กฏกระทรวงเกี่ยวกับการมองเห็นและการได้ยิน


การมองเห็น การได้ยิน กฏหมาย การทดแทนการสูญเสีย

กฏกระทรวงและการทดแทนเกี่ยวกับการมองเห็นและการได้ยิน

(รวบรวมมาให้อ่านเป็นความรู้ อยากอ่านก็อ่าน ไม่อยากอ่านก็ไม่ต้องอ่าน เนื่องจากมีเรื่องที่อยากรู้เยอะมากแต่ที่เอาไปใช้ได้ในชีวิตจริงน้อย)

กฎกระทรวง
กำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย
และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับความร้อน แสงสว่าง และเสียง
พ.ศ. ๒๕๔๙

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา ๑๐๓ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ บัญญัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานมีอำนาจออกกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานให้นายจ้างดำเนินการในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ทั้งนี้ เพื่อความปลอดภัยของลูกจ้างที่ทำงานเกี่ยวกับความร้อน แสงสว่างและเสียง จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้

พรบ คุ้มครองแรงงาน 2541

หมวด ๒แสงสว่าง

ข้อ ๕ นายจ้างต้องจัดให้สถานประกอบกิจการมีความเข้มของแสงสว่าง ดังต่อไปนี้

  • ไม่ต่ำกว่ามาตรฐานที่กำหนดไว้ในตารางที่ ๑ ท้ายกฎกระทรวงนี้ สำหรับบริเวณพื้นที่ทั่วไป ภายในสถานประกอบกิจการ เช่น ทางเดิน ห้องน้ำ ห้องพัก
  • ไม่ต่ำกว่ามาตรฐานที่กำหนดไว้ในตารางที่ ๒ ท้ายกฎกระทรวงนี้ สำหรับบริเวณพื้นที่
  • ใช้ประโยชน์ในกระบวนการผลิตที่ลูกจ้างทำงาน
  • ไม่ต่ำกว่ามาตรฐานที่กำหนดไว้ในตารางที่ ๓ ท้ายกฎกระทรวงนี้ สำหรับบริเวณ
  • ที่ลูกจ้างต้องทำงานโดยใช้สายตามองเฉพาะจุดหรือต้องใช้สายตาอยู่กับที่ในการทำงาน
  • ไม่ต่ำกว่ามาตรฐานเทียบเคียงที่กำหนดไว้ในตารางที่ ๔ ท้ายกฎกระทรวงนี้สำหรับ
  • บริเวณที่ลูกจ้างต้องทำงานโดยใช้สายตามองเฉพาะจุดหรือต้องใช้สายตาอยู่กับที่ในการทำงานในกรณีที่ความเข้มของแสงสว่าง ณ ที่ที่ให้ลูกจ้างทำงานมิได้กำหนดมาตรฐานไว้ในตารางที่ ๓
  • ไม่ต่ำกว่ามาตรฐานที่กำหนดไว้ในตารางที่ ๕ ท้ายกฎกระทรวงนี้ สำหรับบริเวณรอบ ๆ สถานที่ลูกจ้างต้องทำงานโดยใช้สายตามองเฉพาะจุด

ข้อ ๖ นายจ้างต้องใช้หรือจัดให้มีฉาก แผ่นฟิล์มกรองแสง หรือมาตรการอื่นที่เหมาะสมและเพียงพอ เพื่อป้องกันมิให้แสงตรงหรือแสงสะท้อนจากแหล่งกำเนิดแสงหรือดวงอาทิตย์ที่มีแสงจ้าส่องเข้านัยน์ตาลูกจ้างโดยตรงในขณะทำงาน ในกรณีที่ไม่อาจป้องกันได้ ต้องจัดให้ลูกจ้างสวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลตามที่กำหนดไว้ในหมวด ๔ ตลอดเวลาที่ทำงาน

ข้อ ๗ ในกรณีที่ลูกจ้างต้องทำงานในสถานที่มืด ทึบ คับแคบ เช่น ในถ้ำ อุโมงค์ หรือในที่ที่มีลักษณะเช่นว่านั้น นายจ้างต้องจัดให้ลูกจ้างสวมหมวกนิรภัยที่มีอุปกรณ์ส่องแสงสว่าง หรือมีอุปกรณ์ส่องแสงสว่างอื่นที่เหมาะแก่สภาพและลักษณะของงานตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ในหมวด ๔ ตลอดเวลาที่ทำงาน

หมวด ๔ อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล

(๒) หมวกนิรภัย (Safety Hat) ต้องเป็นไปตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หมวกนิรภัยที่มีอุปกรณ์ส่องแสงสว่างจะต้องมีอุปกรณ์ที่ทำให้มีแสงสว่างส่องไปข้างหน้าที่มีความเข้มในระยะสามเมตรไม่น้อยกว่ายี่สิบลักซ์ติดอยู่ที่หมวกด้วย

 (๓) แว่นตาลดแสง (Safety Glasses) ต้องทำด้วยวัสดุซึ่งสามารถลดความจ้าของแสงลงให้อยู่ในระดับที่ไม่เป็นอันตรายต่อสายตา กรอบแว่นตาต้องมีน้ำหนักเบาและมีกระบังแสงซึ่งมีลักษณะอ่อน

 (๔) กระบังหน้าลดแสง (Face Shield) ต้องทำด้วยวัสดุสีที่สามารถลดความจ้าของแสงลงให้อยู่ในระดับที่ไม่เป็นอันตรายต่อสายตา กรอบกระบังหน้าต้องมีน้ำหนักเบาและไม่ติดไฟง่าย

ข้อ ๑๔ นายจ้างต้องจัดให้มีการบริหารจัดการเกี่ยวกับวิธีการเลือกและการใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล โดยต้องจัดให้ลูกจ้างได้รับการฝึกอบรมเกี่ยวกับวิธีการใช้และการบำรุงรักษาอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล รวมทั้งระเบียบในการใช้ต้องจัดทำขึ้นอย่างมีระบบและสามารถให้พนักงานตรวจแรงงานตรวจสอบได้ตลอดเวลาทำการ

หมวด ๖ การตรวจสุขภาพและการรายงานผลการตรวจสุขภาพ

ข้อ ๒๐ ให้นายจ้างจัดให้มีการตรวจสุขภาพของลูกจ้างที่ทำงานในสภาวะการทำงานที่อาจได้รับอันตรายจากความร้อน แสงสว่าง หรือเสียงตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีประกาศกำหนด

ข้อ ๒๑ ให้นายจ้างเก็บรายงานผลการตรวจสุขภาพของลูกจ้างตามข้อ ๒๐ ตามแบบที่อธิบดีประกาศกำหนดไว้อย่างน้อยห้าปีในสถานประกอบกิจการ พร้อมที่จะให้พนักงานตรวจแรงงานตรวจสอบได้

ข้อ ๒๒ ในกรณีที่ทราบความผิดปกติของร่างกายหรือความเจ็บป่วยของลูกจ้าง เนื่องจากการทำงานในสภาวะการทำงานที่อาจได้รับอันตรายจากความร้อน แสงสว่าง หรือเสียง นายจ้างต้องจัดให้ลูกจ้างได้รับการรักษาพยาบาลในทันที และทำการตรวจสอบหรือหาสาเหตุของความผิดปกติหรือเจ็บป่วย พร้อมทั้งส่งผลการตรวจสุขภาพของลูกจ้างที่ผิดปกติหรือเจ็บป่วย การให้การรักษาพยาบาลและการป้องกันแก้ไขต่อพนักงานตรวจแรงงานตามแบบที่อธิบดีประกาศกำหนดภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ทราบความผิดปกติหรือการเจ็บป่วย ถ้าลูกจ้างผู้ใดมีหลักฐานทางการแพทย์จากสถานพยาบาลของทางราชการหรือที่ราชการยอมรับแสดงว่าไม่อาจทำงานในหน้าที่เดิมได้ ให้นายจ้างเปลี่ยนงานให้แก่ลูกจ้างผู้นั้นตามที่เห็นสมควร  ทั้งนี้ ต้องคำนึงถึงสุขภาพและความปลอดภัยของลูกจ้างเป็นสำคัญ

แนวปฏิบัติตามกฎกระทรวง
กำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และ
สภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับความร้อน แสงสว่าง และเสียง พ.ศ. 2549
การตรวจวัดความเข้มแสงสว่าง ( Illumination Measurement)

Lux  : ความเข้มแสง (Illuminance) หมายถึง ปริมาณแสงที่ตกกระทบลงบนหนึ่งหน่วยพื้นที่ที่กำหนด หน่วยวัดความเข้มแสง มีหน่วยเป็น ลักซ์ (Lux) หรือเป็น ฟุตเทียน (Foot Candle) 1 ฟุตเทียน = 10.76 ลักซ์

  • ปัจจัยที่มีผลต่อการมองเห็น เช่น ความสามารถในการมองเห็นของนัยน์ตา ความสว่างของวัตถุ(ปริมาณแสงที่สะท้อนจากวัตถุ ; Brightness) ขนาดและรูปร่างของวัตถุ (Size & Shape) ความแตกต่างระหว่างวัตถุกับฉาก (Contrast) สีของวัตถุ (Color) เป็นต้น

อันตรายของแสงสว่างและผลกระทบต่อสุขภาพ

  • อันตรายของแสงสว่างนั้นมีผลกระทบต่อคนทำงาน ในกรณี แสงสว่างน้อยเกินไป จะมีผลเสียต่อ นัยน์ตา ทำให้กล้ามเนื้อตาทำงานมากเกินไป เพราะบังคับให้รูม่านตาเปิดกว้างขึ้น เนื่องจากการมองเห็นนั้นไม่ชัดเจน ต้องใช้เวลาในการมองรายละเอียดนานขึ้น ทำให้เกิดความเมื่อยล้าของนัยน์ตาที่ต้องเพ่งชิ้นงาน เกิดอาการปวดตา มึนศีรษะ การหยิบจับโดยใช้เครื่องมืออุปกรณ์อาจผิดพลาดทำให้เกิดอุบัติเหตุขึ้นได้ หรือไปสัมผัสถูกส่วนที่เป็นอันตราย
  • ในกรณี แสงสว่างที่มากเกินไป จะทำให้ผู้ทำงานเกิด ความไม่สบาย เมื่อยล้า ปวดตา มึนศีรษะ กล้ามเนื้อหนังตากระตุก วิงเวียน นอนไม่หลับ การมองเห็นแย่ลง
  • แสงสว่างน้อยเกินไปและมากเกินไป นอกจากจะก่อให้เกิดผลทางจิตใจ คือเบื่อหน่ายในการทำงาน ขวัญและกำลังใจในการทำงานลดลงแล้ว ยังทำให้เกิดอุบัติเหตุในการทำงานเกิดขึ้นได้

เครื่องมือวัดแสง

1) เซลรับแสง (Photo Cell) ทำด้วยแก้วหรือพลาสติกด้านในเคลือบด้วยสารซิลิกอน(Silicon) หรือ เซเลเนียม(Seleniu) ทำหน้าที่เปลี่ยนพลังงานแสงเป็นพลังงานไฟฟ้า ถ้าความเข้มแสงสว่างมาก พลังงานไฟฟ้าที่เกิดขึ้นจะมากตามไปเป็นสัดส่วน เซลรับแสง อาจถูกออกแบบให้โค้งนูนเล็กน้อยเพื่อให้แสงจากทิศทางต่างๆ ตกกระทบในมุม 90๐ หรือใกล้เคียงที่สุดได้รอบด้าน

2) ส่วนมิเตอร์ (Meter) ส่วนนี้จะรับพลังงานไฟฟ้าที่เกิดจากเซลรับแสง และแสดงค่าบนหน้าจอเป็นความเข้มแสงสว่าง

 

คุณลักษณะของเครื่องมือ

  • สามารถวัดความเข้มแสงสว่างได้ ตั้งแต่ 0 - มากกว่า 10,000 ลักซ์ คุณลักษณะของเครื่องวัดแสงต้องเป็นไปตามมาตรฐาน CIE 1931 ของคณะกรรมการระหว่างประเทศว่าด้วยความส่องสว่าง(International Commission on Illumination) หรือ ISO/CIE 10527 หรือเทียบเท่า เช่น JIS Z 8701 หรือดีกว่า (โดยเซลรับแสงต้องมีคุณลักษณะCosine-Corrected เพื่อปรับค่าของแสงที่ไม่ได้ตกตั้งฉากกับPhoto Cell และต้องมี Color Corrected ตามมาตรฐาน CIE )

กฏหมายเกี่ยวกับเรื่องแสงสว่าง

  • ตามประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีดำเนินการตรวจวัดและวิเคราะห์สภาวะการทำงานเกี่ยวกับระดับความร้อน แสงสว่าง หรือเสียงภายในสถานประกอบกิจการระยะเวลา และประเภทกิจการที่ต้องดำเนินการ
  • ข้อ 3 นายจ้างจัดให้มีการตรวจวัดและวิเคราะห์สภาวะการทำงานเกี่ยวกับความร้อน แสงสว่าง หรือเสียงภายในสถานประกอบกิจการในสภาวะที่เป็นจริงของสภาพการทำงาน อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง กรณีที่มีการปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงเครื่องจักร อุปกรณ์ กระบวนการผลิต วิธีการทำงาน หรือการดำเนินการใดๆ ที่อาจมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงระดับความร้อน แสงสว่าง หรือการดำเนินการใดๆ ที่อาจมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงระดับความร้อน แสงสว่าง หรือเสียง ให้นายจ้างดำเนินการจัดให้มีการตรวจวัดและวิเคราะห์สภาวะการทำงานฯ เพิ่มเติมภายใน 90 วันนับจากวันที่มีการปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลง
  • ข้อ 8 ให้ตรวจวัดความเข้มของแสงสว่างในสถานประกอบกิจการทุกประเภทกิจการ โดยให้ตรวจวัด "บริเวณพื้นที่ทั่วไป" บริเวณพื้นที่ใช้ประโยชน์ในกระบวนการผลิตที่ลูกจ้างทำงาน และบริเวณที่ลูกจ้างต้องทำงานโดยใช้สายตามองเฉพาะจุดหรือต้องใช้สายตาอยู่กับที่ในการทำงาน ในสภาพการทำงานปกติและในช่วงเวลาที่มีแสงสว่างตามธรรมชาติน้อยที่สุด

การวัดแบบจุด (Spot Measurement )

  • เป็นการตรวจวัดความเข้มแสงสว่างบริเวณที่ลูกจ้างต้องทำงานโดยใช้สายตาเฉพาะจุดหรือต้องใช้สายตาอยุ่กับที่ในการทำงาน ตรวจวัดในจุดที่สายตากระทบชิ้นงานหรือจุดที่ทำงานของคนงาน (Point of Work) โดยวางเครื่องวัดแสงในแนวระนาบเดียวกับชิ้นงาน หรือพื้นผิวที่สายตาตกกระทบ แล้วอ่านค่า ค่าที่อ่านได้นำไปเปรียบเทียบกับมาตรฐานตามกฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหารและจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน เกี่ยวกับ ความร้อน แสงสว่าง และเสียง พ.ศ. 2549 หมวด 2 แสงสว่าง ข้อ 5 (3) , (4), (5)

  • การวัดแสงเฉลี่ยแบบพื้นที่ทั่วไป (Area Measurement)
  • เป็นการตรวจวัดความเข้มแสงสว่างในบริเวณพื้นที่ทั่วไปภายในสถานประกอบกิจการ เช่นทางเดิน และบริเวณพื้นที่ใช้ประโยชน์ในกระบวนการผลิตที่ลูกจ้างทำงาน ทำได้สองวิธี คือ
  • แบ่งพื้นที่ทั้งหมดออกเป็น 2 x 2 ตารางเมตร โดยถือเซลรับแสงในแนวระนาบสูงจากพื้น30 นิ้ว (75 เซนติเมตร) แล้วอ่านค่า (ในขณะที่วัดนั้นต้องมิให้เงาของผู้วัดบังแสงสว่าง) นำค่าที่วัดได้มาหาค่าเฉลี่ย
  • หากการติดหลอดไฟฟ้ามีลักษณะที่แน่นอนซ้ำๆ กัน สามารถวัดแสงในจุดที่เป็นตัวแทนของพื้นที่ที่มีแสงตกกระทบในลักษณะเดียวกัน ตามวิธีการวัดแสงและการคำนวณค่าเฉลี่ย ของ IES Lighting Handbook 1981 (Reference Volume) ] หรือเทียบเท่า การวัดในลักษณะนี้ช่วยให้จำนวนจุดตรวจวัดน้อยลงได้ ดังนี้
  • การจัดการกับแหล่งแสง
  • การจัดแสงสว่างในสถานประกอบกิจการให้มีสภาพที่เหมาะสม มีหลักในการพิจารณาจากปัจจัยต่างๆ ดังนี้
  • การเลือกระบบแสงสว่างและแหล่งกำเนิดแสงสว่าง แสงสว่างตามธรรมชาติ เป็นแหล่งกำเนิดของแสงสว่างที่ดีที่สุดและถูกที่สุด การจัดพื้นที่ของสถานประกอบกิจการให้มีพื้นที่ของหน้าต่างหรือช่องแสงเข้าจึงเป็นเรื่องที่มีความสำคัญ หากต้องการนำประโยชน์จากแสงสว่างธรรมชาติมาใช้ ควรให้มีพื้นที่ของหน้าต่างมากกว่า 1/3 ของพื้นที่ของสถานประกอบกิจการนั้น แต่ทั้งนี้ต้องคำนึงความร้อนที่จะเข้ามาด้วย
  • ลักษณะของห้องหรือพื้นที่ใช้งาน ลักษณะของห้องหรือพื้นที่ใช้งาน นับเป็นส่วนสำคัญที่สุดในการที่จะนำรายละเอียดไปใช้เป็นข้อพิจารณาในการกำหนดความสว่างให้เหมาะสม เพื่อให้เกิดการมองเห็นที่ดี การจัดสภาพแวดล้อมในการมองเห็นเพื่อให้เกิดความรู้สึกสบายและอยากทำงาน การพิถีพิถันในการเลือกใช้สี และวัสดุในการทำเพดานและผนัง ซึ่งปัจจัยเหล่านี้จะช่วยเพิ่มการมองเห็นให้ดียิ่งขึ้น โดยจะลดการสูญเสียจากแสงสะท้อนการกระจายของแสงดีขึ้น ปกติแล้วการทาสีเพดานควรทาสีที่ใกล้เคียงกับสีขาวให้มากที่สุดและผนังไม่ควรทาสีที่มีความมันวาว ควรทาสีอ่อนๆ
  • 3) ปริมาณของแสงสว่างที่เพียงพอและมีคุณภาพลักษณะงานแต่ละชนิด ต้องการปริมาณแสงสว่างไม่เท่ากัน ลักษณะงานที่มีความละเอียดมาก หรือมีชิ้นงานขนาดเล็กมาก หรือทำงานกับชิ้นงานที่มีสีทึบ ย่อมต้องการปริมาณแสงสว่างมากกว่างานที่มีชิ้นงานขนาดใหญ่หรือมีสีอ่อน นอกจากปริมาณแสงสว่างที่พอเหมาะกับลักษณะงานแล้วคุณภาพของแสงสว่างก็มีความสำคัญมาก
  • แสงสว่างที่ควรหลีกเลี่ยง
  • การเกิดแสงจ้า (Glare) คือ จุดหรือพื้นที่ที่มีแสงจ้าเกิดขึ้นในระยะของลานสายตา (Visual Field) ทำให้ตารู้สึกว่ามีแสงสว่างมากเกินกว่าที่ตาจะปรับได้ ทำให้เกิดความรำคาญ ไม่สุขสบาย หรือความสามารถในการมองเห็นลดลง แสงจ้ามี 2 ชนิด คือ
  • แสงจ้าเข้าตาโดยตรง (Direct Glare) เกิดจากแหล่งกำเนิดที่แสงสว่างจ้าในระยะลานสายตา ซึ่งอาจเกิดจากแสงสว่างที่ส่องผ่านหน้าต่าง หรือแสงสว่างที่เกิดจากดวงไฟที่ติดตั้ง
  • การลดแสงจ้าจากหน้าต่าง
  • ติดผ้าม่าน ที่บังตา บานเกร็ด ต้นไม้ หรือไม้เลื้อยต่างๆ
  • เปลี่ยนเป็นกระจกฝ้าแทนกระจกใส
  • เปลี่ยนทิศทางของโต๊ะและการนั่งทำงาน โดยให้แสงสว่างเข้าด้านข้าง หรือนั่งหันหลังให้หน้าต่าง แทนการหันหน้าไปหาแสง แต่ต้องระวังการเกิดเงาบังแสงสว่างที่ตกกระทบชิ้นงาน
  • การลดแสงจ้าจากดวงไฟ
  • การใช้โคมไฟ หรือที่ครอบลึกพอควร ขอบด้านในทาสีเข้มและผิวด้าน
  • ติดตั้งโคมไฟให้ต่ำพอ เพื่อว่าแสงจ้าที่พื้นผิวจะถูกลบหายไป แต่ให้มีระดับสูงเพียงพอที่จะช่วยในการส่องสว่าง
  • แสงสว่างที่ควรหลีกเลี่ยง
  • แสงจ้าจากการสะท้อน (Reflected Glare) เกิดจากเมื่อแสงตกกระทบบนพื้นผิว ต่างๆ เช่น วัตถุผิวมันและสะท้อนมาเข้าตา แสงจ้าชนิดนี้จะก่อให้เกิดความรำคาญมากกว่าแสงจ้าโดยตรง
  • การลดแสงจ้าจากการสะท้อน
  • การปรับเปลี่ยนตำแหน่งของแหล่งแสง
  • การลดความสว่างของแหล่งแสง
  • การเลือกใช้ผิววัสดุที่มีการสะท้อนแสงต่ำ
  • การทำฉากป้องกันแสงสะท้อน
  • การทำฉากหลัง (Background) ข้างเคียงให้สว่างกว่า โดยออกแบบพื้น/วัสดุผิวสีอ่อนให้อยู่ด้านหลัง
  • การเกิดเงา
  • การเกิดเงา เงาเป็นอุปสรรคต่อการทำงานอย่างยิ่ง บริเวณที่มีเงามืดบนพื้นผิวของชิ้นงาน จะทำให้การทำงานลำบากยากยิ่งขึ้น เพราะมองไม่เห็นหรือเห็นไม่ชัด คุณภาพของงานไม่ดี เมื่อยตา และอาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้
  • การหลีกเลี่ยงการเกิดเงา
  • การวางผังโต๊ะในลักษณะที่สามารถหลีกเลี่ยงการเกิดเงาในบริเวณที่ทำงาน
  • จัดกลุ่มดวงไฟสำหรับกลุ่มต่างๆ ของเครื่องจักร
  • จัดทิศทางของแสง
  • การเพิ่มแสงสว่างจะสามารถป้องกันการเกิดเงาได้ ดังนั้น การดูแลความสะอาดและเพิ่มจำนวนหน้าต่างและช่องแสง เป็นวิธีทางหนึ่งที่สามารถเพิ่มการส่องสว่างได้
  • การบำรุงรักษาแสงสว่าง
  • แม้จะมีปริมาณและคุณภาพของแสงสว่าง ที่เหมาะสมกับการปฏิบัติงานนั้นแล้ว แต่หากไม่มีการดูแลบำรุงรักษาระบบแสงสว่างอย่างเหมาะสม ความเข้มของการส่องสว่างที่ได้รับจะเหลือเพียงครึ่งเดียว และทำให้การจัดแสงสว่างที่ดำเนินการไว้ไม่เพียงพอต่อการปฏิบัติงานได้
  • สาเหตุที่ทำให้ระบบการส่องสว่างลดลง คือ
  • ฝุ่น หรือสิ่งสกปรกที่ติดอยู่บนดวงไฟ พื้นผิวงานต่างๆ รวมทั้งพื้นผิวห้องด้วย อาทิเช่น ฝ้า กำแพง เพดาน หน้าต่าง ช่องแสง เป็นต้น
  • อายุการใช้งานของแหล่งกำเนิดแสง เช่น ดวงไฟ หลอดฟลูออเรสเซนต์ ( ก่อนที่หลอดจะขาดหรือหมดอายุ ความสว่างของหลอดไฟจะลดลง 25-30% เมื่อเทียบกับหลอดไฟใหม่)
  • การนำสิ่งของต่างๆ วางกีดขวางทางเข้าของแสงสว่าง หรือตั้งบังทางที่แสงส่องสว่างผ่านมายังบริเวณที่ปฏิบัติงาน
  • วัตถุประสงค์ของการประเมินการสูญเสียของระบบจักษุ
  • เพื่อเป็นแนวทางสำหรับแพทย์ในการประเมินการสูญเสียสมรรถภาพอย่างถาวรของระบบจักษุ ให้เป็นแนวเดียวกันและสามารถคิดการสูญเสียเป็นร้อยละได้ง่ายขึ้น
    นิยาม
    ระบบจักษุ (visual system) ประกอบด้วย ลูกตาทั้ง 2 ข้าง ocular adnexa และ visual pathway
  • การสูญเสียสมรรถภาพของระบบจักษุ มี 4 ประเภท ดังนี้
    1. การสูญเสียลูกตา หมายถึง การที่ลูกตาข้างนั้นถูกควักออก โดยวิธี enucleation หรือ evisceration ซึ่งอาจจะเกิดจากผลโดยตรงของอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น หรือแพทย์จำเป็นต้องควักตาออกเพื่อการรักษา
    2. การสูญเสียสมรรถภาพของการมองเห็น ได้แก่
    2.1 การสูญเสียสายตา (loss of central visual acuity) ในที่นี้ให้ใช้เฉพาะสายตาไกล (distance vision) เท่านั้น
    2.2 การสูญเสียลานสายตา (loss of visual field)
    3. การสูญเสียความสามารถในการใช้สายตา 2 ข้างร่วมกัน (loss of binocular vision) ในที่นี้ หมายความว่า " ผู้นั้นไม่สามารถเห็นภาพเป็นภาพเดียวเมื่อใช้ตา 2 ข้างมองตรงหรือกลอกตาไปในทิศทางต่าง ๆ "
    4. การสูญเสียหน้าที่อย่างอื่นของระบบจักษุที่ไม่ทำให้การมองเห็นเสียไป เช่น entropion, ectropion, lagophthalmos, epiphora, symblepharon. หรือการสูญเสียเปลือกตาบนหรือล่าง ให้ประเมิน การสูญเสียรวมเข้าไปด้วยกับการสูญเสียในข้อ 2. หรือข้อ 3.
    ส่วนความผิดปกติของ orbit หรือการเสียโฉมไม่นับเป็นการสูญเสียสมรรถภาพของระบบจักษุ
  • เครื่องมือที่จำเป็นในการทดสอบการมองเห็น
  • แผ่นป้ายวัดสายตามาตรฐานแบบของ Snellen ทั้งใกล้และไกล ซึ่งอาจจะเป็นแบบตัวอักษร ตัวเลข หรือตัว E หรือรูปเรือ (สำหรับคนอ่านหนังสือไม่ออก) หรือจะใช้แบบ broken ring ของ Landolt ก็ได้
  • ชุดวัดแว่น
  • เครื่องวัดลานสายตา เช่น tangent screen
  • perimeter
  • ผู้ประเมิน
    จักษุแพทย์ผู้ได้รับวุฒิบัตรหรือหนังสืออนุมัติฯ จากแพทยสภาหรือแพทย์ผู้ผ่านการอบรม การประเมินการสูญเสียสมรรถภาพทางกายและจิต วิธีการวัดสมรรถภาพของการมองเห็น
    แผ่นป้ายวัดสายตาที่ใช้จะต้องไม่เก่าหรือสกปรกเกินไป ระยะทางที่ใช้วัด 6 เมตร (หรือเท่ากับ 20 ฟุต) ความสว่างที่ป้ายวัดสายตาต้องไม่ต่ำกว่า 5 foot candles ซึ่งจะทำได้โดยใช้โป๊ะไฟใส่หลอดธรรมดาขนาดไม่ต่ำกว่า 25 วัตต์ และห่างจากป้ายไม่มากเกิน 1 ฟุต แผ่นป้ายที่ใช้วัดต้องใหม่พอควร เพื่อความคมชัดในการมองเห็น
    วิธีการวัดสายตา ต้องวัดสายตาด้วยตาเปล่าโดยไม่ใช้แว่นช่วย และเมื่อใช้ด้วยแว่นหรือเลนส์สัมผัส ช่วย (contact lens) จนเห็นดีที่สุดแล้ว
  • วิธีการประเมินการสูญเสียสมรรถภาพของการมองเห็น
  • คิดเป็นร้อยละโดยใช้ค่าระดับสายตาเมื่อวัดด้วยแว่นหรือเลนส์สัมผัส (contact lens) จนเห็นดีที่สุดแล้วทั้งใกล้และไกล หาค่าเป็นร้อยละ ตามตารางที่ 1
    ตามปกติการวัดสายตามีทั้งการวัดระยะใกล้ (near vision) และไกล (distance vision) แต่ในการประเมินการสูญเสียสายตาให้ประเมินจากการวัดระยะไกล โดยที่ว่าถ้าระดับสายตาต่ำกว่า 1.5/60 หรือต่ำกว่า 20/800 เช่น counting finger, hand motion, light perception ให้ระบุว่า การสูญเสียสายตา (loss of central vision) มากกว่าร้อยละ 95
    การวัดสายตาในกรณีที่ผู้ป่วยไม่มีเลนส์ตา (aphakia) ให้วัดระดับสายตาจนเห็นดีที่สุดก่อน เมื่อได้ค่าเท่าไรให้คิดว่าสายตาจริงควรเป็นร้อยละ 50 ของที่วัดได้ เนื่องจากผู้ป่วยเหล่านี้จะมีปัญหาอื่น ๆ เช่น ลานสายตาแคบลง มีปัญหาแสงสะท้อนและไม่สามารถ accommodate ได้ ส่วนในราย monocular pseudophakia ให้ใช้ค่าเฉลี่ยของตาปกติกับของ monocular aphakia ที่วัดได้
    ตัวอย่าง
    ผู้ป่วย monocular aphakia เมื่อแก้ด้วยแว่นหรือเลนส์สัมผัส (contact lens) แล้วได้ 20/40 ซึ่งเท่ากับ central visual efficiency ร้อยละ 85 เมื่อคิดเพียงร้อยละ 50 จะได้เท่ากับ 85/2 หรือประมาณร้อยละ 43 หรือ คิดเป็น loss of central vision เท่ากับร้อยละ 100 ลบด้วยร้อยละ 43 เท่ากับร้อยละ 57 (ดูค่าสำเร็จ ซึ่งได้คำนวณไว้ให้แล้วในตารางที่ 1)
    ส่วน monocular pseudophakia ดูค่าสำเร็จในช่องสุดท้ายในตารางที่ 1 เช่น ระดับสายตาที่วัดได้ 20/40 จะมีการสูญเสียของสายตา (loss of central vision) เท่ากับร้อยละ(15+57)/2 ซึ่งมีค่าเท่ากับ 36
  • ในรายที่มีการสูญเสียสายตาทั้ง2ข้างให้ใช้สูตรคำนวณดังนี้คือ
  • ร้อยละของการสูญเสียสายตาทั้ง2ข้าง = {(3 x ร้อยละการสูญเสียของตาข้างที่ดีกว่า) +(ร้อยละการสูญเสียของตาข้างเลว)}/ 4
  • ตัวอย่าง

  • ตาข้างที่ดีกว่าสูญเสียสายตาร้อยละ 30 ตาข้างเลวสูญเสียสายตาร้อยละ 60 ร้อยละของการสูญเสียสายตาทั้ง 2 ข้าง =(3x 30) + (60)/4 = 37.5
  • คิดเป็นจำนวนเต็ม = 38%
  • เพราะฉะนั้นตาทั้ง 2 ข้างสูญเสียสมรรถภาพของการมองเห็นไปร้อยละ 38
    เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการประเมินการสูญเสียสมรรถภาพการมองเห็นทั้ง 2 ข้าง โดยหาค่าได้จากตารางที่ 3วิธีการหาค่าสำเร็จรูปของการสูญเสียสายตา 2 ข้าง มีดังนี้ คือ อ่านค่าร้อยละของการสูญเสียของ ตาข้างเลว (% impairment of worse eye) ตามแนวตั้งของแถวซ้ายมือสุด และอ่านค่าร้อยละของการสูญเสียของสายตาข้างที่ดีกว่า (% impairment of better eye) ตามแนวนอนของแถวล่างสุด แล้วลากเส้นตั้งฉาก จากค่าร้อยละบนแนวตั้งและแนวนอนมาบรรจบกัน จะได้ค่าร้อยละของการสูญเสียสายตาทั้งสองข้างตาม ตัวอย่าง ตาข้างเลวสูญเสียสายตาร้อยละ 60 ตาข้างที่ดีกว่าสูญเสียสายตาร้อยละ 30 จะได้ค่าร้อยละของ การสูญเสียสายตาทั้งสองข้างเท่ากับร้อยละ 38
  • การสูญเสียสมรรถภาพของการใช้ตา 2 ข้างร่วมกัน มีเกณฑ์การประเมินดังนี้
    1. ถ้ามี diplopia ภายใน 20 องศา จากจุดศูนย์กลาง จะมีการสูญเสียร้อยละ 100 ของตาข้างนั้น
    2. ถ้ามี diplopia ห่างจากจุดศูนย์กลางเกินกว่า 20 องศา จะมีการสูญเสียร้อยละ 20 ของตาข้างนั้น
  • การสูญเสียหน้าที่อย่างอื่นของระบบจักษุที่ไม่ทำให้การมองเห็นเสียไป

  • ผู้ป่วยที่มีการสูญเสียหน้าที่อย่างอื่นของระบบจักษุที่ไม่ทำให้การมองเห็นเสียไปมีเกณฑ์ การประเมินการสูญเสียสมรรถภาพดังนี้
    1. สูญเสียหนังตาบน มีการสูญเสียฯ ตั้งแต่ร้อยละ 5-15 ของตาข้างนั้น
    2. สูญเสียหนังตาล่าง มีการสูญเสียฯ ตั้งแต่ร้อยละ 5-10 ของตาข้างนั้น
    3. entropion (หนังตาม้วนเข้า) ของหนังตาบนมีการสูญเสียฯ ตั้งแต่ร้อยละ 5-10 ของตาข้างนั้น
    4. entropion (หนังตาม้วนเข้า) ของหนังตาล่างมีการสูญเสียฯ ตั้งแต่ร้อยละ 5-10 ของตาข้างนั้น
    5. ectropion (หนังตาม้วนออก) ของหนังตาบนมีการสูญเสียฯ ตั้งแต่ร้อยละ 5-10 ของตาข้างนั้น
    6. ectropion (หนังตาม้วนออก) ของหนังตาล่างมีการสูญเสียฯ ตั้งแต่ร้อยละ 5-10 ของตาข้างนั้น
    7. epiphora (น้ำตาไหลมาก) มีการสูญเสียฯ ตั้งแต่ร้อยละ 5-10 ของตาข้างนั้น
    8. lagophthalmos (ปิดตาไม่สนิท) มีการสูญเสียฯ ตั้งแต่ร้อยละ 5-10 ของตาข้างนั้น
    9. symblepharon (เยื่อบุตาติดกัน) มีการสูญเสียฯ ตั้งแต่ร้อยละ 5-15 ของตาข้างนั้น
    10. blepharoptosis (หนังตาตก) มีการสูญเสียฯ ตั้งแต่ร้อยละ 5-15 ของตาข้างนั้น

  • ระยะเวลาที่จะลงความเห็นขั้นสุดท้ายของการสูญเสียสมรรถภาพของระบบจักษุ
  • ระยะเวลาที่จะลงความเห็นว่าระบบจักษุสูญเสียสมรรถภาพเท่าไรนั้น มีความสำคัญมาก เพราะถ้าประเมินเร็วเกินไปแล้ว หากภายหลังเกิดมีการเปลี่ยนแปลงของการสูญเสียสมรรถภาพซึ่งอาจจะมากขึ้นหรือน้อยลงก็อาจจะทำให้เกิดความยุ่งยากขึ้นได้ โดยทั่วไปแล้วจะประเมินการสูญเสียสมรรถภาพของระบบจักษุ ดังนี้
    1. เมื่อการอักเสบหายแล้ว เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 3 เดือน
    2. หลังการผ่าตัดเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 3 เดือน
    3. ในรายที่มีความผิดปกติของ extraocular muscle, sympathetic ophthalmia, traumatic cataract, traumatic vitreous hemorrhage หรือ optic nerve atrophy ควรลงความเห็นหลังจากนัยน์ตาได้รับอันตรายเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 6 เดือนแต่ไม่เกิน 12 เดือน
  • ขั้นตอนการประเมินการสูญเสียสมรรถภาพของระบบจักษุ

  • 1. กรณีที่มีการสูญเสียสมรรถภาพของระบบจักษุของตาข้างเดียวโดยที่ตาอีกข้างปกติ ให้ประเมินการสูญเสียฯ ร้อยละการสูญเสียเฉพาะตาข้างที่สูญเสียนั้น
    ตัวอย่าง
    ผู้ป่วยได้รับอุบัติเหตุที่ตาขวา หลังจากการรักษาแล้วตาขวามี visual acuity เท่ากับ 6/24 ตาซ้ายมีvisual acuity เท่ากับ 6/6 ประเมินการสูญเสียฯ โดยเทียบจากตารางที่ 1 ตาขวามีการสูญเสียสมรรถภาพเท่ากับร้อยละ 45 ของตา
  • ขั้นตอนการประเมินการสูญเสียสมรรถภาพของระบบจักษุ
  • 2. กรณีที่มีการสูญเสียสมรรถภาพของระบบจักษุในตาข้างหนึ่งมากกว่า 1 ประเภทขึ้นไป ให้ประเมินการสูญเสียสมรรถภาพของแต่ละประเภทก่อน แล้วนำค่าที่ได้มารวมกันโดยใช้ตารางค่ารวม ในบทที่ 16 ค่าที่ได้จะเป็นค่าการสูญเสียรวมของตาข้างนั้น
    ตัวอย่าง
    ตาขวาผู้ป่วยสูญเสีย central vision ร้อยละ 90 สูญเสียลานสายตาข้างขวาร้อยละ 20 จากตาราง ค่ารวมจะได้การสูญเสียฯ ของตาขวาเท่ากับร้อยละ 92 (90 รวมกับ 20 จะได้ 92)
  • 3. กรณีที่มีการสูญเสียสมรรถภาพของระบบจักษุทั้ง 2 ข้าง ให้ประเมินร้อยละการสูญเสียฯ 2 ข้าง รวมกัน
    ตัวอย่าง
    ผู้ป่วยโดนถังแก๊สระเบิดตาขวาสูญเสีย central vision ร้อยละ 80 ตาซ้ายสูญเสียร้อยละ 45
    จากสูตร คำนวณการสูญเสียสายตาทั้ง 2 ข้าง
    = (3 X % การสูญเสียของตาข้างที่ดีกว่า) + (% การสูญเสียของตาข้างที่เลวกว่า)/4
    = (3 X 45) + 80/4
    = 53.75 หรือ 54
  • ดังนั้นผู้ป่วยรายนี้สูญเสียสมรรถภาพการมองเห็นของตาทั้ง 2 ข้างร้อยละ 54

    4. กรณีที่ตาข้างหนึ่งมีการสูญเสียสมรรถภาพการมองเห็นจากอุบัติเหตุหรือโรคและตาอีกข้างหนึ่งมีความผิดปกติอยู่เดิม ไม่เกี่ยวข้องกับอุบัติเหตุหรือโรคในครั้งนี้ ก็ให้ประเมินค่าร้อยละการสูญเสียฯของ ตาทั้ง 2 ข้างให้กับผู้ป่วยด้วย
  • ตัวอย่าง
    ผู้ป่วยได้รับอุบัติเหตุที่ตาขวา หลังการรักษาตรวจ visual acuity ของตาขวาเท่ากับ 6/60 ตาซ้ายมี macular scar อยู่เดิม (ไม่เกี่ยวกับอุบัติเหตุครั้งนี้) visual acuity ของตาซ้ายเท่ากับ 6/24 เมื่อเทียบหาค่าร้อยละการสูญเสียฯ จากตารางที่ 1 ตาขวาสูญเสีย central vision เท่ากับร้อยละ 80 ตาซ้ายสูญเสีย central vision เท่ากับร้อยละ 45
    ร้อยละของการสูญเสียสายตาทั้ง 2 ข้าง
    = ( 3 X % การสูญเสียของตาข้างที่ดีกว่า) + (% การสูญเสียของตาข้างที่เลวกว่า)/4= ( 3 X 45) + 80/4= 53.75 หรือ 54
  • ดังนั้นผู้ป่วยรายนี้สูญเสียสมรรถภาพการมองเห็นของตาทั้ง 2 ข้างร้อยละ 54
    กรณีนี้ควรลงความเห็นว่าผู้ป่วยสูญเสียสมรรถภาพตาทั้ง 2 ข้างเท่ากับร้อยละ 54 ผู้ป่วยจะได้รับ ค่าทดแทนมากกว่าการลงความเห็นว่า ผู้ป่วยสูญเสียสมรรถภาพของตาขวาข้างเดียวเท่ากับร้อยละ 80
    การประเมินการสูญเสียสมรรถภาพของระบบจักษุพบว่าผู้ป่วยมากกว่าร้อยละ 90 สูญเสียสายตาเพียงอย่างเดียว ซึ่งมักไม่เป็นปัญหาในการประเมิน จะมีเพียงส่วนน้อยที่จำเป็นต้องประเมินการสูญเสีย ลานสายตาได้แก่ ผู้ป่วยที่ได้รับอุบัติเหตุทางสมอง ผู้ป่วยต้อหิน ในสถานพยาบาลที่ไม่มีเครื่องมือวัด ลานสายตา แพทย์อาจพิจารณาส่งต่อผู้ป่วยไปยังสถานพยาบาลที่สามารถวัดได้ แต่ในกรณีอุบัติเหตุทั่วไป เช่น rupture cornea, traumatic cataract, hyphema ผู้ป่วยเหล่านี้ไม่จำเป็นต้องวัดลานสายตาก็ได้ เพราะผู้ป่วยไม่มีการสูญเสียลานสายตาหรือมีแต่สูญเสียลานสายตาเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

  • หมวด ๓ เสียง
  • ข้อ ๘ นายจ้างต้องควบคุมระดับเสียงที่ลูกจ้างได้รับเฉลี่ยตลอดเวลาการทำงานในแต่ละวัน (Time Weighted Average-TWA) มิให้เกินมาตรฐานที่กำหนดไว้ในตารางที่ ๖ ท้ายกฎกระทรวงนี้ หลักเกณฑ์และวิธีการตรวจวัดระดับเสียง และการคำนวณการได้รับเสียง ให้เป็นไปตามที่ อธิบดีประกาศกำหนด
  • ข้อ ๙ ในบริเวณสถานประกอบกิจการที่มีระดับเสียงกระทบหรือเสียงกระแทก (Impact or Impulse Noise) เกินหนึ่งร้อยสี่สิบเดซิเบลเอ หรือมีปริมาณเสียงสะสมของเสียงกระทบหรือเสียงกระแทกเกินมาตรฐานที่กำหนดไว้ในตารางที่ ๖ ท้ายกฎกระทรวงนี้ นายจ้างต้องให้ลูกจ้างหยุดทำงานจนกว่าจะได้ปรับปรุงหรือแก้ไขระดับเสียง ตามหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจวัดระดับให้เป็นไปตามที่อธิบดีประกาศกำหนด
  • หมวด ๓ เสียง
  • ข้อ ๑๐ ภายในสถานประกอบกิจการที่สภาวะการทำงานมีระดับเสียงที่ลูกจ้างได้รับเกินมาตรฐานที่กำหนดในข้อ ๘ หรือข้อ ๙ ให้นายจ้างดำเนินการปรับปรุงหรือแก้ไขสิ่งที่เป็นต้นกำเนิดของเสียงหรือทางผ่านของเสียงหรือการบริหารจัดการเพื่อให้มีระดับเสียงที่ลูกจ้างได้รับอยู่ไม่เกินมาตรฐานที่กำหนด
  • ในกรณียังดำเนินการปรับปรุงหรือแก้ไขตามวรรคหนึ่งไม่ได้ นายจ้างต้องจัดให้ลูกจ้างสวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลตามที่กำหนดไว้ในหมวด ๔ ตลอดเวลาที่ทำงาน เพื่อลดเสียงให้อยู่ในระดับที่ไม่เกินมาตรฐานที่กำหนดไว้ในข้อ ๘ หรือข้อ ๙
  • หมวด ๓ เสียง
  • ข้อ ๑๑ ในบริเวณที่มีระดับเสียงเกินมาตรฐานที่กำหนดในข้อ ๘ หรือข้อ ๙ นายจ้างต้องจัดให้มีเครื่องหมายเตือนให้ใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลติดไว้ให้ลูกจ้างเห็นได้โดยชัดเจน
  • ข้อ ๑๒ ในกรณีที่สภาวะการทำงานในสถานประกอบกิจการมีระดับเสียงที่ลูกจ้างได้รับเฉลี่ยตลอดระยะเวลาการทำงานแปดชั่วโมงตั้งแต่แปดสิบห้าเดซิเบลเอขึ้นไป ให้นายจ้างจัดทำโครงการอนุรัก
หมายเลขบันทึก: 247812เขียนเมื่อ 11 มีนาคม 2009 21:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 16:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
ข้อ ๑๒ ในกรณีที่สภาวะการทำงานในสถานประกอบกิจการมีระดับเสียงที่ลูกจ้างได้รับ เฉลี่ยตลอดระยะเวลาการทำงานแปดชั่วโมงตั้งแต่แปดสิบห้าเดซิเบลเอขึ้นไป ให้นายจ้างจัดทำโครงการอนุรัก(ษ์การได้ยินในสถานประกอบการ) คุณหมอรู้ไหมครับว่าทำไมต้องทำโครงการอนุรักษ์การได้ยินในสถานประกอบการ เมื่อ 85 dB(A) 8hr TWA แต่ นายจ้างต้องควบคุมระดับเสียงที่ลูกจ้างได้รับเฉลี่ยตลอดเวลาการทำงานในแต่ละ วัน (Time Weighted Average-TWA) มิให้เกินมาตรฐานที่กำหนดไว้ในตารางที่ ๖ ท้ายกฎกระทรวงนี้ ให้ 90 dB(A) 8hr. TWA

แล้วการทำโคงการอนุรักษ์การได้ยินเขาทำกันอย่างไร?

ไปดู web NIOSH, OSHA ซิครับ

เล่มนี้ http://www.occmednop.org/document/BookAudiometry.pdf

คนละเรื่องกับของ NIOSH , OSHA เลย เพราะไปลอกตรงนั้นนิดตรงนี้หน่อยมาผสมกัน

ลอก AAO-HNS ในการแปรผล

ไม่รู้ว่า เมื่อไหร่จะ Retest จะ confirm

แล้ว revise baseline จะทำเมื่อไหร่ มีกฎเกณฑ์อย่างไร

แล้วยังจะมาให้กรมสวัสดิฯ ลอกมาทำเป็นกฎหมายอีก

ทำงานกับวิศวกรเยอะค่ะ

อยากสอบถามมาตรฐานความเข้มของแสงสว่าง

เปรียบเทียบ ประกาศกระทรวงฯ IES CIE และ BS ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท