บันไดสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้


การใช้เรื่องมือ KM จะทำให้ไปสู่ LO ได้อย่างไร?

          การพัฒนาไปสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้โดยยึดหลัก วินัย 5 ประการของ Peter M.Senge  เทียบได้กับบันได 5 ขั้น   บันได 4 ขั้นแรกเป็นกระบวนการ KM โดยบุคคลเรียนรู้จากการทำงานด้วยเครื่องมือ AAR และทีมเรียนรู้ผ่านการจัดตลาดนัดความรู้โดยใช้เครื่องมือย่อยของ KM เป็นตัวช่วยในการปรับแนวคิดและสร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

       เมื่อกระบวนการจัดการความรู้หมุนอย่างต่อเนื่องจะพัฒนาคนที่เข้าร่วมให้ได้  ฝึกรับฟังการตีความด้วยมุมมองที่หลากหลายของเพื่อนจากต่างหน่วยงาน การฝึกจะพัฒนาระบบคิด ให้คำนึงถึงผลกระทบ ทำให้สามารถคิดได้รอบคอบขึ้น คิดได้แบบครบวงจร จนกล่าวได้ว่าเมื่อมีการใช้ KM อย่างต่อเนื่องจะก่อให้เกิดความสามารถในการคิดเชิงระบบ ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของLO

 

หมายเลขบันทึก: 250121เขียนเมื่อ 22 มีนาคม 2009 14:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้าจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ขอบพระคุณครับ ขอไปใช้ได้ใหมครับ

  • ยินดีอย่างยิ่งครับ คุณหมอ JJ
  • และขอให้รออ่านบล๊อกคุณหมอวิจารณ์ 26มีค52
  • จะเขียนถึง Modelเหล่านี้ของแม่เมาะครับ

ขอบคุณครับ น่าสนใจมาก ผมมีความคิดว่า เครื่องมือ 5 ประการของ Senge นี้ มีความเป็นอิสระต่อกันในระดับหนึ่ง แม้จะมีความเป็นเหตุเป็นผลต่อกัน แต่ในแง่ของการดำเนินงานจริงในองค์กร อาจจะพัฒนาไปพร้อม ๆ กันได้ โดยอาจจะเริ่มต้นแบบ ladder อย่างที่พี่เสนอ แต่ผลสุดท้ายไม่ได้ต้องหมายความต้องเป็นไปตามลำดับขั้นอย่างนี้ เช่น Mental Model ทำให้เกิด Personal Mastery นะครับ แต่ยอมรับเป้าหมายสูงสุดคือ System Thinking นั่นเอง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท