เท้าป้าเหมือน


ตัวอย่างที่ดีมีค่ามากกว่าคำสอน

เช้าวันนี้ดูจะเร่งรีบสักนิดแต่หลายคนก็พร้อมจะให้บริการ

ด้วยอ้ตรากำลังที่มีน้อย แต่ก็มากด้วยน้ำใจของเพื่อนร่วมงาน

             คุณพ่อเชาวลิต เป็นจิตอาสาคนเก่งของพวกเรา

มาทำงานแต่เช้าตามที่เราเคยนัดกันไว้

ทุกวันอังคาร ศุกร์

เราจะเหนื่อยได้ไงในเมื่อกำลังใจมีมากซะขนาดนั้น

              รีบดูแลความเรียบร้อยของห้องประชุม  เชิญคนไข้เบาหวานที่หลายคนก็คุ้นเคยกับห้องประชุมดี

ก็ไม่ต้องแนะนำอะไรกันมาก  สิบกว่าคนไม่มากนักสำหรับคนไข้ที่คุมระดับน้ำตาลไม่ดีนัก   เราก็เปิด

โอกาสให้พ่อได้ใช้พลังลมปราณฝึกหายใจกันไป  ว่าแล้วก็ลาพ่อไปที่ระเบียงมุมโปรดของคนรักษ์เท้า

(มุมหมอตีน)  เช่นเคย

              เวลาก็มีน้อยบางคนก็จะไม่ทันรถ  บางคนก็หว่งหลาน  ต่างคนก็มีภาระกิจรออีกมากมาย

พยาบาลก็ขมักเขม้นตรวจเท้าไป ปากก็แนะนำให้ความรู้กันไม่หยุด เสียงก็แหบกันซะทุกวันคลินิก

การพูดคุยเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันในหมู่คนเบาหวานที่เราคุ้นเคยกันดี 

              ทำไมถึงต้องดูแลเท้า......พยาบาลอยากรู้แนวคิดของคนไข้ หลังจากที่พูดจนแสบคอ

              หลายคนก็ผลัดกันพูดผลัดกันตอบ ดูบรรยากาศเป็นกันเองเช่นเคย

              ป้าเหมือนเป็นคนไข้เบาหวานเมื่อไม่กี่ปีมานี่ ก็ตอบแบบไม่รอให้ใครถาม

              " โอย. ต้องดูให้ดี ไม่ให้เป็นแผลโดยเด็ดขาด "   " ไม่ให้เป็น ดูให้ดี "

ดูป้าแกจะย้ำจัง ทุกคนนั่งเงียบ  ทำไมป้าจึงคิดว่าอย่างนั้น  " ถ้าเป็นแล้วนะ มันรักษาไม่ค่อยหาย..

ถึงกับตัดขาเลยนะ "

             เราก็นึกป้าต้องมีอะไรจะบอกแน่เลย      ป้าเคยเห็นหรอ..    ป้าก็เล่าให้ฟ้งเหมือนกับว่าตนเอง

เป็นซะงั้นแหละ

             ลุงสามีของป้าถูกตะปูตำเท้า   ก็คิดว่าไม่นานแผลก็คงจะหายอย่างที่เคยเป็นเมื่อสมัยยังหนุ่ม

จึงทำแผลกันเองที่บ้าน  นานถึงสองเดือนกว่า ไม่ไหวแน่นอกจากจะไม่หายยังเป็นมากขึ้นอีก   จึงตัดสินใจ

พากันมาพบหมอ คุณหมอก็ดูแล้วดูอีกทำแผลให้ก็คงจะไม่ดีขึ้นแน่  จึงตัดสินใจตัดทิ้งเถอะ?????

" เผื่ออะไรจะดีขึ้น "  คนไข้และหมอก็ลงความเห็นว่างั้น  ป้าหัวเราะเบาๆ หลังจากนั้นไม่นานก็ไม่ดีขึ้น ลุงก็

โบกมือบ้ายบาย... ลาจากป้าไป คงเหลือแต่ความทรงจำ(ทำให้ป้าสุขภาพดี)อย่ามีแผลที่เท้า   แถมดูแล

อย่างเข้มงวดตลอดมา  

              แล้วป้าดูแลเท้าอย่าไรล่ะ ..  ระวังตลอดเดินไปไหนทำอะไรก็ระวังไม่ให้เป็นแผล ใส่รองเท้าแล้ว

ก็ต้องระวังเพราะมันอาจตำทะลุได้ ......ฮึม..จริงนะ หลายคนใส่รองเท้าแล้วก็คิดว่าปลอดภัยไม่ค่อยระวัง

ต้องล้างเท้า ตรวจเท้าเรื่อยๆ  ป้าบอกพวกเรา พรางก็ย้ำอย่าให้เป็นแผลนะ  ขาปลอม ไม้เดินก็ไม่เหมือน

ขาเรา แกยิ้มในมุมปากพร้อมพยักหน้าคล้ายจะชวนเพื่อนๆให้ช่วยกันดูแลเท้าให้ดี...................

             ตลอดเวลาที่ป้าเล่าเรื่องราวอยู่นั้น ทุกคนตั้งใจฟังไม่ได้ยินเสียงใครคุยกัน.......

              ทุกตาก็มองไปที่เท้าป้าเหมือน  สะอาดตามภูมิภาค ใส่รองเท้าค่อนข้างใหม่  สีฟ้าสวยเชียว

ลงทุนนะจ๊ะ เราแอบแซวในใจ อิอิ   แล้วก็เป็นเหมือนที่ป้าคุยไว้ หลังจากตรวจเท้าป้าก็พบว่า ไม่มีร่องรอย

ของการเกิดแผล ไม่แตกแห้งทั้งที่ป้าก็ยังคงทำงานหาเลี้ยงชีพเหมือนคนอื่นๆ

                เราเปิดโอกาสให้คนไข้คนอื่นได้ซักถามพูดคุยกันพอควร ก็คุณครูของเราเต็มใจให้ความรู้

แล้วทำไมพวกเราจะไม่อยากรู้ล่ะ     ถามแบบไม่ต้องจัดคิว แซงกันก็มี....

                 ทุกคนต่างก็ลงความเห็นว่าจะต้องดูแลเท้าให้มากขึ้นกว่านี้  ทำไม????????

                 กลัวเป็นแผล  กลัวถูกตัดขา  ไม่เป็นไรนะเดี๋ยวหมอแถมไม้ช่วยเดินให้สองอันนะ..............

                 ไม่รับของแถมดีกว่า   55555555555555555  ทั้งกลุ่มมองหน้ากันปฏิเสธของแถมกันใหญ่

   เราทุกคนขอขอบคุณป้าเหมือน ที่เป็นครูสอนเรื่องการดูแลและให้ความสำคัญกับเท้า ในวันนี้

ขอบคุณค่ะ

 

คำสำคัญ (Tags): #คนรักษ์เท้า
หมายเลขบันทึก: 247546เขียนเมื่อ 10 มีนาคม 2009 21:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 05:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท