การจัดการความรู้ในการควบคุมการบริโภคยาสูบและเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ จังหวัดน่าน


ผลของการขับเคลื่อนวาระน่านลดเหล้าเบียร์ที่ต่อเนื่องมาหลายปี ทำให้เกิดตัวอย่างที่ดี มีมาตรการทางสังคมต่างๆ มากมาย

          การดื่มเหล้า-สูบบุหรี่นับวันจะเป็นปัญหาที่สำคัญที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ สังคม และสุขภาพ ประเด็นที่สนใจขณะนี้ก็คือช่วงสงกรานต์จะห้ามจำหน่ายเหล้าเบียร์ไหม เพราะจากข้อมูลพบว่าช่วงเทศกาลของสงกรานต์ทุกปีเกิดอุบัติที่มาจากการดื่มเหล้าเบียร์ทำให้ป่วยและตายจำนวนมากทุกปี แต่ขณะที่มองมุมทางเศรษฐกิจช่วงนี้คือช่วงกระตุ้นการจับจ่ายใช้สอย นี่เป็นประเด็นทางสังคมที่ต้องเลือกและหาจุดลงตัวที่เหมาะสม

 

          น่าน เมืองเล็กๆ เงียบสงบ แต่จากการสำรวจการดื่มเหล้าเบียร์ในปี ๒๕๔๗ พบว่ามีการดื่มเหล้าเบียร์เป็นอันดับหนึ่งของประเทศ ไม่อยากเชื่อแต่ต้องเชื่อ จากประเด็นนี้นำไปสู่การถกคิดทบทวนกันอย่างกว้างขวางของคนน่าน เพราะนี่มิใช่เรื่องที่ภาคภูมิใจ จึงทำให้มีการช่วยกันขับเคลื่อนวาระน่านลดเหล้าเบียร์มาอย่างต่อเนื่อง จนสามารถลดระดับจากอันดับหนึ่งมาเป็นอันดับ ๖ ของประเทศได้ในปี ๒๕๔๘ และลดมาเป็นอันดับ ๓ ของเขตตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุขเขต ๑ ในปี ๒๕๕๑ (ปีนี้ไม่มีการสำรวจในภาพรวมของประเทศ) แม้ว่าจะยังมีการดื่มอยู่มาก แต่ก็น่าดีใจที่มีแนวโน้มลดลงเรื่อยๆ

 

          ผลของการขับเคลื่อนวาระน่านลดเหล้าเบียร์ที่ต่อเนื่องมาหลายปี ทำให้เกิดตัวอย่างที่ดี มีมาตรการทางสังคมต่างๆ มากมาย สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดน่าน จึงได้นำเอาเรื่องการขับเคลื่อนการลดเหล้าเบียร์มาเป็นประเด็นในการจัดการความรู้ในปี ๒๕๕๒ โดยมีวัตถุประสงค์การจัดการความรู้ชุมชนลดเหล้า-บุหรี่ เพื่อ

๑. จัดทำฐานข้อมูลชุมชนลดเหล้า และค้นหาตัวอย่างที่ดีของชุมชนลดเหล้า-บุหรี่

๒. แลกเปลี่ยนเรียนรู้และถอดบทเรียนชุมชนลดเหล้า-บุหรี่

๓. ขยายผลตัวอย่างที่ดีไปยังพื้นที่อื่น ผลักดันนโยบายสาธารณะ

 

          สำนักงานควบคุมโรคไม่ติดต่อที่ ๑๐ เชียงใหม่ และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดน่าน ได้จัดประชุมเครือข่ายการดำเนินงานควบคุมการบริโภคยาสูบและเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ และการถอดบทเรียนเหล้า-บุหรี่จังหวัดน่าน ในวันที่ ๑๙ มีนาคม ๒๕๕๒ ณ โรงแรมเทวราช มีคณะกรรมการควบคุมการบริโภคยาสูบและเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ระดับอำเภอทุกอำเภอเข้าร่วมประชุมกว่า ๑๕๐ คน เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจในกฎหมายและแนวทางปฏิบัติในการควบคุมการบริโภคยาสูบและเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ รวมทั้งการค้นหาตัวอย่างชุมชนที่ดีที่มีการปฏิบัติด้านการลดเหล้า-บุหรี่

          ช่วงเช้า วิทยากรจากสำนักงานควบคุมโรคไม่ติดต่อที่ ๑๐ เชียงใหม่ได้ให้ความรู้เรื่องสถานการณ์การสูบบุหรี่และเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ พิษภัยจากการสูบบุหรี่และเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ และข้อกฎหมายควบคุมการสูบบุหรี่และเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์

          ช่วงบ่าย คุณสุมาลี ซุยหาญ ผู้รับผิดชอบงานควบคุมการสูบบุหรี่และเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดน่าน ได้ชี้แจงแนวทางการดำเนินงานและการสนับสนุนของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดน่าน

          หลังจากนั้นผมได้เริ่มกระบวนการจัดการความรู้เพื่อการลดการสูบบุหรี่และเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ โดยเปิดวิดีทัศน์เรื่อง เลิกเหล้า-เลิกจน เพื่อให้เห็นตัวอย่างของนำเอาความรู้มาจัดการตนเอง และอธิบายเพิ่มเติมเรื่องการจัดการความรู้เป็นการปูพื้นให้เข้าใจตรงกัน หลังจากนั้นให้เข้ากลุ่มตามอำเภอเพื่อช่วยกันค้นหาชุมชนต้นแบบในการลดเหล้า-บุหรี่ในพื้นที่อำเภอ

          กระบวนการ

๑. ให้นั่งรวมกลุ่มเป็นรายอำเภอ

๒. ครุ่นคิดทบทวนกิจกรรมการดำเนินงาน ชุมชนลดเหล้า-บุหรี่ ที่ผ่านมา

๓. ช่วยกันคิด

          - การดำเนินงานชุมชนลดเหล้า-บุหรี่ของอำเภอเรามีจุดเด่น/จุดน่าภาคภูมิใจที่สำคัญอะไรบ้าง ?

          - ค้นหา ชุมชนต้นแบบในการลดเหล้า-บุหรี่ ในอำเภอ ชุมชนนี้มีจุดเด่นอย่างไร ? แล้วนำมาเสนอ

 

          หลังจากแต่ละกลุ่มอำเภอได้ถกคิดร่วมกัน พบว่า มีเรื่องราวดีๆ ที่เป็นการขับเคลื่อนการลดการสูบบุหรี่และเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์อย่างหลากหลาย มีพื้นที่ดีดีที่น่าจะเป็นชุมชนต้นแบบอยู่หลายพื้นที่ อาทิเช่น

 

          อำเภอเมือง

กิจกรรมการงดเหล้า – บุหรี่ในชุมชนที่ผ่านมา
. รณรงค์งดเหล้าเข้าพรรษา โดยลงนามงดเหล้าเข้าพรรษา, เทศกาลงานบุญ งานศพ และงานประเพณี, งานกีฬา, อบต., โรงเรียน, จังหวัด
. เดินรณรงค์วันงดสูบบุหรี่โลก ,วันสำคัญต่างๆ เช่น วันแม่แห่งชาติ, วันพ่อแห่งชาติ, วันวิสาขบูชา, วันมาฆบูชา, วันกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ปลอดเครื่องดื่ม AK (ปี 51
ที่ผ่านมา), วัน อสม. ปลอดเหล้า
.
การเดินรณรงค์ต่อต้านป้องกันยาเสพติด
.
การเข้าค่ายอบรมคุณธรรม จริยธรรม
.
การปรับปรุงพฤติกรรมของเยาวชนให้ดีขึ้น (การดูแลช่วยเหลือนักเรียน)
.
มีมาตรการทางสังคม ปลอดเหล้าในงานศพ และงานประเพณีต่างๆ
๗. มีโครงการ
To Be Number One ส่งเสริมให้เยาวชน เล่นดนตรี กีฬา อย่างสม่ำเสมอ, มีการประกวดเยาวชนดีเด่น
.
มีการประชาสัมพันธ์ดี วิทยุชุมชน ป้ายนิเทศ เสี่ยงตามสาย และวารสารอื่นๆ
ชุมชนต้นแบบปลอดเหล้า (งานศพ, งานบุญ)
. บ้านตาแก้ว  ต.ไชยสถาน
.
บ้านถืมตอง บ้านวังฆ้อง ต.ถืมตอง
. ตำบลดู่ใต้ ม.๑๓, , ๑๒

. ตำบลกองควายทุกหมู่
.
เขตเทศบาลทุกชุมชน
.
โรงเรียนปลอดเหล้า
.
โครงการ ลด ละ เลิก สุรา บ้าน ม.๒ ต.ดู่ใต้ (บำบัด)
๙. โครงการ ลด ละ เลิก บุหรี่ ม.๔ ต.กองควาย

จุดเด่นที่ทำได้
. ผู้นำชุมชนเป็นแบบอย่าง ปฏิบัติจริง
.
มีมาตรการชุมชนที่บังคับใช้จริง
.
คนในชุมชนมีส่วนร่วมคิด, ร่วมวางแผน, ร่วมวางมาตรการ มาตั้งแต่ต้น (ทุกขั้นตอน)
.
มีประชาคมงดเหล้าที่ทำงาน เคลื่อนไหวในพื้นที่เป็นการกระตุ้นเตือนชุมชนอยู่เสมอๆ
.
คณะสงฆ์ประกาศเป็นวาระของคณะสงฆ์ พร้อมกับประชาคมงดเหล้าโดยผู้ว่าราชการจังหวัดน่านและทุกภาคส่วนลงนามสนับสนุน
โรงพยาบาล + สอ. ปลอดเหล้าบุหรี่  (รับรางวัลมาแล้ว)  ๕ ก.พ.๕๒

จุดเด่น
- ประกาศให้รู้ก่อน โดยเปิดป้ายพื้นที่ในรั้ว รพ.เป็นเขตปลอดบุหรี่ และมีกระดิ่งเตือน
- ประชาสัมพันธ์ ย้ำ, เตือน โดย เจ้าหน้าที่ และจิตอาสา
- ออกตรวจ / ตักเตือน โดย เจ้าหน้าที่/ตำรวจ/ยาม
- มีคลินิกอดบุหรี่ โดยมีทีมสุขภาพ
- ผู้บริหารจริงจัง ประกาศให้รางวัลผู้สามารถให้ เจ้าหน้าที่ อดบุหรี่สำเร็จจะมีโบนัสให้

 

          อำเภอภูเพียง

กิจกรรมที่ผ่านมา
          - แต่งตั้งคณะอนุกรรมการระดับอำเภอ  มีนายอำเภอเป็นประธาน  หัวหน้าส่วนราชการต่างๆ เป็นคณะกรรมการ สาธารณสุขอำเภอเป็นเลขาโดยมีการกำหนดนโยบายสาธารณะ ลด ละ เลิก เหล้า บุหรี่

จุดเด่นการดำเนินงาน
          - มีการบูรณาการภาครัฐและประชาชน
          - มีการนำนโยบายสู่การปฏิบัติ วัน อสม.แห่งชาติ / วันสตรีสากล / งานประเพณี  ปลอดเหล้า
         
สิ่งที่ภาคภูมิใจ

-  สถิติอุบัติเหตุ ๗ วัน  อันตราย ลดลง และไม่มีผู้เสียชีวิต

-  คดีต่างๆ ที่มีสาเหตุจากเหล้า ลดลง
ชุมชนต้นแบบ

- ต.น้ำเกี๋ยน  การดำเนินงานเชิงบูรณาการของทุกภาคส่วนโดยมีองค์กรภายนอกมาสนับสนุน เช่น  งบประมาณจาก สสส, พมจ
- น้ำแก่น  มีการดำเนินการทั้ง ๑๐ หมู่บ้าน  โดยมีคณะกรรมการสุขภาพตำบลร่วมกับองค์กรอื่น
- เมืองจัง  มีศูนย์เรียนรู้ โจ้โก้ขยายผลสู่ชุมชน  โดยมีเยาวชนเป็นแกนนำขับเคลื่อน
- ฝายแก้ว มีคณะกรรมการเครือข่ายระดับตำบล มีการขับเคลื่อนสู่ระดับ
- ม่วงติ๊ด  หมู่บ้านทุกหมู่ มีการจัดเวทีสาธารณะระดับตำบล
- ท่าน้าว มีมาตรการจากการจัดเวทีทุกหมู่บ้าน

 

          อำเภอท่าวังผา       

จุดเด่น
. มีมาตรการระดับอำเภอ  และมีการบังคับใช้จริง
.
มีคณะทำงาน อำเภอ / ตำบล
.
ผู้นำเข็มแข็ง ให้ความสำคัญ
.
ชุมชนให้ความร่วมมือ
.
วิทยุชุมชนสำหรับครอบครัว (ลด ละ เลิกบุหรี่,เหล้า อบายมุข) รายการออกอากาศทุกวัน จันทร์-เสาร์ ทุกวันเวลา ๑๖.๐๐– ๑๗.๐๐ น. (๑ ชั่วโมง)  วิทยุชุมชนอะแฮ่มเรดิโอ วิทยุสหกรณ์การเกษตรท่าวังผา สนับสนุนโดย สสส.(มูลนิธิเครือข่ายครอบครัว)
๖. มาตรการทางสังคม ร้านค้าปลอด

๗. ตรวจสุขภาพผู้สูบบุหรี่
๘. รณรงค์งดสูบบุหรี่

ชุมชนต้นแบบ
. ต.แสนทอง  - บุหรี่
.
ต.จอมพระ  - เหล้า                                   
          - กีฬาปลอดเหล้า
          - งานสีดำไม่เลี้ยงเหล้า
          - ตานสลากปลอดเหล้า
          - งานที่ได้รับ สนับสนุนจากท้องถิ่นไม่เลี้ยวเหล้า
          - กำหนดเวลาเลิกงาน (งานพิธี,งานรื่นเริง)
          - เมาไข่ขับ
: ใช้กฏหมายบังคับ

 

          อำเภอเวียงสา

กิจกรรม “ลดเหล้า – บุหรี่” ที่ผ่านมา
          - มีคณะทำงาน                 

          - วัฒนธรรมประเพณี  เรือแข่ง ปลอดเหล้า

          - ดำเนินการร้านค้า / หมู่บ้าน  ปลอดเหล้า บุหรี่ เป็นต้นแบบ
          - ป้ายประชาสัมพันธ์

          - เวทีเสวนาหาแนวทางร่วมกัน

          - ประชาสัมพันธ์ผ่านรายการวิทยุชุมชน คลื่นน่านล้านนา และนันทนคร
          - ศึกษาวิจัยเรื่องเหล้า โดยการสนับสนุนของ ม.บ้านสมเด็จเจ้าพระยา , ม.ราชภัฏอุตรดิตถ์ และองค์กรแก้ไขปัญหาสุรา

ชุมชนต้นแบบ
- บ้านนาเหลืองใน (หมู่ที่
1)   - การดำเนินงานครบวงจร

- บ้านต้นหนุน           - ารใช้ห่วงโซ่สัมพันธ์
- บ้านทุ่งเจริญ          - การใช้นโยบายการแซง  การบอกต่อ ผ่านเครือญาติ
- บ้านศรีมงคล          -  การใช้ป้ายไวนิล  / ร้านค้าปลอดบุหรี่ ๑๐๐
%
- บ้านนาเคียน  (ม.2)  - ทำขวัญด้วยน้ำมะพร้าว  (ไม่มีเหล้าปันไก่คู่)

ระดับอำเภอ
          -  การบูรณาการงานการปฏิบัติตาม พรบ.สุราบุหรี่

 

          อำเภอสันติสุข

ชุมชนต้นแบบ “งดเหล้า – บุหรี่” ได้แก่ บ้านโป่งคำ
จุดเด่น
- เป็นชุมชนเข็มแข็ง มีเครือข่ายแกนนำชุมชนต่างๆ
- มีการบูรณาการงานต่างๆ กิจกรรมหลากหลาย
- เยาวชนมีส่วนร่วม

          อำเภอทุ่งช้าง

กิจกรรมการดำเนินการ
          - งานศพปลอดเหล้า
          - เครือข่ายเยาวชนบ้านสลี  - สันกลาง
          - การตั้งด่านตรวจ
          - การเดินรณรงค์ ประชาสัมพันธ์

จุดเด่น
          - ประชาชน, ผู้นำให้ความร่วมมือและมีส่วนร่วม

ชุมชนต้นแบบ
          - ต.ปอน   - ชมรมคนฮักเมืองน่าน จุดเด่น คณะกรรมการเข็มแข็ง, ทำงานแบบจริงจัง เป็นที่ยอมรับของชุมชน

 

อำเภอแม่จริม

การดำเนินงานลดเหล้า – บุหรี่ของอำเภอที่ผ่านมา
          ปี ๒๕๔๗  การสำรวจการบริโภคบุหรี่ – สุรา โดยนักเรียน, อสม. เพื่อทราบข้อมูลปัญหา
          ปี ๒๕๔๘  การจัดเวทีลดเหล้า เลิกบุหรี่ ในระดับตำบล, อำเภอโดยมีทุกภาคส่วนกำหนดมาตรการลดการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ดังนี้
          ปี ๒๕๔๙
  มีหมู่บ้านนำร่องในการควบคุม เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และบุหรี่ ตำบลละ ๑ หมู่
          ปี ๒๕๕๐  เพิ่มตำบลละอีก ๑ หมู่

มีข้อปฏิบัติร่วมกันทั้งอำเภอ
๑. งานศพทุกงานไม่มีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
. ไม่ดื่มสุรา เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในหอประชุมประจำหมู่บ้าน, สนามกีฬา
.
ไม่มีการจำหน่าย + ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในวัด
. ไม่มีการนำเครื่องดื่มแอลกฮอล์ ไปเลี้ยงในพื้นที่การเกษตรหากจะเลี้ยงให้เลี้ยงตอนเย็นที่บ้านเจ้าภาพ

ชุมชนต้นแบบของ อ.แม่จริม ได้แก่ ตำบลน้ำพางทุกหมู่บ้าน

อำเภอสองแคว
จุดเด่น/กิจกรรม
. มีการรณรงค์ งด เหล้า เพื่อพ่อในเทศกาลเข้าพรรษา ของทุกปี
. มีมาตรการชุมชนในเรื่อง เหล้า +
บุหรี่ ดังนี้
       - ห้ามดื่ม เหล้า ในงานศพ
       - ร้านค้า ปลอดบุหรี่
       - ห้ามจำหน่าย เหล้า + บุหรี่ ให้กับเด็กอายุต่ำกว่า ๒๐ ปี
.
มีการประกาศเจตนารมณ์ อำเภอปลอดเหล้าในเทศกาลเข้าพรรษา ของทุกปี
.
กิจกรรมดำเนินการเรื่อง เหล้า + บุหรี่ อ.สองแคว
          - แต่งตั้งคณะกรรมการระดับอำเภอ
          - จัดเวที เหล้าฯ ระดับอำเภอ ๑ ครั้ง, เวทีประกาศเจตนารมณ์ฯ ๑ ครั้ง

          - มีตำบลนำร่องในการเข้าร่วมโครงการควบคุมทุกหมู่บ้าน คือ ต.นาไร่หลวง

ชุมชนต้นแบบ
บ้านปางปุก ม.๒ ต.นาไร่หลวง  อ.สองแคว 
จุดเด่น
. มีมาตรการในหมู่บ้าน ในการควบคุมการดื่ม, สูบ, ขายเหล้า + บุหรี่ในหมู่บ้าน (งานศพ, ประเพณีต่างๆ,ร้านค้าปลอดเหล้า+บุหรี่)
.
การรวมกลุ่มของผู้สูงอายุ, เยาวชน ในการรณรงค์ควบคุมการบริโภค เหล้า + บุหรี่
เช่น  กลุ่มผู้อายุตั้งกลุ่มสอนเยาวชนในหมู่บ้าน ในการตีกลองปู่จา ทุกวันพระ เพื่อห่างไกล เหล้า + บุหรี่
.
สร้างแรงจูงใจ ให้กับประชาชนในการรณรงค์งดเหล้า เทศกาลเข้าพรรษาของทุกปี (ของรางวัล, ของที่ระลึก) ซึ่งบ้างปางปุกทำมาแล้ว ๔ ปี
.
ให้เด็กนักเรียน เป็นผู้ตรวจสอบการดื่มสุราของผู้ปกครองที่เข้าร่วม โครงการงดเหล้า
. มีคณะกรรมการ ที่เข็มแข็งจากหลายหน่วยงานในพื้นที่ ในการดำเนินการโครงการฯ

 

          อำเภอนาหมื่น บ้านน้ำแพะ ตำบลปิงหลวง เป็นชุมชนต้นแบบ

 

          ฯลฯ

 

          หลังจากนี้ คงได้ลงไปสืบสาวเอาเรื่องราวดีดีเชิงลึกของแต่ละชุมชนว่า เขาดีอย่างไร มีกระบวนการจัดการอย่างไร และจะนำเรื่องราวดีดีนี้มาแบ่งปันกัน เพื่อให้เกิดการเรียนรู้และพัฒนาต่อยอดต่อไป

          อย่างนี้เรียกว่ามีดีต้องขยายครับ

๑๙ มีนาคม ๒๕๕๒

ณ โรงแรมเทวราช

 

 

หมายเลขบันทึก: 250700เขียนเมื่อ 25 มีนาคม 2009 10:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 16:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท