ความหลังกับการสอบ (ภาษา)


เหมือนเป็นสัญญาณบอกว่าอะไรๆ ก็ไม่แน่นอนนะโยม ที่ไม่เคยเจอก็จะได้เจอละ เตรียมตัวเอาไว้

                ผ่านความมันในบันทึกก่อน ครั้งนี้เข้าสู่ความเครียดบ้างก็แล้วกัน จะมีเรื่องอะไรอีกล่ะคะ นอกจากการสอบ

                การเข้าเรียนต่อของที่ฝรั่งเศสขึ้นกับแต่ละสถาบัน[1] หน้าที่หลักของเหล่านักเรียน คือ ยื่นเอกสารตามเวลา ตามที่เขาขอ และทางมหาวิทยาลัยจะพิจารณาจากเอกสาราจะรับหรือไม่รับ ะรับเข้าเรียนระดับใ ตามที่นักเรียนยื่นความประสงค์มาหรือจะลดระดับลง ต้องเรียนภาษาเพิ่มเติมหรือไม่ต้อง ิ่งต่างๆ เหล่านี้เราฝากดวงไว้ค่ะ

                ช่วงที่เรายื่นเอกสาร อาจารย์และเจ้าหน้าที่ที่สถาบัน CAREL ให้ความช่วยเหลืออย่างเต็มที่ เพราะบางครั้งเราก็ไม่แน่ใจกันว่า ไอ้ที่เขียนๆ มาน่ะ หมายถึงอะไรกันแน่ รวมทั้งสิ่งที่เราต้องคิดกันหัวแทบแตก คือ การเขียนจดหมายแสดงความตั้งใจ หรือ Lettre de motivation (แล็ท (เทรอะ) เดอ โมติวาซิยง) เพราะเราต้องระบุไปว่า

-          ทำไมเราอยากเรียนหลักสูตรนี้

-          ทำไมเลือกเรียนที่นี่

-          มีความคาดหวังอะไรในชีวิตหลังเรียนจบ

-          หลักสูตรนี้จะเป็นประโยชน์อย่างใดในอนาคตของชีวิตคุณ

                มันคือเรียงความย่อยๆ เลยค่ะ และเราต้องขออาจารย์ช่วยตรวจภาษา เพราะถ้าเป็นสำนวนของพวกเราแท้ๆ แล้วก็จะเป็นภาษาฝรั่งเศสแบบไทยบ้าง ภาษาฝรั่งเศสแบบเกาหลีบ้าง กรรมการคัดเลือกอ่านแล้วคงกลุ้มใจ แต่ส่วนใหญ่ไม่มีปัญหาค่ะ เพราะเป็นนักเรียนทุนกันแทบทั้งนั้น และส่วนใหญ่ก็เป็นนักเรียนทุนฝรั่งเศส การยื่นใบสมัครจึงเป็นการทำตามขั้นตอนมากกว่า แต่ก็ต้องลุ้นว่าจะได้เข้ามหาวิทยาลัยไหน และอย่างที่บอกข้างบนแหละค่ะว่า จะได้เรียนในระดับที่เราขอหรือไม่ ต้องเสริมภาษาอีกหรือเปล่า

                มีเพื่อนอียิปต์คนหนึ่ง เป็นผู้พิพากษา ผ่านการทำงานมาแล้วหลายปี สมัครเข้าเรียนระดับ DEA[2] เทียบกับการเรียนในไทยคือ เป็นระดับที่สูงกว่าปริญญาโท ๑ ขั้น เพราะปริญญาตรีที่นี่เรียน ๓ ปี ปีที่ ๔ ได้ปริญญาโท (หรือเรียกว่า maîtrise) และหากต้องการเรียนในระดับปริญญาเอก ต้องผ่านการเรียนเตรียมปริญญาเอกที่เรียกว่า DEA[3] นี่แหละค่ะ ปรากฏว่า ทางมหาวิทยาลัยตอบรับกลับมาว่ารับให้เข้าเรียนในระดับ maîtrise เขาโวยวายใส่ข้าพเจ้าใหญ่ว่าไม่ยุติธรรม เขาทำงานเป็นผู้พิพากษามาก็หลายปี ภาษาเขาก็ดีกว่าข้าพเจ้า (แหะ..แหะ..ดีกว่าจริงๆ ด้วย) ทำไมข้าพเจ้าได้เรียน DEA เลย แต่เขาต้องซ้ำ maîtrise อีกปี ข้าพเจ้าก็ตอบว่า ไม่รู้ แต่ในใจนึกต่อว่า ก็ไม่ใช่กรรมการคัดเลือกนี่วุ้ย จะรู้ได้ไงพ่อคู้ณ....

                หนึ่งในเอกสารที่ประกอบการขอเข้าเรียนต่อ คือ ใบประกาศที่แสดงความรู้ความสามารถทางภาษาฝรั่งเศส โดยปกติเมื่อจบคอร์สหนึ่งๆ ทางโรงเรียนก็จะออกใบประกาศว่า นาย ก/ นาง ข/นางสาว ค ได้เข้าเรียนภาษาฝรั่งเศสที่นี่ ตั้งแต่วันนั้นถึงวันนี้ จึงออกใบรับรองให้ไว้เป็นหลักฐาน ถ้าเราเรียนแทบครบปี มันก็แสดงอย่างหนึ่งว่า เราได้รับการอบรมภาษาอย่างเข้มข้นและต่อเนื่องนะ แต่สำหรับบางคนที่ไม่ได้เข้าเรียนแบบนี้ ก็จะใช้การสอบวัดระดับความรู้ทางภาษาฝรั่งเศส ที่เรารู้จักกันในนามของ DELF และ DALF

                ชื่อเต็มของ DELF คือ Diplôme d’Etudes en Langue Française แปลเป็นภาษาไทยก็ประมาณ ประกาศนียบัตรการเรียนภาษาฝรั่งเศส ส่วน DALF ก็คือ Diplôme d’Approfondie en Langue Française หรือ ประกาศนียบัตรการเรียนภาษาฝรั่งเศสขั้นสูง ในช่วงเวลาที่ข้าพเจ้าเรียน DELF แบ่งเป็น ๒ ระดับ ในระดับที่ ๑ มี ๔ ขั้น คือตั้งแต่ A1-A4 ดับที่ ๒ มี A5-A6 ส่วน DALF ไม่ได้แบ่งเป็นระดับ แต่มี ๔ ขั้นตั้งแต่ B1-B4

                สำหรับพวกเราที่เข้าเรียน เข้าอบรมภาษาเป็นปี การใช้ใบประกาศของ DELF หรือ DALF อาจไม่จำเป็น (แต่สำหรับพวกที่สมัครเข้าเรียนด้านภาษายังจำเป็นอยู่นะ) แต่เราก็อยากจะรู้วิทยายุทธตัวเราเหมือนกันว่ามันจะแน่ซักแค่ไหน ดังนั้น พวกเราก็จะสมัครสอบวัดความรู้ด้วยเสมอ ช่วงที่สอบก็จะมีนักเรียนจากที่อื่นมาสอบด้วย เพราะ CAREL เป็นศูนย์สอบในแถบนั้น

                เราได้รับการบอกเล่าว่า ขั้นที่ลงท้ายด้วยเลขคี่ จะเน้นการฟังและการพูด ส่วนที่ลงท้ายด้วยเลขคู่ จะเน้นการอ่านและการเขียน สำหรับข้าพเจ้า A1-A2[4] ผ่านโลด (แต่ห้ามถามคะแนนนะ) มาตกม้าตายเอาการสอบ A3-A4 มีที่ไหนกันสอบได้ A4 แต่ตก A3 ฮ่าๆ ดังนั้น ในครั้งต่อไปที่เขาสอบ A5-A6 ข้าพเจ้าเลยอดสอบ เพราะต้องซ่อม A3 ให้ผ่านเสียก่อนจึงจะสอบในขั้นสูงต่อไปได้ ส่วน A4 เขาใจดีให้เก็บไว้ ไม่ต้องสอบใหม่ ตอนที่ผลสอบออกนะ หูย...น้ำหูน้ำตาไหลซะมากมาย อย่างว่าเนาะคนไม่เคยสอบตก...ฮิ้ว... เนี่ย..จะได้รู้รส และร้างภูมิคุ้มกันเสียตั้งแต่ตอนนี้ นเหมือนเป็นสัญญาณบอกว่าอะไรๆ ก็ไม่แน่นอนนะโยม ที่ไม่เคยเจอก็จะได้เจอละ เตรียมตัวเอาไว้..หุหุ

                อาจารย์ที่สอนปลอบพวกเราที่สอบตกว่า ไม่ต้องไปเสียอกเสียใจหรอก ธรรมดามากเลย กี่ปีๆ ก็เป็นแบบนี้ เด็กนักเรียนเอเชียเนี่ย เก่งอ่านกับเขียน แต่พูดกับฟังนี่ร่วงทู้ก...ที

                ในที่สุด ข้าพเจ้าก็ฝ่าฟันมันจนได้ สอบ DELF ผ่านทั้ง ๒ ระดับ ๖ ขั้น แต่ DALF นี่ยากมั่กๆ สอบ B1 ได้ขั้นเดียวก็พอดีต้องย้ายที่เรียน และทางมหาวิทยาลัยก็ตอบรับให้เข้าเรียนแล้ว ก็เลยไม่ยอมเสียตังค์ไปสอบอีก (แต่ยอมเสียตังค์ไปเที่ยวแทน..ฮ่าๆ)

 

                บันทึกครั้งหน้าจะพาไปเที่ยวที่ต่างๆ สมัยเรียนภาษานะคะ ต้องไปรื้อๆ ดูรูปด้วย เพราะความจำชักจะเลือนหายไปบ้างแล้ว...สังขารไม่เที่ยงค่ะ

 

 

               

 

 



[1] การรับเข้าเรียน ณ ขณะปี พ.ศ. ๒๕๓๘ แต่ปัจจุบันอาจจะเปลี่ยนไป ขอผู้อ่านโปรดใช้วิจารณญาณ...J

[2] ปัจจุบันเทียบได้กับ master 2

[3] ชื่อเต็ม คือ Diplôme d’Etudes Approfondie

[4] จะเป็นการสอบครั้งละ ๒ ขั้นเสมอ คือ A1 คู่กับ A2/ A3 คู่กับ A4/ A5 คู่กับ A6/ B1 คู่กับ B2 และ B3 คู่กับ B4 ดังนั้น แม้เราจะไม่รู้ผลขั้นแรก แต่เราก็สอบขั้นที่สองในคราวนั้นได้ แต่ถ้าผลสอบออกมาว่าตกขั้นแรก แต่ผ่านขั้นที่สองในครั้งนั้น เราจะไม่มีสิทธิไปสอบขั้นที่สูงกว่า จนกว่าจะสอบซ่อมให้ผ่าน

คำสำคัญ (Tags): #carel#dalf#delf#ฝรั่งเศส
หมายเลขบันทึก: 249052เขียนเมื่อ 17 มีนาคม 2009 17:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 12:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท