การพัฒนาหลักสูตรการจัดการเรียนรู้โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น


การจัดการเรียนรู้เรื่องราวและภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทย ผ่านกิจกรรมการจัดการเรียนที่หลากหลาย เน้นการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง และการเรียนรู้ตลอดชีวิต

จากการพัฒนาประเทศที่ผ่านมาที่ให้ความสำคัญของการพัฒนาทางเศรษฐกิจ และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี  การรับวัฒนธรรมตะวันตกของประเทศไทย  ซึ่งไม่สอดคล้องกับวิถีชีวิต วัฒนธรรมของไทย ทำให้เกิดปัญหาและภาวะวิกฤตมากมาย  รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  พุทธศักราช  2550     จึงมีการกำหนดเกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่น และภูมิปัญญาไทยไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545  มาตรา 66  73  80  84   86  และมาตรา 289 โดยให้ความสำคัญเกี่ยวกับการอนุรักษ์  บำรุงรักษา ฟื้นฟู  ปกป้อง  คุ้มครอง  พิทักษ์ ส่งเสริม  สนับสนุน ช่วยเหลือ สืบสาน พัฒนา เผยแพร่ และปลูกจิตสำนึกคนไทยเพื่อสร้างความภาคภูมิใจ และเห็นถึงศักดิ์ศรี เกียรติภูมิในภูมิปัญญาที่มีในชาติ

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ได้กำหนดนโยบายส่งเสริม       ภูมิปัญญาไทยในการจัดการศึกษา ไว้ดังนี้ (1) นำภูมิปัญญาเข้าสู่การศึกษาของชาติ โดยเลือกสรรสาระและกระบวนการเรียนรู้เข้าสู่ระบบการศึกษา ทั้งการศึกษาในระบบโรงเรียน การศึกษานอกระบบโรงเรียน และการศึกษาตามอัธยาศัย  (2) ยกย่องและเชิดชูเกียรติ ครูภูมิปัญญา และสนับสนุนให้มีบทบาทเสริมในการถ่ายทอดภูมิปัญญาในการจัดการศึกษาทุกระดับและทุกระบบ  รวมทั้งให้แบบอย่างและชี้นำด้านวิถีคิด วิถีการเรียนรู้และการดำเนินชีวิตที่ได้ผ่านการทดสอบมามาก  3) สนับสนุนการศึกษาวิจัยด้านภูมิปัญญา เพื่อพัฒนาการจัดการศึกษาที่หลากหลายให้สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนและท้องถิ่นอย่างต่อเนื่อง 4) ประมวลคลังข้อมูลเกี่ยวกับสารัตถะและเครือข่ายภูมิปัญญา ทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับชาติ             สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีนโยบายให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาให้ความสำคัญของการส่งเสริมให้โรงเรียนได้จัดการเรียนรู้เรื่องราวและภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทย   ผ่านกิจกรรมการจัดการเรียนที่หลากหลาย เน้นการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง  และการเรียนรู้ตลอดชีวิต

และจากการที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครปฐมเขต 1 ได้รับงบประมาณจากจังหวัดนครปฐมจัดสรรงบประมาณตามโครงการยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดประจำปีงบประมาณ 2552 สำหรับการพัฒนาหลักสูตรการจัดการเรียนรู้โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น   โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและพัฒนาหลักสูตรจัดการเรียนรู้โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อพัฒนาครูเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้โดยภูมิปัญญา และเพื่อประมวลข้อมูลเกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่น                                                          

                        สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครปฐม เขต 1 จึงได้เลือกโรงเรียนในสังกัดเข้าโครงการ จำนวน 16 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนสระกระเทียมวิทยาคม โรงเรียนวัดสระกระเทียม โรงเรียนวัดห้วยจระเข้วิทยาคม โรงเรียนโพรงมะเดื่อวิทยาคม โรงเรียนวัดบางแขม โรงเรียนวัดเกาะวังไทร โรงเรียนวัดดอนยายหอม โรงเรียนวัดสระสี่มุม โรงเรียนวัดท่าเสา โรงเรียนวัดลำเหย  โรงเรียนคงทองวิทยา โรงเรียนวัดหนองโพธิ์  โรงเรียนวัดหนองศาลา โรงเรียนวัดปลักไม้ลาย โรงเรียนวัดสระสี่เหลี่ยม โรงเรียนวัดกงลาด มีครูโรงเรียนในโครงการและศึกษานิเทศก์  รวม  50  คน และนักเรียนโรงเรียนในโครงการได้ร่วมอนุรักษ์และสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น     โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากจังหวัดนครปฐม ตามโครงการยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด ประจำปีงบประมาณ 2552 ที่จัดสรรให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครปฐม  เขต  1  โครงการพัฒนาศักยภาพผู้เรียนเพื่อความเป็นเลิศ กิจกรรมที่ 2.5 พัฒนาหลักสูตรการจัดการเรียนรู้โดยภูมิปัญญาท้องถิ่น งบประมาณ  161,500  บาท

                คาดว่าเมื่อสิ้นสุดโครงการโรงเรียนในโครงการมีหลักสูตรการจัดการเรียนรู้โดยภูมิปัญญาท้องถิ่น  มีข้อมูลเกี่ยวกับภูมิปัญญาในท้องถิ่นที่โรงเรียนนำมาจัดการเรียนรู้ นักเรียนจะมีองค์ความรู้ และเจตคติที่ดีเกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่น และครู  ผู้ปกครองนักเรียนมีความพึงพอใจต่อคุณภาพนักเรียน

หมายเลขบันทึก: 247821เขียนเมื่อ 11 มีนาคม 2009 22:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 มิถุนายน 2012 15:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท