเขตพื้นที่การศึกษาฉะเชิงเทรา ชลบุรี

นำร่องก่อน เป็นโรงเรียนขนาดเล็ก  ผู้เข้ารับการอบรมโรงเรียนละ 3 คนรวม 50 แห่ง

                การประชุมครั้งนี้ดูจะเป็นทางการมากไปนิด แต่ในประเด็นสุดท้ายเป็นการแลกเปลี่ยนความคิด เกี่ยวกับมาตรฐาน ตัวบ่งชี้ เกี่ยวกับความชัดเจน ความครอบคลุม มีความเหมาะสมหรือไม่ อย่างไร รวมทั้งคุณภาพของผู้ประเมินสำหรับใน

ประเด็นแรก ดูเหมือนว่ามีการเสวนาวิชาการในหลายเวทีแล้ว และได้มีการปรับเปลี่ยนตัวบ่งชี้ ในมาตรฐานที่ 5 และมาตรฐานที่ 8  ส่วนคุณภาพของหน่วยประเมิน ผู้เข้าร่วมประชุมในหลายเขตพื้นที่การศึกษา มีการวิพากษ์ในประเด็นนี้

 อย่างกว้างขวาง ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นในภาพลบ ตัวอย่างเช่น อายุของผู้ประเมินค่อนข้างสูงวัย(65 - 68 ปี) ผู้ประเมินบางส่วนไม่อยู่ในวงการศึกษา ถึงอยู่ในวงการศึกษาแต่ก็ขาดการติดตามข่าวความเคลื่อนไหวในวงการศึกษา ขาดความรู้เรื่องการจัดการศึกษาที่เปลี่ยนแปลงไป การไม่บอกข้อเสนอแนะ ข้อที่ควรพัฒนาให้โรงเรียนได้รับทราบ การแจ้งผลด้วยวาจาที่เป็นทางบวกแต่เมื่อผลการประเมินที่เป็นทางการของสมศ. กลับกันคือไม่รับรองมาตรฐาน ผลการประเมินของสมศ.ที่แจ้งมามีร่องรอยการลบด้วย Liquid และความเป็นมาตรฐานการประเมินของแต่ละบริษัทยังค่อนข้างไม่ได้มาตรฐาน โดยเฉพาะรูปแบบกัลยาณมิตรประเมิน อาจจะขาดความเกื้อกูลกันระหว่างผู้ประเมินกับสถานศึกษา ซึ่งจะนำไปสู่ความล้มเหลวของการพัฒนาคุณภาพการศึกษา(นี่คือคำบอกกล่าวของชาวโรงเรียน เท็จจริงอย่างไรคงต้องสืบค้นหาข้อมูลของโรงเรียนในภาคตะวันออก)

ขอเสริมอีกประเด็นบังเอิญนึกขึ้นมาได้  คือ สถานศึกษาที่มีผลการประเมินไม่ได้มาตรฐานและโรงเรียน ไอ ซี ยู ที่ได้รับการปรับปรุงพัฒนาตามขั้นตอนที่ สมศ. เสนอแนะแล้ว และหน่วยต้นสังกัดได้ดำเนินการตรวจสอบและทบทวนคุณภาพการศึกษาเพื่อยืนยัน การพัฒนาในมาตรฐานที่ไม่ได้การรับรองและมาตรฐานที่ได้การรับรองและแจ้งผลไปยังสมศ.และสพฐ.เรียบร้อยแล้ว ถามว่า สมศ.จะส่งผู้ประเมินมาประเมิน เพื่อแก้ไขผลการประเมินให้ได้มาตรฐานหรือไม่ ซึ่งเป็นเรื่องที่โรงเรียนมีความกังวลเป็นอย่างมาก  

                ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้   ถึงแม้จะเป็นการสะท้อนภาพของผลการประเมินของสถานศึกษาในจังหวัดภาคตะวันออก

8 จังหวัด  ซึ่งเป็นจุดเล็ก ๆ ที่ไม่ควรจะมองข้ามผ่าน  เพราะถ้าปัญหาเหล่านี้ยังไม่ได้รับการแก้ไข อาจจะนำไปสู่ปัญหาการจัดการศึกษาและคุณภาพการศึกษาในอนาคตได้

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 250958เขียนเมื่อ 26 มีนาคม 2009 09:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 00:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท