การสอนเขียนย่อความ


ภาษาไทย

การสอนเขียนย่อความ  นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 

สภาพปัจจุบันและปัญหา

          จากประสบการณ์การสอนภาษาไทยมาหลายปีพบว่านักเรียนยังเขียนย่อความได้ไม่ดี สรุปใจความสำคัญไม่ครบถ้วน  มักจะคัดลอกจากเรื่อง ไม่ใช้สำนวนตัวเอง เพื่อให้นักเรียนเขียนย่อความได้ดีและถูกต้องมากขึ้น  จึงคิดเทคนิควิธีสอนเพื่อแก้ปัญหา

 

แนวคิดและหลักการ

             วิธีการสอนจะเริ่มสอนจากง่ายไปหายาก  นักเรียนจะสนใจมากขึ้นและฝึกบ่อยๆ   เพื่อให้นักเรียนเกิดทักษะความชำนาญขึ้น

 วิธีดำเนินการ

1.      ครูและนักเรียนเล่าเรื่องให้นักเรียนฟัง  และให้ช่วยกันสรุปปากเปล่าจากเรื่องที่ฟัง

2.      ครูให้นักเรียนเขียนสรุปอีกครั้ง  โดยครูตั้งคำถามว่าเรื่องที่ฟังเป็นเรื่องของใคร  ทำอะไร  ที่ไหน  เมื่อไร อย่างไร ผลของเรื่องเป็นอย่างไร เพื่อเป็นแนวทางในการเขียน และให้เขียนสำนวนตัวเอง

3.      ครูแบ่งกลุ่มนักเรียน แข่งขันสรุปใจความสำคัญจากข้อความที่ครูแจกให้ แล้วให้หัวหน้ากลุ่มนำเสนอ  ครูคอยชี้แนะให้กำลังใจ

4.      ครูแจกใบความรู้ เช่นนิทาน  ข่าว  บทร้อยกรอง  เพลง  บทความ ให้นักเรียนฝึกสรุปใจความสำคัญ

5.      ครูแจกแบบฟอร์มการย่อความ และตัวอย่างการย่อความตามแบบ

6.      ครูแจกใบความรู้ให้นักเรียนย่อความตามรูปแบบที่ถูกต้อง

7.      ครูให้นักเรียนส่งบันทึกการฟังและบันทึกการอ่านทุกสัปดาห์  โดยให้ส่งการฟังวันอังคาร  การอ่านวันศุกร์เป็นประจำ  เพื่อฝึกทักษะการฟังและการอ่าน

 ผลการพัฒนา

1.      นักเรียนเขียนย่อความได้ดีขึ้น  ถูกต้องมากขึ้น

2.      นักเรียนเกิดทักษะการฟัง การพูด การอ่าน  และการเขียน

3.      นักเรียนมีการพัฒนาการใช้ภาษา

 

คำสำคัญ (Tags): #kmobec#kmobec.สพท.สข.2
หมายเลขบันทึก: 250536เขียนเมื่อ 24 มีนาคม 2009 16:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 22:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ย่อความ เป็นปัญหาระดับประเทศครับ

     ครูบางคนยังย่อความไม่เป็นเลยครับ

ข้อความนี้ดีมากคร้า

หาข้อความใหม่มาให้อีกนะคร้า

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท