การอบรมผู้ประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน หลักสูตร 3


ผู้ประเมินภายในสถานศึกษาในอนาคต

ในการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในมหาวิทยาลัย  หน่วยงานระดับคณะ สำนักและสถาบัน  รวม  10  หน่วยงาน  จำเป็นต้องพัฒนาบุคลากรของมหาวิทยาลัยให้มีความรู้  ความเข้าใจ  เกี่ยวกับงานประกันคุณภาพการศึกษาที่ทางต้นสังกัดได้พัฒนาขึ้นรวมถึงการสร้างผู้ประเมินคุณภาพการศึกษาภายในให้มีแนวปฏิบัติในการประเมินคุณภาพภายในที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน   และทำหน้าที่ส่งเสริมและพัฒนาการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาภายในมหาวิทยาลัยให้มีความต่อเนื่องและยั่งยืน  มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลยิ่งขึ้น  สำนักประกันคุณภาพการศึกษาจึงจัดทำโครงการฝึกอบรมผู้ประเมิน ฯ  เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และขยายผลองค์ความรู้ให้กับผู้สนใจ จำนวน  40 คน  โดยใช้หลักสูตรฝึกอบรมผู้ประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน  หลักสูตร 3  ของสกอ. (สำหรับบุคลากรในมหาวิทยาลัยที่สนใจเป็นผู้ประเมินคุณภาพการศึกษาภายในแต่ยังไม่มีประสบการณ์)  และมีความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยที่  3,4  มาตรการที่  3.4  และ 4.1   สอดคล้องกับตัวบ่งชี้   (9.1 /9.3)  และตัวบ่งชี้  7 

 

 

 

 

 

ผู้เข้ารับการอบรมได้เสนอแนะหลังจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้  (AAR)  ดังนี้คะ

1.  ความคาดหวังในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครั้งนี้

                -มีความเข้าใจในแต่ละองค์ประกอบของการประกันคุณภาพภายใน

                -ได้รับความรู้และประสบการณ์เพิ่มมากขึ้น  และสามารถนำไปพัฒนาและปรับปรุงการประกันคุณภาพของหน่วยงาน

                -มีความรู้ความเข้าใจระบบการประเมินคุณภาพการศึกษา

                -ต้องการเรียนรู้วิธีการและขั้นตอน  เทคนิคการเป็นผู้ตรวจประเมินคุณภาพการศึกษา และเกณฑ์

การพิจารณาตัวชี้วัดที่ถูกต้อง   เป็นไปในแนวทางเดียวกัน

-มีความรู้ความเข้าใจในการประกันคุณภาพ  และบทบาทหน้าที่ของผู้ประเมิน

-มีความรู้ ความเข้าใจทฤษฎี  การเก็บข้อมูลในการเป็นผู้ประเมินมากขึ้น

-สามารถนำความรู้นำไปเสนอให้คำชี้แนะกับผู้อื่นและผู้ที่เกี่ยวข้องด้านการประกันคุณภาพต่อไป

-ได้รับทราบถึงหลักทำรายงานการประเมินของมหาวิทยาลัย  และได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้รับทราบข้อมูลจากหน่วยงานจากการตรวจเยี่ยมและสามารถนำมาวิเคราะห์รายงานการประเมินตนเองได้

-การเรียนรู้หลักสูตรผู้ประเมินระดับอุดมศึกษา  ทั้งภาคทฤษฎี  การฝึกปฏิบัติเป็นผู้ประเมินภายในจริง  ทำให้มีความรู้  ความเข้าใจ และเกิดทักษะ สามารถนำความรู้ไปใช้ในการเป็นแนวทางในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของคณะ

                -คาดหวังว่าจะมีความรู้เพิ่มเติมมากขึ้น   และบทสรุปของตัวชี้วัดบางตัวชัดเจนขึ้น

                -มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการประกันคุณภาพการศึกษา

                -ศึกษาเรียนรู้กระบวนการทำรายงานการประเมินตนเอง (SAR)  2550  ระดับมหาวิทยาลัย

2.  อะไรที่ได้เกินคาดหวัง

                -หลักการแนวคิดสำคัญ ๆ  ของผู้ประเมิน

                -ได้ฝึกประเมินจริงตามหน่วยงานต่าง ๆ  ทำให้มีทักษะเพิ่มขึ้น

                - สามารถนำไปตรวจสอบการประกันคุณภาพของหน่วยงานได้เป็นอย่างดี

                -มีเทคนิคการเขียนรายงานการประเมินตนเอง

                -ความรู้ในการดำเนินงานการประกันคุณภาพ

                -ได้ดำเนินกิจกรรมที่ละเอียดครบถ้วน  เข้มข้นทำให้ได้รู้ถึงรายละเอียดที่ชัดเจนมาก

                -เกณฑ์การเป็นผู้ประเมินที่ดี  มีคุณภาพ  และมีกัลยาณมิตร

                -ความรู้ในการเขียนรายงาน SAR  การเป็นผู้ประเมินที่ดี  กระบวนการประเมิน

                -นำไปใช้ในระดับคณะ  โปรแกรมวิชา

                -ได้ฝึกปฏิบัติการเป็นผู้ประเมินคุณภาพการศึกษา

                -การดำเนินกิจกรรมที่ต้องมุ่งมั่นในการหวังผลสำเร็จของเป้าหมาย

                -ได้ทราบถึงขั้นตอนในการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน  การเตรียมตัวในการประเมิน2

                -การวิเคราะห์และการหาหลักฐานยืนยืน

                -ได้ทราบถึงเทคนิคในการตั้งคำถามและการเก็บรวบรวมข้อมูล

                -แนวคิดและเทคนิควิธีการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน

                -คาดหวังว่าจะมีความรู้เพิ่มเติมมากขึ้น   และบทสรุปของตัวชี้วัดบางตัวชัดเจนขึ้น

                -เทคนิคการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษา

                -ได้ฝึกปฏิบัติเป็นผู้ประเมินคุณภาพภายในจริง

                -ได้รับความรู้ในส่วนการประเมินคุณภาพการศึกษา  ที่ในบางส่วนยังไม่ชัดเจน  อาทิ  เช่น  ความรู้เกี่ยวกับการประกันคุณภาพภายใน IQA  การประกันคุณภาพภายนอก  EQA

                -มีความรู้ความเข้าใจในกระบวนการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษา

                -มีการประเมินกับผู้รับผิดชอบหน่วยงานจริง

                -การจะเป็นผู้ประเมินต้องทำอย่างไร และจะเป็นผู้ประเมินที่ดีต้องทำอย่างไร

                -วิทยากรใส่ใจในการให้ความรู้และเข้าใจถึงบทบาทของอาจารย์แต่ละท่าน

                -ความรู้และข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาในด้านต่าง ๆ

                -ได้รับความรู้จากวิทยากรมาก สามารถนำไปประโยชน์มากที่สุด

-การตัดสินใจ  การวิเคราะห์  การเรียนรู้  การปฏิบัติ

-ได้รับความรู้เรื่องเกี่ยวกับการเป็นผู้ประเมินและได้ร่วมฝึกปฏิบัติจริง

-ได้ทราบถึงกระบวนการที่ยุ่งยากและเหน็ดเหนื่อยของผู้ปฏิบัติงานในด้านการประกันคุณภาพของมหาวิทยาลัย

-วิทยากรมีความรู้ ความสามารถในการถ่ายทอดให้ความรู้แก่ผู้เข้ารับการอบรม

-สามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์

-ได้ทดสอบเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง

3.  อะไรที่ได้น้อยกว่าคาดหวัง

                -อยากทราบความชัดเจนของตัวบ่งชี้ทุกตัว  แต่ได้ไม่ครบ

                -เทคนิคในการพิจารณา การเก็บรายละเอียดของตัวบ่งชี้ และองค์ประกอบได้ไม่ครบ

                -ความสามารถ   ทักษะในการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา

                -การเตรียมความพร้อมในการตั้งคำถาม

                -เนื่องจากระยะเวลาจำกัด  ทำให้ไม่สามารถวิเคราะห์หลักฐานขั้นต้นได้ทุกองค์ประกอบ โดยในการดำเนินการตามกลุ่มได้มีการแบ่งผู้รับผิดชอบตามตัวชี้วัด  ซึ่งทำให้ไม่สามารถเข้าใจถึงตัวชี้วัดในตัว    อื่น ๆ ได้

                -ความรู้และความไม่ชัดเจนของตัวชี้วัดบางตัว

                -ไม่มีความรู้ และประสบการณ์ด้านการประกันคุณภาพการศึกษา

                -รายละเอียดในการอบรมน้อยเกินไป

 

4.  หลังจากการมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการจัดการความรู้ในครั้งนี้  ท่านจะกลับไปทำอะไร

                -ช่วยดูแลตัวชี้ที่เกี่ยวข้องกับงานที่เรารับผิดชอบ

                -การจัดทำรายงานการประเมินตนเอง SAR  ในปีการศึกษาต่อไป

                -ทบทวนการประกันคุณภาพของหน่วยงาน

                -พัฒนาการประกันคุณภาพของหน่วยงานในครั้งต่อไป

                -ทบทวนและเข้าอบรมเพิ่มเติมในเรื่องการประกันคุณภาพการศึกษา

                -ช่วยให้การปฏิบัติงานและการประเมินคุณภาพภายในมีความถูกต้อง  ชัดเจนมากขึ้น

                -ช่วยตรวจสอบ และร่วมมือและพร้อมที่ดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพของหน่วยงานและเป็นการพัฒนาตนเอง  และมหาวิทยาลัยต่อไป

                -การศึกษารายละเอียด SAR  และทำความเข้าใจทุกตัวบ่งชี้  ทุกองค์ประกอบ  การตั้งคำถาม  การรายงานการประเมินตนเอง

                -ศึกษาตัวบ่งชี้ให้ชัดเจน  นำไปใช้ในกระบวนการประเมินคุณภาพระดับคณะ 

                -นำไปใช้ในการดำเนินการประกันคุณภาพของคณะ และมหาวิทยาลัย

                -ไปใช้ประโยชน์ต่อการประเมินภายในของมหาวิทยาลัย

                -การนำความรู้ที่ได้รับจากการฝึกอบรมไปพัฒนาการเขียนรายงานการประเมินตนเอง (SAR)  เพื่อให้ดียิ่งขึ้น

                -ทักษะ  กระบวนการนำความรู้ด้านการประเมินภายในระดับอุดมศึกษา

                -ตรวจสอบ  ข้อมูลรายงานการประเมินตนเอง   ตลอดจนการแก้ไข  และปรับปรุง ข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน

                -นำความรู้  (ระบบการประกันคุณภาพไปใช้ที่หน่วยงานและโปรแกรมวิชาพัฒนาชุมชน)

                -เป็นผู้ประเมินในระดับโปรแกรมวิชา  และคณะ

                -การศึกษารายละเอียด  รายงานการประเมินคุณภาพการศึกษาให้เข้ามากกว่านี้

                -กลับไปศึกษาตัวชี้วัดต่าง ๆ  ให้เข้าใจและจัดเก็บข้อมูล  เพื่อให้บรรลุตามตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้องกับตนเอง

                -เรียนรู้การทำประกันคุณภาพการศึกษา  และศึกษารายละเอียดบทบาทหน้าที่ของผู้ประเมิน

                -การบรรยาย  อธิบายเพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมเข้าใจง่าย

                -การฝึกวิเคราะห์และผู้ประเมินคุณภาพการศึกษาภายในคณะ 

                -ทำ  SAR  ของหน่วยงานให้ถูกต้อง

                -ความรู้จาก โปรแกรมการรายงานการประเมินตนเอง

                -กลับไปตรวจสอบการประกันคุณภาพของคณะ  เพื่อการปรับปรุงและการแก้ไข

                -มีส่วนร่วมในการพัฒนาศักยภาพของหน่วยงาน

                -สามารถทำการประเมินคุณภาพภายในระดับคณะได้

                -พัฒนาตนเอง  โปรแกรมวิชา และคณะ  

                -ได้พัฒนาคณะและโปรแกรมวิชาของตนเอง ในการประเมินคุณภาพ

                -ควรจัดกิจกรรมนอกมหาวิทยาลัย 

                -ควรจัดกิจกรรมในวันที่ไม่มีการเรียนการสอน

***

 

คำสำคัญ (Tags): #อบรมผู้ประเมิน
หมายเลขบันทึก: 249888เขียนเมื่อ 21 มีนาคม 2009 10:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท