คุณค่าของหนังสือที่แตกต่างสำหรับห้องสมุด มข. และ มมส.


มุมมองจากหนังสือ

คุณค่าของหนังสือที่แตกต่างสำหรับห้องสมุด มข. และ มมส.

หนังสือเล่มหนึ่ง บริจาคให้ห้องสมุด เราสามารถมองเข้าไปได้ถึงมาตรฐานการทำงานและการคัดเลือกหนังสือเข้าห้องสมุด ได้เช่นกัน ดูจากห้องสมุดมหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.) และ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (มมส.)

หนังสือก่อร่าง สร้างฝัน ที่หนองสรวง พ๊อคเกตบุคส์เล่มเล็กๆ ถูกส่งทางไปรษณีย์ถึงผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการ ของ มมส. และ มข. เมื่อ วันที่ 6 ม.ค. 2549 แห่งละ 2 เล่ม แจ้งว่า ขอบริจาคให้ห้องสมุดนำไปใช้ประโยชน์

วันที่ 1 เม.ย. 2549 ลองเข้า internet เช็ค webopac โปรแกรมสืบค้นหนังสือทาง internet เข้าไปที่เวบไซต์ของห้องสมุดทั้ง 2 สถาบัน

มข. http://library.kku.ac.th
มมส. http://www.library.msu.ac.th

ผลการสืบค้น ห้องสมุด มข.นำหนังสือก่อร่าง สร้างฝัน ที่หนองสรวงออกให้บริการแล้ว แต่ที่ มมส. ยังไม่ได้ออกให้บริการ

จากตรงนี้มองได้ว่า
1.ขั้นตอนการพิจารณานำหนังสือขึ้นชั้นของห้องสมุด มข. รวดเร็วกว่า ห้องสมุด มข.
2. ระบบการจัดการห้องสมุด มข. ดีกว่า ของ มมส.

แต่ทาง มมส. กำลังมุ่งเน้นทำ E-book เพราะต้องการให้ผู้ใช้บริการสามารถสืบค้นหนังสือที่ต้องการพบตลอดไป แม้ว่าหนังสือบนชั้นจะถูกยืมไปแล้ว

และปริมาณหนังสือ วิทยานิพนธ์ที่มากขึ้นเรื่อยๆ ก็จะมี E-book ออกมาให้ดาวน์โหลด หรือเปิดอ่านจาก internet ได้จากทุกทั่วโลก ทุกเวลาที่ต้องการ

หนังสือที่เค้าเลือกมาทำ E-book ดูเหมือนจะเป็นหนังสือที่มีคุณค่าพอสำหรับจะเก็บไว้ในฐานข้อมูลออนไลน์

หนังสือเล่มเล็กๆ อย่างก่อร่าง สร้างฝัน ที่หนองสรวง อาจจะได้ขึ้นชั้นหรือไม่มีโอกาสเลยสำหรับห้องสมุด มมส. เพราะเนื้อหาเป็นเรื่องแนวคิด การทำงานในชนบท ประสบการณ์ของคนรากหญ้า ในพื้นที่เล็กๆแห่งหนึ่ง ที่ไม่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ ไม่ใช่แหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจ และไม่ค่อยมีคนรู้จักชื่อนี้มากนัก

ในห้องสมุดหลายแห่ง จึงมักที่จะเห็นหนังสือแนววิทยาศาสตร์เทคโนโลยี ความก้าวหน้า เศรษฐกิจ การจัดการ ฯลฯ ที่เนื้อหามีประโยชน์ในวงกว้าง และมีคนเลือกที่จะยืมไปอ่านอยู่ตลอด

แต่หนังสือที่บันทึกเรื่องราวของท้องถิ่นชนบท มักจะมีผู้สนใจน้อย รูปแบบ หน้าปกหนังสือก็ไม่ดึงดูดใจเหมือนหนังสือแนวอื่นๆ เพราะต้นทุนการผลิตที่มีจำกัด แต่ใจรักที่จะทำ

หนังสือเล่มเล็กๆกับการถูกคัดเลือกขึ้นชั้นหนังสือ ยังให้ข้อคิดแบบนี้ได้เหมือนกันนะครับ

ตอนนี้คุณสามารถยืมหนังสือเล่มนี้มาอ่านจากห้องสมุด มข.ได้แล้วครับ

ชื่อเรื่อง ก่อร่าง สร้างฝันที่หนองสรวง / อำนาจ แสงสุข, อาษา อาษาไชย
พิมพลักษณ์ [กรุงเทพฯ] : จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์, 2548

สถานที่ เลขหมู่ สถานภาพ

Main, Stack HN700.592.C6 อ686 ดูที่ชั้น
Main, Stack HN700.592.C6 อ686 c.2 ดูที่ชั้น
เลขหมู่ HN700.592.C6 อ686
สถานที่ Main
ฉบับพิมพ์ พิมพ์ครั้งแรก
รูปเล่ม 146 หน้า : ภาพประกอบ


และที่ห้องสมุดกลาง ที่ี่มหาวิทยาลัยรามคำแหงครับ

ชื่อเรื่อง ก่อร่างสร้างฝัน ที่หนองสรวง / อำนาจ แสงสุข, อาษา อาษาไชย.
พิมพลักษณ์ กาฬสินธุ์ : สำนักงานสนับสนุนชุมชนและเครือข่ายท้องถิ่น, 2548.

สถานที่ เลขหมู่ สถานภาพ <table width="100%" cellspacing="1" border="3" class="bibItems"> <tr class="bibItemsHeader">


</tr> <tr class="bibItemsEntry"> <td width="33%"> RC-Generalชั้น3อาคาร1 </td> <td width="43%"> HN700.592.C6 อ225 2548 </td> <td width="24%"> ตรวจสอบที่ชั้น</td> </tr> <tr class="bibItemsEntry"> <td width="33%"> RC-Generalชั้น3อาคาร1 </td> <td width="43%"> HN700.592.C6 อ225 2548 </td> <td width="24%"> ตรวจสอบที่ชั้น</td> </tr> </table><p>
</p>

คำสำคัญ (Tags): #learning
หมายเลขบันทึก: 24793เขียนเมื่อ 26 เมษายน 2006 13:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:20 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

นับเป็นมุมมองในการ ลปรร. ที่ดีอีกมุมครับ ขอชมเชยครับ จะดีไม่น้อยเลยถ้าหากจะมี ชุมชน หรือ ผู้ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการดังกล่าว แวะเวียนเข้ามา ณ ชุมชน msukm แห่งนี้ แล้วนำกลับไปปรับปรุงการปฏิบัติงานที่ตนเกี่ยวข้องให้ดียิ่งๆ ขึ้นไป

ขอบคุณครับ

วิชิต

ขอบพระคุณท่าน อ. วิชิต มากครับ   ที่เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงสถาบันการศึกษากับการพัฒนาชุมชนและการมีส่วนร่วมของไตรภาคีทุกภาคส่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สถาบันการศึกษา ส่วนใหญ่แล้วนักศึกษา ป.ตรี /โท/ เอก มักจะไปศึกษาดูงานเมืองนอกกัน แต่ โดยมองข้ามไป ชุมชนแน่แหละคือจุดเชื่อมที่สำคัญ ที่สุด" หลักคือ จงประสานความร่วมมือระหว่าง กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย  ก็จะสามารถขับเคลื่อนไปได้เร้วครับ มิใช่คุณนะเป็นคนไปทำนะ........ ก็ขอเชิญคณาจารย์ นิสิต นักศีกษา ทำวิจัย/ วิทยานิพนธ์ในพื้นที่ได้นะครับ แต่ห้ามออกนอกประเทศนะครับ..........ขอสงวนสิทธิ์
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท