Palliative Care สำหรับแพทย์ใช้ทุน แพทย์ประจำบ้าน ๗: communication skill


รายการสุดท้ายของการอบรมเป็นเรื่อง การสื่อสาร หรือ communication skill  ซึ่งเป็นเรื่องที่ติดอันดับความต้องการในการอบรมสูง

อาจารย์ธิติมาเตรียมกิจกรรมนี้เป็น role playing โดยแบ่งออกเป็น ๒ ช่วง


                                                    ช่วงแรก

ใช้วิธีจับคู่แล้วผลัดกันแสดงกรณีศึกษา ๒ เรื่อง คือ บอกข่าวร้าย กับ ปฏิเสธการรักษา


 

วิธีนี้เพื่อให้น้องหมอทุกคนได้สัมผัสรับรู้ความรู้สึกของตัวเองและคู่แสดง ถึงแม้จะเป็นเรื่องสมมุติ แล้วหลังจากแสดงเสร็จ ก็ผลัดกันสะท้อนในกลุ่มใหญ่ว่าควรจะสื่อสารกันอย่างไร

 

                                                  ช่วงที่สอง

ใช้วิธีเลือกนักแสดงจากดาวเด่นของงาน ออกมาแสดงรวม ๕​ คน ในกรณีศึกษาเรื่อง มากหมอมากความ difficult doctor หรือ ปัญหาการสื่อสารระหว่างบุคลากรด้วยกันเอง

สำหรับคนที่เหลือ ถ้าปล่อยให้นั่งดูเฉยๆก็จะมัวแต่เพลิน จึงมอบหมายหน้าที่ให้ทำ โดยแบ่งออกเป็น ๔​ กลุ่มคอยสังเกตการแสดงออกของผู้แสดงแต่ละคนใน  ๔​ ประเด็น คือ

  • อารมณ์และความรู้สึก
  • กิริยาท่าทาง หรือ การสื่อสารโดยไม่ใช่ภาษาพูด
  • คำพูดที่บ่งบอกความรู้สึกหรือความต้องการของตนเอง
  • คำพูดที่บ่งบอกความรู้สึกหรือความต้องการของคู่สนทนา


วิธีนี้เพื่อโยงให้เห็น ความเชื่อมโยงของอารมณ์ความรู้สึก-ภาษากาย-ภาษาพูด
และชี้ประเด็น ความแตกต่างของภาษาพูดที่สะท้อนความต้องการของตนเองเป็นส่วนใหญ่ กับที่สะท้อนความต้องการของคู่สนทนา ซึ่งแบบหลังเป็นการสื่อสารอย่างเห็นอกเห็นใจ หรือ compassionate communication ที่บุคลากรสุขภาพควรฝึกฝน

หมายเลขบันทึก: 250550เขียนเมื่อ 24 มีนาคม 2009 17:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)
  • เคยเข้ารับการอบรมในการให้คำปรึกษาผู้ป่วยเอดส์ระยะสุดท้าย
  • บางคนน้ำตาซืมขณะแสดง workshop
  • นี่คือภาษากายที่คุณหมอหมายถึงใช่ไหมคะ

ขอเอาใช้บ้างนะครับอาจารย์

P พี่เขี้ยวครับ

  • ผมว่าจุดอ่อนของการแสดงบทบาทสมมุติ โดยเฉพาะการสดงกลุ่มเดียวให้ที่เหลือนั่งดู คือ ผู้แสดงเขินและเล่นกันแบบตลกโปกฮา คนนั่งดูก็ดูไปเรื่อยๆ ไม่สังเกตอย่างลึกซึ้ง
  • จึงควรแบ่งงานให้คนดู ต้องสังเกตลึกซึ้งในประเด็นต่างๆด้วย เพิ่มเติมจากข้างบน เช่น การแนะนำตัว การเปิดหรือปิดบทสนทนา ความเงียบ การใช้คำถามปลายปิดกับปลายเปิด เป็นต้นครับ ซึ่งแล้วแต่ว่า เราจะวิเคราะห์เรื่องไหนต่อจากนั้น
  • ภาษากาย หมายถึง ท่าทาง เช่น การนั่งกอดอกตลอดเวลา การนั่งโน้มตัวไปข้างหน้า สายตาที่เหลือบมองนาฬิกา การเอามือปิดปากตนเอง ล้วนบ่งบอกความรู้สึกของเราทั้งนั้นครับ

P น้องโรจน์ครับ

  • อยากให้เอาไปใช้แล้ว เอาประสบการณ์มาเล่าด้วยครับ
  • ตอนนี้เครือข่าย palliative care ในโรงเรียนแพทย์ได้รับทุนจาก สสส. และเริ่มดำเนินการแล้ว กำลังจะเปิดตัว website เร็วๆนี้ครับ
  • ผมจะขออนุญาตเอา blog ของโรจน์ไป link ไว้ที่นั้นด้วย ถ้าจะเขียนบันทึกเกี่ยวกับการบริการ การเรียนการสินเรื่องนี้ ช่วยกรุณาใส่ tag ms-pcare ด้วยนะครับ medical schools palliative care
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท