ตำหนักหอ


ปัจจุบัน ภายในตำหนักหอใช้เป็นที่จัดแสดงของใช้ส่วนพระองค์ สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีพระบรมราชินีในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ซึ่งอัญเชิญมาจากวังศุโขทัย และจัดแสดงศิลปวัตถุเครื่องปั้นดินเผาสมัยสุโขทัยและอยุธยาที่จมอยู่ใต้ทะเลแถบตะวันออกและทางใต้ของประเทศไทย

 

 

 

 

 

ตำหนักหอ

     ตำหนักหอ  เป็นตำหนักแรกในวังบางขุนพรหม คือสร้างขึ้นพร้อมพับการก่อสร้างวังบางขุนพรหม ซึ่งเป็นวังที่ประทับของสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ทรงโปรดเกล้าฯ ให้พระสถิตนิมานการ (ม.ร.ว. ชิด อิศรศักดิ์  ภายหลังเป็นพระยาประดิษฐ์อมรพิมาน) สร้างตำหนักเล็กเพิ่มขึ้นในบริเวณวังอีก ๑ หลัง และจะต้องให้เสร็จก่อนตำหนักใหญ่ เพราะสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์ฯ ต้องทรงใช้เป็นตำหนักหอ ในปีพุทธศักราช ๒๔๔๖ พระสถิตย์นิมานการ เลียนแปลนคล้ายๆ กับพระที่นั่งวิมานเมฆในพระราชวังดุสิต เป็น เรือน ๓ ชั้น ชั้นล่างก่ออิฐ ชั้น ๒ และชั้น ๓ เป็นไม้สัก โดยเฉพาะชั้น ๓ ไม่ได้สร้างเต็มเนื้อที่ สร้างเฉพาะที่เป็นห้องส่วนพระองค์เพียง ๓ ห้อง คือ ห้องซ้ายเป็นห้องประทับทรงอักษร หรือห้องพักผ่อนตามสบาย ห้องกลางเป็นห้องเสวย ห้องขวาเป็นห้องเตรียมเครื่องสาย ส่วนห้องมุขที่ยื่นออกมาตรงกลางตำหนักเป็นห้องรับแขก  และชั้นล่างเป็นห้องเก็บของ (หลังคามุงกระเบื้องสามเลน และใช้เพดานไม้สัก)

     สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต ทรงอภิเษกสมรสกับหม่อนเจาประสงค์สม ไชยยันต์ เมื่อวันที่ ๑๗ สิงหาคม ๒๔๔๖ และทรงใช้ตำหนักหอเป็นเรือนหอ

          

     ในปีพุทธศักราช ๒๕๒๘ ธนาคารแห่งประเทศไทยน้อมเกล้าฯ ถวาย อาคารตำหนักหอแด่ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี โดยธนาคารฯ ทูลเกล้าฯ ถวายเงินสำหรับค่าใช้จ่ายในการรื้อถอนและนำมาปลูกสร้างใหม่ ซึ่งโปรดเกล้าฯ ให้มาปลูกสร้างในวังศุโขทัยและแล้วเสร็จในปีพุทธศักราช ๒๕๓๐

     ปีพุทธศักราช ๒๕๔๑ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นายวัชรกิติ วัชโรทัย  ผู้อำนวยการพระราชวังดุสิต  เป็นผู้ดำเนินการซื้อย้ายตำหนักหอจากวังศุโขทัย  มาปลูกสร้าง ณ พระราชวังดุสิต  โดยการสนับสนุนงบประมาณในการก่อสร้างจากสำนักงานทรัพย์ส่วนพระมหากษัตริย์

ปัจจุบัน  ภายในตำหนักหอใช้เป็นอาคารแสดงของใช้ส่วนพระองค์ของสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี  พระบรมราชินีในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว  รัชกาลที่ ๗  ซึ่งอัญเชิญมาจากวังศุโขทัยและอยุธยา  ซึ่งจมอยู่ใต้ทะเลแถบตะวันออกของประเทศไทย

     นอกจากนี้ยังจัดแสดง เรือกอและจำลองจากภาคใต้ เรือกอและ เป็นเรือประมงที่ใช้ในภาคใต้ตอนล่าง รวมถึงรัฐกลันตันและตรังกานูของประเทศมาเลเซีย ลักษณะเป็นเรือยาวต่อด้วยไม้ต้นเดียว ส่วนหัวและท้ายสูง นิยมทาสีและเขียนลวดลายฉูดฉาดเป็นลายไทยและลายอินโดนีเซีย เรือกอและมี ๒ แบบ คือ แบบหัวสั้นและหัวยาว ลักษณะเด่นอยู่ที่ศิลปะการตกแต่งทำให้เรือกอและมีความสง่างาม เกิดจากฝีมือจิตรกรพื้นบ้านที่นิยมใช้สีสดใสเขียวลวดลาย ปัจจุบันเรือกอและยังใช้ในการกประมงของชาวไทยมุสลิมภาคใต้อยู่

                                    

คำสำคัญ (Tags): #ตำหนักหอ
หมายเลขบันทึก: 250495เขียนเมื่อ 24 มีนาคม 2009 12:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 19:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีครับผมได้ความรู้เพิ่มมากขึ้น และอยากจะไปดูด้วยผมชอบเรื่องประวัติศาสตร์ของไทยเราครับ

(*-*) ขอบคุณ....คุณต้นค่ะที่มาเยี่ยม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท