บทคัดย่อ


งานสานจากเชือกพลาสติก

ชื่อเรื่อง                      การพัฒนาการเรียนรู้โดยโครงงานกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและ

            เทคโนโลยี  เรื่อง งานสานจากเชือกพลาสติก  สำหรับนักเรียนชั้น

          ประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านลำดวน  อำเภอลำดวน  จังหวัดสุรินทร์ ภาค  

           เรียนที่  1  การศึกษา  2551

ชื่อผู้วิจัย                    นางสาวภัททิรา  ผาสุข

ปีที่ทำการวิจัย          ปีการศึกษา  2551

 

 

บทคัดย่อ

 

                        การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยโครงงานเป็นเทคนิคหนึ่งที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง          การจัดการเรียนการสอนในยุคปฏิรูปการเรียนรู้  เนื่องจากเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้   ตามความสนใจ  มีการวางแผนการทำงานร่วมกันอย่างเป็นระบบด้วยการแสวงหาความรู้           จากแหล่งต่างๆ  แล้วนำมาปฏิบัติจริงด้วยตนเอง  จนสามารถสรุปเป็นองค์ความรู้เกี่ยวกับสิ่งที่พบเห็นได้โดยมีครูเป็นผู้คอยกระตุ้นแนะนำและให้คำปรึกษาอย่างใกล้ชิดจนสิ้นสุดกระบวนการทำโครงงานซึ่งจะส่งผลให้ผู้เรียนมีความรู้ยั้งยืนพร้อมที่จะก้าวไปสู้การเปลี่ยนแปลงของโลกอนาคต ดังนั้น  การวิจัยในครั้งนี้จึงมีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยโครงงาน                       กลุ่มสาระการเรียนรู้  การงานอาชีพและเทคโนโลยี  เรื่อง  งานสานจากเชือกพลาสติก                ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4    ที่มีประสิทธิภาพ   ตามเกณฑ์  80/80  เพื่อการศึกษาดัชนีประสิทธิผลของการเรียนรู้โดยโครงงาน และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4  ที่มีต่อการเรียนรู้โครงงาน    กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  4  โรงเรียนบ้านลำดวนอำเภอลำดวน  จังหวัดสุรินทร์  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์ เขต 1  จำนวน 22  คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง  (Purposive  Sampling)  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย  ได้แก่  แผนการจัดการเรียนรู้โดยโครงงาน  เรื่อง  งานสานจากเชือกพลาสติก  กลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี  ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่  4  จำนวน  13  แผน  เอกสารประกอบการเรียน      แบบประเมินพฤติกรรมระหว่างเรียน  แบบประเมินโครงงาน  แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียน และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยโครงงาน เรื่อง งานสานจาดเชือกพลาสติก  จำนวน  30  ข้อ  เป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ  4  ตัวเลือก  ซึ่งมีค่าความยากง่ายของแบบทดสอบระหว่าง  0.24  ถึง  0.80  ค่าอำนาจจำแนก  อยู่ระหว่าง  0.20  ถึง  0.80  และความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับเท่ากับ  0.90  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล  ได้แก่  ร้อยละ  ค่าเฉลี่ยค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  t-test

 

ผลการวิจัยปรากฏดังนี้

                        1.  การจัดการเรียนรู้โดยโครงงาน  เรื่อง  งานสานจากเชือกพลาสติก                      ชั้นประถมศึกษาปีที่  3  มีประสิทธิภาพ  91.50/83.16  แสดงว่า แผนการจัดการเรียนรู้โดยโครงงาน  กลุ่มสาระการเรียนรู้  การงานอาชีพและเทคโนโลยี  เรื่อง  งานสานจากเชือกพลาสติก  ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์  80 / 80

                        2.  ดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดการเรียนรู้โดยโครงงาน  เรื่อง  งานสานจากเชือกพลาสติก    ชั้นประถมศึกษาปีที่  4  มีค่าเท่ากับ  0.8018  หมายความว่า  ผู้เรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นหลังจากเรียนโครงงาน  เรื่อง  งานสานจากเชือกพลาสติก  ร้อยละ  80.18

                        3.  นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  4  ที่ความพึงพอใจต่อการเรียนรู้โดยโครงงาน  เรื่อง การทำผัดย้อม  โดยภาพรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยอย่างยิ่ง

                โดยสรุป  การจัดการเรียนรู้โดยโครงงาน  เรื่อง  งานสานจากเชือกพลาสติก                    ชั้นประถมศึกษาปีที่  4   มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล  นักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด  ซึ่งควรสนับสนุนให้นำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนต่อไป

หมายเลขบันทึก: 249497เขียนเมื่อ 19 มีนาคม 2009 12:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 10:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

น่าสนใจมากค่ะ.....งานสานจากเชือกพลาสติก ....

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท