บทคัดย่อ


การพัฒนาทักษะการคิดพื้นฐาน

ชื่อเรื่อง                  การพัฒนาทักษะการคิดพื้นฐาน   และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

                               โดยใช้แบบฝึกทักษะและหนังสืออ่านประกอบคำคล้องจองส่งเสริมการคิดคณิตศาสตร์                               

                                 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์          เรื่อง  การหาร   ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่  3   

ผู้วิจัย                      นางพันทิพา  คงวัน             ตำแหน่ง                ครู           วิทยฐานะครูชำนาญการ  

                               โรงเรียนบ้านลำดวน  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์  เขต  1

ปีที่พิมพ์                 พ.ศ.  2551                            

 

บทคัดย่อ

 

                การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ   (1)  เพื่อสร้างแบบฝึกทักษะและหนังสืออ่านประกอบคำคล้องจองส่งเสริมการคิดคณิตศาสตร์  กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์  เรื่องการหาร  ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่  3  ให้มีประสิทธิภาพ  75/75  (2)  เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยแบบฝึกทักษะและหนังสืออ่านประกอบคำคล้องจองส่งเสริมการคิดคณิตศาสตร์  กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์   เรื่องการหาร    ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่  3   (3)  เพื่อศึกษาทักษะการคิดพื้นฐานของนักเรียนที่เรียนด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ประกอบแบบฝึกทักษะและหนังสืออ่านประกอบคำคล้องจองส่งเสริมการคิดคณิตศาสตร์  กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์   เรื่องการหาร    ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่  3  (4)  เพื่อเปรียบเทียบความคงทนของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยแบบฝึกทักษะและหนังสืออ่านประกอบคำคล้องจองส่งเสริมการคิดคณิตศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์  เรื่องการหาร    ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่  3   กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาที่  3/2 โรงเรียนบ้านลำดวน  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์ เขต  1  ภาคเรียนที่  2  ปีการศึกษา  2550  จำนวน  22 คน  ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง  (Purposive  Sampling)  เครื่องมือที่ใช้มี  4  ชนิด  ประกอบด้วย  (1)  แผนการจัดการเรียนรู้ประกอบแบบฝึกทักษะและหนังสืออ่านประกอบคำคล้องจองส่งเสริมการคิดคณิตศาสตร์  กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์  เรื่องการหาร  ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่  3  จำนวน  21  ชุด  ทำการสอน  21  ชั่วโมง  (2)   แบบฝึกทักษะจำนวน  4 เล่ม  และหนังสืออ่านประกอบคำคล้องจอง  จำนวน  1  เล่ม  ประกอบการใช้แบบฝึกทักษะเล่ม  4    (3)  แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  ชนิดเลือกตอบ  จำนวน  30  ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่  0.42  ถึง  0.72  และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ  0.93  (4)  แบบทดสอบวัดทักษะการคิดขั้นพื้นฐาน  ชนิดเลือกตอบ  3  ตัวเลือก ซึ่งใช้วัด  5  ทักษะคือทักษะการสังเกต  ทักษะการแปลความ  ทักษะการรวบรวมข้อมูล  ทักษะการเชื่อมโยง  และทักษะการสรุปความ   มีค่าความยากตั้งแต่ 0.37  ถึง 0.77  มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่  0.26  ถึง 0.80   และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ  0.79   วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้  ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  ร้อยละ  และ ค่า  t – test   (Dependent  Samples)

                ผลการวิจัย  

                                1.  แบบฝึกทักษะและหนังสืออ่านประกอบคำคล้องจองส่งเสริมการคิดคณิตศาสตร์  กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์  เรื่องการหาร  ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่  3  มีประสิทธิภาพ  81.74/80.28  

                             2.  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  หลังจากที่นักเรียนได้เรียนรู้ด้วยแบบฝึกทักษะและหนังสืออ่านประกอบคำคล้องจองส่งเสริมการคิดคณิตศาสตร์  กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์  เรื่องการหาร  ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่  3   แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  .05  

                              3.  คะแนนทักษะการคิดพื้นฐานของนักเรียน  หลังจากที่เรียนรู้ด้วยแบบฝึกทักษะและหนังสืออ่านประกอบคำคล้องจองส่งเสริมการคิดคณิตศาสตร์  กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์  เรื่องการหาร  ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่  3  ค่าเฉลี่ยเท่ากับ  24.32   ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ  5.25

                                4.  นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  3  ที่ได้เรียนรู้ด้วยแบบฝึกทักษะและหนังสืออ่านประกอบคำคล้องจองส่งเสริมการคิดคณิตศาสตร์  มีความคงทนในการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์  เรื่องการหาร ไม่แตกต่างกัน

 

                โดยสรุป  การจัดการเรียนรู้เพื่อการพัฒนาทักษะการคิดพื้นฐาน  และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้แบบฝึกทักษะและหนังสืออ่านประกอบคำคล้องจองส่งเสริมการคิดคณิตศาสตร์  กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์  เรื่องการหาร  ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่  3  มีประสิทธิภาพสูง  สามารถนำไปใช้เป็นสื่อในการเรียนรู้ของนักเรียน  และใช้เป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์สำหรับครู  และผู้เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา  ในการปรับปรุง แก้ไข และพัฒนาคุณภาพการศึกษาในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 247708เขียนเมื่อ 11 มีนาคม 2009 13:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 เมษายน 2012 22:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

เยี่ยมมากๆเลยค่ะ

ดีมากค่ะ

สุดยอดเลยค่ะ

กาญจนาภรณ์ สำนักนิตย์

ดีค่ะ

ดีเลยค่ะ

-*-

ผมขอเป็นกำลังใจให้ครับ

-*-

ได้ความรู้มากเลยค่ะ

สามารถนำคำคล้องจองมาใช้เสริมกับวิชาคณิตศาสตร์ ทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่ายได่ เยี่ยมมากครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท