ควันหลง "กาดนัด KM-PYU"


การคิดกับความคิดนั้นคนละอย่างกัน ปัญหาไม่ได้อยู่ที่การคิด แต่อยู่ที่ผลของการคิดต่างหากละ คุณภาพของความคิดอยู่ที่การเปิดใจครับ

วันนี้ผมได้มีโอกาสได้เข้าร่วมเสวนาในวงเกี่ยวกับการ... (ไม่รู้แน่ว่าประเด็นอะไรเพราะเข้าไปทีหลัง) โดยไม่ตั้งใจ ในงาน “การนัด KM-PYU” โดยมีสมาชิกคนสำคัญคือ ดร.ประพนธ์ ผาสุขยืด ที่บอกแบบนี้เพราะว่าผมเพิ่งได้เจอท่านตัวจริงเป็นคร้งแรก ผมได้แลกเปลี่ยนในประเด็น “KM ในฐานะเครื่องมือการจัดการความสัมพันธ์ของคน” สรุป/ขยายประเดิน เป็นข้อ ๆ ดังนี้

ที่โรงไฟฟ้าแม่เมาะเราเริ่มต้น KM โดยมุ่งเน้นที่คนไม่ใช่ความรู้ เพราะว่าเครื่องมือต่าง ๆ ในการจัดการความรู้ขับเคลื่อนโดยคน

ความประทับใจในการใช้ KM ของผมคิอ KM เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการจัดการความสัมพันธ์/ความรู้สึกของคน เมื่อได้คลุกคลีกับวิธีการจัดการความสัมพันธ์/ความรู้สึกไปเรื่อยทำให้เราได้เห็นคุณค่าของความเป็นคนของผู้อื่น เราก็ภาคภูมิใจที่เป็นเหตุให้เขาเกิดความรู้สึกดี ๆ มีคุณค่าต่อองค์กร

การเปลี่ยนคนนั้นง่ายคือ แค่เปลี่ยนวิธีคิดหรือมุมมองต่อเรื่องใด ๆ เท่านั้น (แต่วิธีการเปลี่ยนวิธีคิดนั้นอาจจะไม่ง่ายนะครับ)

ป้ญหาหลาย ๆ อย่างในการเริ่มการจัดการความรู้คือ ความคิด เพราะผู้คิดเริ่มมักจะมองเห็นสิงที่จะเกิดขึ้นผ่านความคิดของตนเองโดยการคิดเอา เดาเอา เช่น ทำอย่างไรจะให้คนมีใจมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน ทั้ง ๆ ที่ถ้าเราเริ่มลงมือทำปัญหานี้อาจจะไม่มีเลยหรือมีเพียงเล็กน้อยเท่านั้น (วิธีการบอกไว้ในหนังสือของ สคส. ชัดเจนว่าจำเริ่มอย่างไร) ดังนั้นอยากใช้ KM อย่ามัวหมกมุ่นอยู่กับความคิด ให้ลงมือทำเลย(เปิดหนังสือทำก็ได้ แต่ขอให้แค่ลองทำ) แต่การทำนั้นต้องคิดนะครับ (การคิดกับความคิดนั้นคนละอย่างกัน ปัญหาไม่ได้อยู่ที่การคิด แต่อยู่ที่ผลของการคิดต่างหากละ คุณภาพของความคิดอยู่ที่การเปิดใจครับ)

รูปแบบการจัดการความสัมพันธ์ที่เห็นในโรงไฟฟ้าแม่เมาะมีหลายแบบขึ้นอยู่กับว่าเราต้องการอะไรในขณะนั้น มีวิธีการดังนี้

1. ถ้าต้องการให้เกิดความสัมพันธ์เชิงวิชาชีพ หมายถึงความสัมพันธ์ในกลุ่มคนที่ทำงานในวิชาชีพเดียวกัน ต้องนำกลุ่มคนที่มีวิชาชีพเดียวกัน มีประสบการณ์ในการทำงานคล้ายกันในเรื่องเดียวกัน มา ลปรร. กัน เช่น การนำเอาคนที่ทำหน้าซ๋อมระบบไฟฟ้าแต่ละหน่วยงานมา ลปรร.กัน คนเหล่านี้ทำหน้าที่คล้าย ๆ กัน แต่มีประสบการณ์ทั้งเหมือนและต่าง มุมมองในการทำงานอาจจะคนละมุมกัน การ ลปรร. จากวงนี้สิ่งที่จะปรากฏให้เราเห็นได้ชัดคือ ความรู้ปฏิบัติที่มีความรอบในแง่มุมต่าง ๆ มันเป็นการยกระดับไปอีกชั้นหนึ่ง โดยอาศัยจิ๊กซอของเพื่อนร่วมกลุ่มมาต่อกัน ผมขอเรียกสิ่งที่เกิดขึ้นนี้ง่าย ๆ ตามความเข้าใจของผมว่า “ปัญญาปฏิบัติ” ครับ เพราะผมเห็นว่าปัญญาก็คือความรู้รอบด้านนั่นเอง และอีกสิ่งหนึ่งที่เกิดขึ้นอย่างคาดไม่ถึงก็คิอ ความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นของคนในกลุ่ม มันไม่เหมือนกับความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นเหมือนที่เราเห็นจนเคยชิน มันเป็นความสัมพันธ์ที่มีความรู้เป็นสื่อกลางครับ เต็มไปด้วยความเคารพนับถือซึ่งกันและกันในฐานะของผู้มีความรู้ปฏิบัติเหมือนกัน เหมือนเรานับถืออะไรนะ...นึกไม่ออก(แต่เป็นความสัมพันธ์แบบบกุศล) ไม่รู้แบบนี้หรือเปล่าที่ สคส. ให้ชื่อ “โรงไฟฟ้าแม่เมาะเป็นโรงไฟฟ้าเปียมสุข-ผูกโยงความสัมพันธ์ด้วยความรู้” เยี่ยมยอดจริง ๆ เลยครับคุณน้ำ

2. ถ้าเราต้องการความสัมพันธ์เชิงระบบ หมายความว่าความสัมพันธ์ของกลุ่มที่ทำงานกับระบบงานเดียวกันแต่อาจจะอยู่คนละหน่วยงานคนละหน้าที่กัน เอาระบบงานเป็ตตัวตั้ง มีใครบ้างที่เกี่ยวข้องกับระบบนี้ นำมา ลปรร. ในกล่มเดียวกัน เช่น การนำเอา operator ซึ่งทำหน้าที่ในการเดินเครื่องมา ลปรร. กับพนักงานบำรุงรักษา จากแต่ก่อนต่างคนต่างมองในมุมของตนเอง operator ก็โทษแต่ว่าบำรุงรักษาซ่อมไม่ได้เรื่อง พนังงานบำรุงรักษาก็โทษ operator ว่าเคินเครื่องไม่ดูตาม้าตาเรือ ไม่รู้แล้วยังมาสร้างปัญหา เมื่อแต่ละฝ่ายได้รู้วิธีการและเหตุผลในการทำงานของแต่ละฝ่ายในปัจจัยแวดล้อมนั้น ๆ ก็เกิดความเข้าใจซึ่งกันละกัน เกิดความเข้าอกเข้าใจ เห็นอกเห็นใจกัน บางคนถึงกับอุทานออกมาว่า “ผมอยากมา ลปรร. อีก แบบนี้ทำให้ผมทำงานได้ง่ายขึ้นเยอะเลย”

3. ถ้าเราต้องการความสัมพันธ์เชิงกระบวนการ หมายถึงในกระบวนหนึ่ง ๆ อาจจะมีหลายหน่วยงานทำงานส่งต่อกันเป็นช่วง ๆ ปัญหาอาจจะเกิดขึ้นได้ซ้ำ ๆ ซาก ๆ ในกระบวนกันนั้น เพราะน้อยนักที่จะมีการ feedback ปรึกษาหารือกันระหว่างคนที่ปฏิบัติงานของทั้งกระบวนการ ต่างคนต่างทำหน้าที่ของตนเองในกระบวนกันนั้นไป รู้เฉพาะช่วงของตน ไม่รู้กิจกรรมถัดไปหรือก่อนหน้ากิจกรรมตน ต่างคนต่างคิดที่จะปรับปรุงงานของตนโดยไม่ได้ตรวจสอบผลการปรับปรุง มักคิดเอาเดาเอา ถ้าเป็นแบบนี้ต้องจับคนในกระบวนการเดียวกันแต่อยู่คนละหน่วยงานทั้งหมดมาร่วมวงกัน ความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นมีลักษณะคล้ายกับแบบที่ 2 ครับ

นี่แหละครับที่เป็นเรื่องคาใจผมเพราะมันเกิดหลังจากที่ผมได้แสดงความเห็นไปในรอบแรก พอจะถึงรอบสองเวลาก็ดันหมดก่อน จึงต้องอาศัยพระเดชพระคุณของ gotoknow ครับผม

 

คำสำคัญ (Tags): #km-pyu
หมายเลขบันทึก: 248904เขียนเมื่อ 16 มีนาคม 2009 21:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 มิถุนายน 2012 22:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

“KM ในฐานะเครื่องมือการจัดการความสัมพันธ์ของคน”

ไปร่วมงาน KM-PYU ครั้งนี้ได้ตกผลึกอย่างน่าชื่นชม

โดยเฉพาะ ความสัมพันธ์ ทั้ง 3 เชิง ใช้เป็นแนวทาง

ของการออกแบบกลุ่มเพื่อจัด ลปรร.ได้เลย

ได้อะไรดีๆเพิ่มเติม บันทึกเพื่อแบ่งปัน แบบนี้อีก

สวัสดีค่ะคุณสุนทร

มาติดตามเรียนรู้เครื่องมือ KM ต่อทาง blog ค่ะ

เห็นด้วยกับวิธีการ "ปัญญาปฏิบัติ" ค่ะ

เมื่อลงมือปฏิบัติแล้ว ผลที่ได้รับ จะออกมาเป็นเช่นไรก็ต้องยอมรับแล้วนำไปปรับปรุงพัฒนาต่อไปใช่มั้ยคะ

ขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท