HR TALK SHOW : Go Training Talk ศักยภาพคนไร้ขีดจำกัด ตอนที่ 3


ไม่รู้จึงคิด คิดแล้วก็ยังไม่รู้ เมื่อหยุดคิดจึงรู้ (จิตว่าง)

จาก 2 ตอนที่แล้วผมได้เขียนเล่าภาพรวมของงานมาและได้แนะนำวิทยากรมาแล้ว 2 ท่าน (ความเดิมตอนที่แล้ว http://gotoknow.org/blog/attawutc/246753) มาตอนนี้เรามาดูกันว่าวิทยากรท่านที่เหลือแต่ละท่านจะมานำเสนอ อะไร อย่างไรบ้าง

 

วิทยากรท่านที่ 3 คือ คุณวานิษา  เรซ หรือที่พวกเรารู้จักดีในนามของ หนูดี นั่นเอง คุณหนูดีเป็นนักฝึกอบรมผู้เชี่ยวชาญทางด้านอัจฉริยภาพ มีผลงานเขียนหนังสือติดอันดับ Best Seller อย่าง อัจฉริยะสร้างได้ อัจฉริยะเรียนสนุกและหนังสือแปล เดอะลาสต์เลคเชอร์

http://www.mindbrainedu.com/

 

http://www.mindbrainedu.com/

คุณหนูดีเปิดตัวด้วย Keyword คำว่า “ACCIDENT” และ เชื่อมโยงคำนี้เข้าไปยังเนื้อหาที่ว่าด้วยการคิด 3 ระดับ คือ

1.        การคิดระดับที่ 1 : การคิดด้วยระดับฉุกเฉินเพื่อเอาตัวรอด ซึ่งความคิดนี้จะเร็วมากคือ ประมาณ 1 ms หรือ 1 ใน 1000 วินาที นั่นก็คือ สัญชาติญาณนั่นเอง

2.        การคิดระดับที่ 2  : การคิดหาคำตอบแก้ปัญหา เพื่อหาคำอธิบายจากคำตอบ การคิดแบบนี้คุณหนูดีบอกว่าเปรียบเสมือนการคิดแบบกระต่าย คือ ต้องการหาคำตอบอย่างรวดเร็ว การคิดแบบนี้เป็นการคิดจากการฝึกเรียนรู้ ท่องจำ ด้วยปรีชาญาณ (สำนวนอาจารย์ประพนธ์ ผาสุขยืด จากหนังสือแปลของ OSHO) ซึ่งความคิดของผมมองว่าการคิดแบบนี้เป็นการคิดสำเร็จรูป และยังอยู่ในกรอบ บางครั้งไม่อาจแก้ปัญหาได้ เพราะมัวแต่พยายามหาคำตอบ ที่ต้องการคำอธิบายที่ตนเองต้องเข้าใจ ตามรอบมุมมองของตัวเอง เหมือนกับนิทานเรื่องปลากับเต่า เปรียบเทียบถึงเรื่องนิพพาน ที่ปลาถามว่าบนบกเป็นอย่างไร เต่าก็ตอบไม่ได้เพราะบนบกคือบนบก น้ำก็คือน้ำ ไม่สามารถเปรียบเทียบกันได้ ดังนั้นต้องให้เห็นและสัมผัสด้วยตัวเองจึงจะเกิดการเรียนรู้ขึ้นได้ด้วยตัวเอง

3.        การคิดระดับที่ 3 : การคิดถึงคำถามมากกว่าที่จะหาคำตอบ หรือการคิดแบบสร้างสรรค์ คุณหนูดีบอกว่าเปรียบเสมือนการคิดแบบเต่า คือ คิดช้าๆ ไม่ต้องรีบหาคำตอบ การคิดแบบนี้ทำให้ผมนึกถึงการคิดด้วยปัญญาญาณ (Intuition) ที่อาจารย์ประพนธ์ ผาสุขยืด ได้แปลงานของ OSHO ไว้ ในหนังสือชื่อ “Intuition ปัญญาญาณ คือ การคิดแบบไม่ต้องคิด ผมเคยสังเกตตัวเองว่าพยายามคิดแก้ปัญหาสักอย่าง อย่างตั้งใจมากที่สุด แต่ก็คิดไม่ออก แต่พอปล่อยวางความคิดนั้นออกไป ปรากฎว่าคำตอบนั้นมันออกมาได้ โดยไม่ต้องคิด ซึ่งผมเข้าใจว่าพอจิตว่าง สมาธิเกิด ปัญญาก็เกิดการรู้แจ้งขึ้นเอง ผมขอยืมสำนวนของอาจารย์วรภัทร  ภู่เจริญ (คนไร้กรอบ) มาดัดแปลงต่อเกลียวการเรียนรู้เรื่องการคิดแบบนี้ว่า ไม่รู้จึงคิด คิดแล้วก็ยังไม่รู้  เมื่อหยุดคิดจึงรู้ (จิตว่าง)

 

ผลงานการเขียนของอาจารย์ประพนธ์ ผาสุขยืด สามารถดูได้ที่ Link : http://www.yaimaibook.com/index.php?menu=book.php&cate=author&where_author=52

และอ่าน Blog ของท่านได้ที่ http://gotoknow.org/blog/blink และ http://gotoknow.org/blog/beyondkm

 

อ่าน Blog ของอาจารย์วรภัทร  ภู่เจริญ (คนไร้กรอบ) ได้ที่ http://gotoknow.org/blog/ariyachon

 

สุดท้ายหนูดีสรุปว่าการคิดทั้ง 3 ระดับต้องใช้ให้เหมาะกับสถานการณ์ตามบริบทที่เหมาะสมและควรเป็น และต้องใช้ให้สมดุลย์กัน

 

ยังเหลือวิทยากรอีก 4 ท่าน บรรยากาศ เนื้อหา จะเป็นอย่างไรโปรดติดตามตอนต่อไปครับ

 

ที่มา http://gotrainingtalk.wordpress.com/speaker/

หมายเลขบันทึก: 247525เขียนเมื่อ 10 มีนาคม 2009 19:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • ขอบคุณที่ให้และแบ่งปันความรู้

ขอบคุณท่านศรีกมลมากครับที่มาเยี่ยมเยือนให้กำลังใจ ขออนุญาตนำ Blog "ร้อยคมคิด เพื่อชีวิตที่ดี" เข้า Planet ด้วยนะครับ อ่านแล้วชอบ ได้ความรู้ดีมากครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท