ความสำคัญของการตลาด ( The Importance Marketing )
ลักษณะการตลาด
กิจกรรมด้านการตลาดในปัจจุบันมีความสลับซับซ้อนและเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ทำให้งานด้านการตลาดเปลี่ยนแปลงจากเดิม ที่เคยเน้นการขายสินค้าและบริการเพื่อหวัง ผลกำไรเพียงอย่างเดียวมาเป็น การตลาดที่มุ่งหวังกำไรที่เกิดจากความพึงพอใจของผู้บริโภคและสังคม ผู้ที่สามารถดำเนินกิจกรรมทางด้านการตลาดได้เหมาะสมสามารถตอบสนองความต้องการของ
ลูกค้าให้ได้รับความพึงพอใจสูงสุด จะเป็นผู้ประสบความสำเร็จในการประกอบธุรกิจด้านการตลาด
กิจกรรมของมนุษย์ในสังคมตามระบบเศรษฐกิจจะมีการกระทำอยู่ 3 ประเภทใหญ่ คือ
1. การผลิต ( Product )
2. การจัดจำหน่าย ( Distribution )
3. การบริโภค ( Consumption )
กิจกรรมเหล่านี้ได้มีการพัฒนาให้ก้าวหน้าทันสมัยอยู่เสมอดังจะเห็นได้จากมนุษย์ ได้คิดสิ่งต่าง ๆ ทั้งทางด้านวิชาการและเทคโนโลยีใหม่ ๆ เข้ามาใช้ในการพัฒนาทางด้าน การผลิตและทางด้าน อุตสาหกรรม จากกิจกรรมทั้ง 3 ประเภทที่กล่าวมานี้ กิจกรรมเกี่ยวกับการ จัดจำหน่าย ( Distribution ) จึงเป็นกิจกรรมที่มีความสัมพันธ์กับการตลาด ( Marketing ) มากที่สุด
ความหมายของการตลาด
ความหมายของคำว่า ตลาด ( Market ) กับ การตลาด ( Marketing )
นักปราชญ์หลายท่าน ได้ให้ความหมายของตลาด ( Market ) ไว้ดังนี้
1. บุคคลทั่วไป เข้าใจความหมายของ ตลาด ว่า
ตลาด หมายถึง “ สถานที่ ที่ใช้ในการซื้อขายสินค้าและบริการ ”
2. นักเศรษฐศาสตร์ ให้ความหมายของ ตลาด ไว้ว่า
(1) ตลาด หมายถึง “ กิจกรรมการซื้อขายระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายทั้งสิ้น ของผลิตภัณฑ์ชนิดใดชนิดหนึ่ง ”
(2) ตลาด หมายถึง “ กลุ่มผู้ซื้อและกลุ่มผู้ขายโดยทั่วไป เป็นผู้ผลิตและผู้บริโภคมา ทำการต่อรองเพื่อแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ ”
(3) ตลาด หมายถึง “ ตลาดที่ถูกจำแนกประเภทตามพฤติกรรมผู้ผลิต ผู้ซื้อและ พฤติกรรมระหว่างผู้ผลิตด้วยกัน รวมทั้งดูชนิดของสินค้าที่ขายในตลาดนั้นด้วย ”
3. นักการตลาด ให้ความหมายของ ตลาด ไว้ดังนี้
(1) ตลาด หมายถึง “ บุคคลที่มีความจำเป็นหรือต้องการผลิตภัณฑ์ มี ีอำนาจซื้อหรือ มีเงิน และมีความพอใจที่จะจับจ่ายใช้สอย ”
(2) ตลาด หมายถึง “ กลุ่มของบุคคลและองค์กรซึ่งมีอำนาจซื้อและมีการปฏิบัติเกี่ยวกับ ผลิตภัณฑ์ ”
(3) ตลาด หมายถึง “ ความต้องการรวม ( Aggregate Demand ) ของผู้ซื้อ ”
จากความหมายที่กล่าวมานี้ จะเห็นว่านักการตลาด กำหนดขอบเขตของตลาด เฉพาะด้านผู้ซื้อด้านเดียว โดยศึกษาถึงขนาด อำนาจซื้อ และความพอใจของผู้ซื้อ ส่วน ด้านผู้ขายนักการตลาดจะเรียกอุตสาหกรรม ( Industry ) หรือการแข่งขัน ( Competition ) ส่วนนักเศรษฐศาสตรเ์นั้นกำหนดขอบเขตตลาดทั้งสองฝ่าย คือฝ่ายผู้ซื้อและฝ่ายผู้ขาย
ในอดีตคณะกรรมการสมาคมการตลาดแห่งสหรัฐอเมริกา ( The American Marketing Association - AMA ) ได้ให้ความหมายของการตลาดไว้ว่า
การตลาด ( Marketing ) หมายถึง “ การตลาดเป็นกิจกรรมทาง ธุรกิจที่เกี่ยวกับการเคลื่อน ย้ายสินค้าและบริการจากผู้ผลิตไปยังผู้บริโภคหรือผู้ใช้ ”
จากคำนิยามนี้ปรากฏว่าสาระสำคัญของการตลาด มีข้อโต้แย้งจากนักการตลาดสมัยใหม่ หลายประการ ดังนี้
นักการตลาดมองนิยามการตลาดว่ามีขอบเขตจำกัดเกินไป คือ “ การตลาดจะเริ่มต้น ภายหลังจาก กิจการ ได้ผลิตสินค้าและบริการขึ้นแล้ว และสิ้นสุดลงเมื่อขายสินค้าได้แล้ว ” ซึ่งเป็นการมุ่งเน้นด้านการขายสินค้าเท่านั้น
สำหรับนักการตลาดสมัยใหม่ที่มีความคิดว่า
“
ก่อนการผลิตสินค้าและบริการออกจำหน่าย
เป็นแนวความคิดด้านการตลาดและสังคม
อีกประการหนึ่งของนิยามนี้ นักการตลาดมองว่า “ การตลาดเป็นกิจกรรมทางธุรกิจเท่านั้น ” แต่นักการตลาดสมัยใหม่ ยังมองการตลาดที่ครอบคลุมไปถึงหน่วยงานที่ไม่หวังผลกำไร ( Non-profit Organization ) ด้วย เพราะหน่วยงานที่ไม่คาดหวังผล กำไรมากมายในปัจจุบัน ก็ดำเนินการโดยใช้วิธีการตลาดทั้งสิ้น เช่น มูลนิธิต่าง ๆ มีการโฆษณาประชาสัมพันธ์ เพื่อเชิญชวน ให้ประชาชนบริจาคทรัพย์สมทบทุนอยู่อย่างต่อเนื่อง เป็นต้น
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย ทางเลือกของนักการตลาด ใน หน้าที่การตลาด
คำสำคัญ (Tags)#ข้อดีของการเรียนการตลาด
หมายเลขบันทึก: 247691, เขียน: 11 Mar 2009 @ 11:47 (), แก้ไข: 21 Jun 2012 @ 12:07 (), สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน, ความเห็น: 3, อ่าน: คลิก
กำลังหาอยู่ พอ ดี