คุณภาพ..ที่มากเกินไปหรือเปล่า


"การคิดในเชิงพุทธ" มองถึง บุญ-กรรม ที่ทำมาร่วมกัน และทำจิตใจให้น้อมรับ...สภาพจริงที่เกิดขึ้น

       วันนี้มี case ส่งมาจากตึกเป็น case คลอดลูก เด็กเกิดมาเสียชีวิตซึ่งไม่ทราบแน่ชัดว่า เด็กตายตั้งแต่ตอนไหน case มาถึงที่ทำงานเราพร้อมสามี ทั้งสองคนมีใบหน้าที่โศกเศร้าเสียใจ กับการสูญเสียที่กำลังเผชิญ

       เธอและเขาเดินทางมาจากกรุงเทพตอนช่วงเทศกาลสงกรานต์ เพื่อมาคลอดลูก ปกติทั้งสองคนทำงานอยู่ที่กรุงเทพฯ ต่างมาเยี่ยมบ้านด้วยความหวังและความสุขที่มี กับชีวิตใหม่ที่รอออกมาดูโลก หนึ่งวันก่อนมาโรงพยาบาลแม่สังเกตว่าตัวเองเริ่มปวดท้องจะคลอด จึงไปหาหมอที่โรงพยาบาลอำเภอ หมอที่โรงพยาบาลอำเภอสังเกตว่าท้องค่อนข้างเล็ก และอาจจะเป็นท้องแรกด้วยก็ได้อาจมีปัญหาระหว่างคลอดได้ แต่เพื่อความไม่ประมาทจึงส่งต่อผู้ป่วยมาที่โรงพยาบาลจังหวัด หมอที่โรงพยาบาลรับนอนโรงพยาบาลหนึ่งคืนแล้วให้กลับบ้าน แต่คืนวันเดียวกัน ทั้งสองคนกลับมาใหม่ด้วยอาการปวดท้องจะคลอด ...

        ระหว่างรอคลอด ผู้รับผิดชอบมาประเมินและพบว่า ฟังการเต้นหัวใจเด็กไม่ได้ จึงเร่งคลอด (คำถามที่สงสัย-แพทย์เจ้าของไข้มาดูหรือเปล่า หรือเพียงแค่โทรรายงาน ที่เหลือเป็นหน้าที่ของพยาบาล) เมื่อคลอดออกมา แม่เด็กรับรู้ว่าเด็กตายแล้ว และทั้งเธอและเขาไม่ได้เห็นเด็กเลย

       สาเหตุที่ทางตึกส่งมาที่ "จิตเวช" เนื่องจากว่าผู้ป่วยเสียใจ และมีภาวะซึมเศร้า ดิฉันเลือกที่จะให้การดูแล "การให้คำปรึกษาครอบครัว" คือ พูดคุยทั้งคู่สามี-ภรรยา เพื่อประคับประคองสภาพอารมณ์ จิตใจของทั้งคู่ให้สามารถเผชิญต่อความ "ทุกข์" ที่เกิดขณะนั้นได้...สิ่งหนึ่งที่สามารถเยียวยา ทั้งเขาและเธอได้ในตอนนี้ คือ "การคิดในเชิงพุทธ" มองถึง บุญ-กรรม ที่ทำมาร่วมกัน และทำจิตใจให้น้อมรับ...สภาพจริงที่เกิดขึ้น

       แต่คำถามหนึ่งที่ทิ้งท้ายไว้ให้ดิฉันต้องขบคิดนั่นคือ ก่อนเธอและเขาจากไป ได้ถามดิฉันว่าเธอและเขาขอดูศพลูกได้มั๊ย...ทำไมเจ้าหน้าที่ไม่สอบถามหรือแจ้งทั้งเขาและเธอเกี่ยวกับ เรื่อง การจัดการในตัวเด็ก หรือว่าเป็นสิทธิของโรงพยาบาลในการดำเนินการ หากเกิดกรณีเฉกเช่นนี้

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 24812เขียนเมื่อ 21 เมษายน 2006 12:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 พฤษภาคม 2013 12:58 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
     ลองอ่านบันทึกที่เขียนไว้ในประเด็นนี้ ความเข้าอกเข้าใจกัน + การให้อภัยซึ่งกันและกัน + การเยียวยาอย่างทันท่วงที และเรื่องที่เกี่ยวเนื่องกัน เช่น กรณีคุณดอกรัก หรือ คุณศิริรัตน์ ฯลฯ

"การคิดในเชิงพุทธ"  มองถึง บุญ-กรรม ที่ทำมาร่วมกัน และทำจิตใจให้น้อมรับ...สภาพจริงที่เกิดขึ้น

..นี่แหละคือทฤษฎีในการบำบัดทางจิตวิทยาที่ได้ผลที่สุดและน่าจะมีการเรียนรู้ให้มากที่สุด ( มากกว่าทฤษฎีทางตะวันตก )

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท