ดีใจที่ KM เป็นส่วนหนึ่งของ Hamanized Care ตอนจบ


ความเดิมตอนที่  1

ความเดิมตอนที่  2

          สำหรับความประทับใจของผู้เขียน  คือ  ผู้เขียนหรือแต่ละคนจะต้องเล่าว่า  งานที่เราทำอยู่นั้น  มันเป็น  Humanized  care  อย่างไร  (แต่ก็มีบางคนไม่ได้เล่าเรื่องหรือประสบการณ์  แต่เป็นการให้ความคิดเห็น) 

          โดยผู้เขียนเป็น “คนว่านอนสอนง่าย”  ก่อนจะเล่า  ก็จะต้องตอบโจทย์ที่เป็นคำตอบในเชิงความคิดเห็นไปก่อน  แล้วต่อด้วยเรื่องเล่าหรือประสบการณ์ที่มีหรือที่เกี่ยวข้องกับความคิดเห็นนั้นๆ  ของเราให้กลุ่มฟัง  และผู้เขียน  ได้ออกตัวกับทุกกลุ่มที่ได้เข้าไปนั่งว่า  งานของผู้เขียนอาจจะไม่ค่อยเกี่ยวข้องกับ  Humanized  care   ในแวดวงสาธารณสุขมากนัก  เพราะไม่ได้อยู่วงการสาธารณสุข  แต่ทุกคนก็จะบอกว่า  “ไม่เป็นไร  เล่ามาเถอะ” 

 

          ผู้เขียนจึงเล่าเรื่องงานให้ในกลุ่มฟังจากประสบการณ์ที่เรามี  แล้วมี  อาจารย์ท่านหนึ่ง  ชื่อ  กำธร  (จำนามสกุลไม่ได้)  มาจากจังหวัดเชียงใหม่  ฟังเรื่องที่ผู้เขียนเล่าเกี่ยวกับงานที่ตัวเองและหน่วยงาน  คือ  สคส.  ได้ทำ  ท่านก็บอกกับผู้เขียนว่า  “นั่นแหละ  คือ  Humanized  care  ตรงๆ  เลยล่ะ  เพราะเป็นการทำงานกับ  มนุษย์  จริงๆ  เป็นการทำให้คนทำงานได้รู้สึกว่า  ตนเองมีคุณค่า  มีสิ่งที่ดีภายในตัว  และมองว่า  ทุกๆ  คนมีสิ่งดีๆ  หรือมีคุณค่าเช่นเดียวกัน...โดยไม่ได้มองเพียงแค่มิติของเจ้าหน้าที่หรือบุคลากรสาธารณสุขที่มี   Humanized  care  กับคนไข้เท่านั้น  แต่ต้องดูแลใส่ใจ  ให้ความสำคัญไปถึงมิติทางด้านจิตใจและความรู้สึกของเจ้าหน้าที่หรือบุคลากรสาธารณสุขด้วย ....”   

 

          เมื่อได้ฟังอาจารย์กำธร  แล้ว  ทำให้ผู้เขียนมั่นใจขึ้นมาก   เพราะก่อนเข้ามาที่ห้องนี้  ผู้เขียนรู้สึกว่า  ตัวเองจะมีอะไรไปแลกเปลี่ยนกับคนอื่นหรือเปล่า  เพราะไม่ได้อยู่ในแวดวงสาธารณสุขเลย  ประสบการณ์ของตัวเองอาจจะไม่เป็นที่น่าสนใจ  หรือคนอื่นจะรู้สึกเสียเวลาไปกับเราไหม....

          แต่ตอนนี้  ผู้เขียนรู้แล้วว่า  KM  เป็นส่วนหนึ่งที่กลมกลืนเป็นเนื้อเดียวกัน  และเป็นการเพิ่ม  Value  ให้กับงาน  Humanized  care   หรือ  Humanized  Healthcare   ได้เป็นอย่างดี  อีกทั้ง  ยังไม่ได้เป็นส่วนเกินของ  Humanized  care   หรือ  Humanized  Healthcare   อีกด้วย 

          ตรงตาม  Theme  ของงาน  HA  (Lean  &  Seamless  Healthcare)  ในครั้งนี้จริงๆ  คะ 

หญิง  สคส.

คำสำคัญ (Tags): #ha#healthcare#humanized care#km#kmi
หมายเลขบันทึก: 250508เขียนเมื่อ 24 มีนาคม 2009 13:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 กันยายน 2014 14:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท