เผยแพร่ผลงานอาจารย์รังสรรค์


การอ่านทำนองเสนาะประเภทฉันท์

รังสรรค์ วัยครุฑ. (2551)  รายงานการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องการอ่านทำนองเสนาะ

                    ประพันธ์ประเภทฉันท์  สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ของโรงเรียนบางปะหัน

                 อำเภอบางปะหัน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

 

บทคัดย่อ

           

การศึกษาครั้งนี้วัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ  1) เพื่อหาประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องการอ่านทำนองเสนาะคำประพันธ์ประเภทฉันท์ ที่ผู้รายงานสร้างขึ้น  2) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ของนักเรียนโรงเรียนบางปะหัน เกี่ยวกับการอ่านทำนองเสนาะคำประพันธ์ประเภทฉันท์ หลังจากใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนชุดนี้  3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องการอ่านทำนองเสนาะคำประพันธ์ประเภทฉันท์ 

 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/2 ปีการศึกษา 2550 โรงเรียนบางปะหัน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 39 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มอย่างง่ายจาก นักเรียนที่ไม่ใช่กลุ่มตัวออย่าง ที่มีผลการเรียนสูง กลาง และต่ำ คละกันทุกห้องเรียนจำนวน 3 คน เพื่อใช้ในการทดลองขั้นหนึ่งต่อหนึ่ง (1:1)  จำนวน 9 คน เพื่อใช้ในการทดลองขั้นกลุ่มย่อย โดยเลือกกลุ่มอ่อน 3 คน ปานกลาง 3 คน กลุ่มเก่ง 3 คน (1:10) และจำนวน 39 คน เพื่อใช้ใน     การทดลองภาคสนาม   สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล เป็นค่า t มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01      (ค่าวิกฤตของ t ที่ระดับ .01 , df 38) และ

เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ได้แก่  1) บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องการอ่านทำนองเสนาะคำประพันธ์ประเภทฉันท์  2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์วิชาภาษาไทย เรื่องการอ่านทำนองเสนาะประเภทฉันท์  3) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องการอ่านทำนองเสนาะคำประพันธ์ประเภทฉันท์

                ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า  1) บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่องการอ่านทำนองเสนาะคำประพันธ์ประเภทฉันท์ ที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 84.07/81.96 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้   2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ชุดนี้ ก่อนเรียนและหลังเรียนมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01  3) ความพึงพอใจของผู้เรียนโดยรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (วัดความพึงพอใจ 5 ระดับคือมากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย และน้อยที่สุด)

 

หมายเลขบันทึก: 250954เขียนเมื่อ 26 มีนาคม 2009 09:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 11:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท