“คุณค่าแท้ คุณค่าเทียม” ในการดำเนินชีวิต


“คุณค่าแท้ คุณค่าเทียม” ในการดำเนินชีวิต

บทนำ

คุณค่าแท้ คุณค่าเทียม เป็นวิธีคิดหนึ่งใน “โยนิโสมนสิการ” ที่สำคัญและมีประโยชน์มาก แต่อาจจะเพราะหลักการพื้นๆของแนวคิด ทำให้ดูเหมือนจะเป็นสิ่งที่หลายๆคนมองข้ามไปในการดำเนินชีวิต การดำเนินชีวิตในสังคมปัจจุบันซึ่งมีความสับสนวุ่นวายมาก โดยเฉพาะการพัฒนาของระบบการเรียน การทำงาน และการทำกิจกรรมต่างๆ ตลอดจนเทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยอำนวยความสะดวก และช่วยให้การดำเนินการต่างๆ สะดวก รวดเร็วมากขึ้น ทั้งองค์การ ผู้บริหาร ผู้ปฏิบัติงาน ล้วนต้องการความรวดเร็วในการทำกิจกรรมต่างๆ เมื่อทำเร็วขึ้นๆ จึงอาจหลงลืมตนเอง และสิ่งสำคัญในการดำเนินชีวิตบางอย่าง

หลักการพื้นฐานของ “คุณค่าแท้ คุณค่าเทียม”

วิธีคิดแบบคุณค่าแท้คุณค่าเทียม คือ การพิจารณาเกี่ยวกับการใช้สอยหรือบริโภค เป็นวิธีคิดเพื่อสกัดหรือบรรเทากิเลส ใช้มากในชีวิตประจำวันเพราะเกี่ยวข้องกับการบริโภคใช้สอยวัสดุอุปกรณ์อำนวยความสะดวกต่าง

คุณค่าแท้ หมายถึง คุณค่า หรือ ประโยชน์ ที่มนุษย์นำมาใช้แก้ปัญหาของตนเพื่อความดีงามความดำรงอยู่ด้วยดีของชีวืตหรือเพื่อประโยชน์สุขทั้งตนเองและผู้อื่น โดยอาศัยปัญญาเป็นเครื่องตีค่า

คุณค่าเทียม หมายถึง คุณค่า หรือประโยชน์ของสิ่งทั้งหลายที่มนุษย์พอกพูนให้แก่สิ่งนั้น เพื่อปรนเปรอการเสพเสวยเวทนา หรือเพื่อเสริมขยายความมั่นคงยิ่งใหญ่ของตัวตนที่ยึดถือไว้ โดยอาศัยตัณหาเป็นเครื่องตีค่า

                                                                                (พระพรหมคุณาภรณ์ ป.อ.ปยุตโต, 2551)

กล่าวโดยสรุป เป็นการพิจารณาถึงคุณค่าในการบริโภค หรือ การกระทำต่างๆ ว่าอะไร หรืออย่างไหนที่มีคุณค่าแท้(ต่อการดำเนินชีวิต) และอะไร หรืออย่างไหนที่มีคุณค่าเทียม ทั้งนี้คุณค่าแท้ มักจะเป็นสิ่งที่เกื้อกูลการดำเนินชีวิต เป็นสิ่งที่จำเป็นในการดำเนินชีวิต แต่คุณค่าเทียม เป็นสิ่งที่มักถูกปรุงแต่งขึ้น อาจเกื้อกูลต่อการดำเนินชีวิตและมักแฝงด้วยหลุพรางบางอย่าง เป็นสิ่งที่อาจจะไม่จำเป็นแต่ต้องการ

สถานการณ์ที่เกิดขึ้นปัจจุบัน

ระบบระเบียบ จริงๆแล้วเป็นสิ่งที่สำคัญพื้นฐานให้การอยู่ร่วมกันเป็นสังคม แต่เมื่อคนเราสร้างระบบระเบียบจากความต้องการให้เพิ่มขึ้นๆ(จากระบบระเบียบจากความจำเป็น) จึงทำให้นุษย์เริ่มถูกเปลี่ยนเป็นเครื่องจักรกลในการทำงาน เริ่มสูญเสียความเป็นมนุษย์ไป จากการทำงานที่มุ่งสร้างผลผลิตและความรวดเร็ว ดังจะเห็นได้จาก องค์การหลายๆองค์การทั้งภาครัฐ และเอกชน ตลอดจนระบบการศึกษาด้วย ที่มีระบบการทำงานที่มุ่งพัฒนาแต่นอก โดยจะเห็นได้จากการกำหนดKPI ที่เน้นการพัฒนาแต่ภายนอก อย่างไรก็ตาม ถ้าจะมองแต่ว่าเป็นความผิดของผู้บริหาร ก็คงจะไม่ใช่ เพราะจริงๆแล้วมาจากตัวผู้ปฏิบัติงานหรือตัวเราเองด้วยซึ่งอาจมองข้ามการเรียนรู้ภายในตัวเองไป ทำให้มุ่งชิงดีชิงเด่นไปกับระบบดังกล่าว เกิดเป็นความขัดแย้ง ที่เริ่มรุนแรงขึ้น และถ่ายทอดสู่ผู้เข้ามาใหม่จนกลายเป็นวัฒนธรรมที่ไม่ดี

ขอยกตัวอย่าง การศึกษาในสถาบันการศึกษา ซึ่งแน่นอน อาจารย์ย่อมอยากให้นักศึกษาเรียนดี มีคุณภาพ หรืออาจารย์บางท่านอาจจะชอบนักศึกษาที่เรียนเก่ง ให้ความสำคัญกับนักศึกษาที่เรียนเก่งบ้าง หรือ นักศึกษาที่คอยเอาใจบ้าง ซึ่งก็อาจเรียกว่าเป็นธรรมชาติของมนุษย์เรา ดังนี้หากผู้เรียนไม่รู้จักแยกคุณค่าแท้ คุณค่าเทียม อาจทำให้ยึดติดกับคะแนนรายงาน หรือคะแนนสอบมากเกินไป หรือยึดติดว่าจะต้องเป็นผู้ที่เด่นในที่นั้น ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาขึ้นในสังคมของการเรียน หากได้พิจารณาให้ดีๆ ควรจะถามตัวเองว่า

คุณค่าแท้ของการเรียนคืออะไร?

คุณค่าเทียมของการเรียนคืออะไร?

ซึ่งแต่ละคนอาจจะมีคำตอบไม่เหมือนกัน แต่ขอให้ทำความเข้าใจตัวเองให้ดีๆ สำหรับผม ผมตอบว่าคุณค่าแท้ คือ ความรู้ที่ได้รับ มองมุม ความคิด และการพัฒนาตัวเองทั้งภายนอกและภายใน ตลอดจนกัลยาณมิตร(เพื่อน) ที่ดี สังคมที่ดี และที่สำคัญที่สุดคือ ความสุข ในขณะที่คุณค่าเทียม คือ คะแนนการเรียน เกรด การเป็นที่หนึ่ง การที่จะต้องเด่นด้านใดด้านหนึ่ง หรือหลายๆด้าน ความเครียด อึดอัด อื่นๆ

                ฟังดูแล้วก็เหมือนไม่มีอะไร ถ้ามี 2 อย่างข้างต้นให้เลือก ใครๆก็คงจะเลือกอย่างแรกแน่นอน เพราะนี่เป็นการแจกแจงให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่าง 2 อย่าง อย่างชัดเจน แต่ในทางปฏิบัติจริง 2 อย่างนี้ติดอยู่ด้วยกันจนแทบจะแยกไม่ออกเลยทีเดียว ทั้งนี้ การศึกษาใจตนเองจึงเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เป็นเครื่องมือที่เราจะแยกว่าการกระทำของเราจริงๆนั้น มันตรงกับ คุณค่าแท้ หรือ คุณค่าเทียมกันแน่ หากเราเร่งปฏิบัติไปตามความเคยชิน ไปตามกระแสการดำเนินชีวิตต่างที่รวดเร็วอยู่ตลอดเวลา ไม่เคยให้เวลากับตัวเองในารทำความเข้าใจตัวเอง ็ยากที่จะแยก 2 สิ่งนี้ หรืออาจจะลืมนึกถึงไปเลยก็ได้ 

สรุป

            ขอให้ท่านผู้อ่านทุกท่าน ลองให้เวลากับตัวเองบ้างนะครับ ไม่ว่าจะเป็นการเรียน การทำงาน องสังเกตตัวเอง ่าที่กำลังทำอยู่นั้น เป็นการ serve คุณค่าแท้ หรือ คุณค่าเทียม การที่เราเห็นตัวเองนั้น ประโยชน์เบื้องต้นย่อมเกิดขึ้นแก่ตัวเอง เพราะ จะนำมาซึ่งสิ่งที่เกื้อกูลต่อการดำเนินชีวิตของตัวเอง และประโยชน์เหนือกว่านั้น คือ จะเป็นการสร้างสังคมที่ร่มเย็น สามารถจัดการกับความขัดแย้งต่างๆได้ด้วยดี      

อ้างอิง:

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต), (2551), พุทธธรรม, บริษัท สหธรรมิก จำกัด, หน้า694

 

หมายเลขบันทึก: 247253เขียนเมื่อ 9 มีนาคม 2009 13:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 19:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

ชอบบทความชิ้นนี้นะคะ

แต่ว่า มัน plain ไปอะ คือ ไม่มีจุดเด่น ในการตามเนื้อเรื่องค่ะ

เช่น หัวข้อใหญ่ - ย่อย เน้นสีอื่นๆ ในความคิดเห็นของเรา

เชื่อมั๊ยว่า พี่ต้องอ่านถึง 3 รอบ จึงจะหาเจอว่า อะไรคือ คุณค่าแท้ และเทียม ในความคิดเห็นของโสรจ ทั้งๆ ที่พี่เป็นคนชอบอ่านหนังสือ ซึ่งในการสื่อสาร (ทางบล็อค) อาจจะทำให้คนอื่น misunderstanding ไปได้อย่างง่ายๆ

พยายามต่อไปจ้า ^^

ขอบอกว่า พี่แอมมี่ ใช้ประโยชน์จากทั้งสองคุณค่านะคะ ทั้งแท้ และ เทียม เพราะค่อนข้างรู้จักตัวเอง และมีเป้าหมายในชีวิต (วิสัยทัศน์ SBP 712 ^^)

เท่าที่ไปสอนหนังสือมาหลายบริษัท หลายแห่ง หลายมหาวิทยาลัย

พบว่า ผู้ที่ไม่รู้จักแยกแยะคุณค่าแท้และคุณค่าเทียม ของการดำเนินชีวิต และคิดไม่เป็น

มักจะมีปัญหา และตกหลุมวังวนของอาชีพ และชีวิต

เรียน 25 ปี จนจบปริญญาโท สมัครงานได้งานทำ ---> จากนั้น

ตื่นเช้าไปทำงาน ทำงานที่ไม่ชอบ ไม่กล้าเรียกร้อง ทำตามๆ กันไป

เรียกร้องในสิ่งที่ไม่ถูกกาละเทศะ ติดละครและสารพัดเกาหลีที่ฉาบฉวย

ใช้เงินไม่เป็น ถ้าเก็บเงินได้จะซื้อบ้าน หรือไม่ก็ซื้อรถ (ผ่อน 15-30 ปี)

เก็บเงินแทบตาย ให้ลูกเรียน ตัวเอง ผ่อนบ้าน ผ่อนรถ กระเบียดกระเสียร

เกษียณออกมา เพิ่งผ่อนบ้านเสร็จ มีรถเก่าๆ คันนึง ยังไม่ได้เที่ยวเลย

จากรุ่นพ่อ สู่รุ่นลูก วนเป็น loop อยู่อย่างนั้น

มองไปอีกด้านนึง ---> มหาเศรษฐี อันดับที่ 1,2,3,.....

จบ บ้าง ไม่จบบ้าง

มีเงิน เอาไปลงทุน ไม่ชอบคิดเหมือนชาวบ้าน

แต่ทำงานหนักและอดออม หน้าด้าน แต่ก็กล้าหาญ และกล้าเสี่ยง

ทุกคนทำงานมาแต่อายุน้อยๆ และอ่านหนังสือมากมายกว่าคนกลุ่มบน

หลายคน ร่ำรวยร้อยล้าน ก่อนอายุ 30

หลายคน มีลูกน้องหลายคนที่จบ ระดับด๊อกเตอร์

ทุกคน มีรถมากกว่า 1 คัน บ้านมากกว่า 1 หลัง

แต่หลายคนที่เรารู้จัก ก็ใช้ชีวิตแบบเดิมๆ ไม่ฟุ้งเฟ้อ และรู้จักประหยัดในสิ่งที่ควรประหยัด

อะไรที่ทำให้คนสองกลุ่มนี้ ต่างกัน

Day dream + Execution = Success

ขอให้สอบ final exam ผ่านฉลุยจ้า

พบกับพี่แอมมี่คนสวยได้ที่

http://ammyweb.spaces.live.com

http://leadership.exteen.com

สุดยอดจริงๆ พุทธธรรม

สังคมเดี๋ยวนี้มองคุณค่าเทียมกันก็เยอะ

ดูจากการสมัครงานเห็นง่ายๆ กำหนดเกรดขึ้นมาในการรับคน

ซึ่งไม่ได้เห็นว่าผิด แต่ทั้งนี้เกรดก็ไม่ใช่ตัวตัดสินว่าบุคคลผู้นั้นจะทำงานได้ดี ตรงจุดนี้หลายท่านที่ได้มีโอกาสทำงานกับคนหลายๆแบบน่าจะให้ความเห็นได้

ผู้คนยึดติดกับ ยศถาบรรดาศักดิ์ ชาติตระกูล ความร่ำรวย ฯลฯ ซะจนบางทีก็ทำให้ละเลยที่จะมองลงไปว่าเนื้อแท้ของบุคคลนั้นๆเป็นอย่างไร ดูจากไฮโซ หรือ ไฮซ้อบางท่านที่ลงข่าวหน้าหนึ่งว่าโดนมิจฉาชีพหลอก~

เด็กมัธยมที่กำลังเอนทรานซ์ยึดติดกับสถาบันที่มีชื่อเสียงซะจนเข้าไม่ได้ถึงกับฆ่าตัวตายก็มีให้เห็นไป โดยที่ไม่ได้คิดย้อนไปนิดหนึ่งเลยว่าตัวเขานั้นมีความสามารถที่จะพัฒนาตัวเองไปได้อีกเยอะมากมายนักในอนาคตไม่ว่าเขาจะเรียนอยู่ที่ใดก็ตาม

สังคมเดี๋ยวนี้เป็นวัตถุนิยมมากขึ้น จนทำให้คนละเลยหลายๆสิ่งที่สำคัญ ละเลยที่จะมองอะไรให้ลึกลงไป แทนที่จะมองแต่เพียงผิว

นั่งมองดูแล้วก็อดเศร้าใจเล็กๆไม่ได้เหมือนกัน...

เรียนแทบตายไม่เห็นจะมีเลย

อยากได้ว่าการใช้โทรศัพท์มือถือคืออะไร

ในคุนค่าแท้ และคุนค่าเทียม

“คุณค่าแท้ คุณค่าเทียม” ในการดำเนินชีวิต

บทนำ

คุณค่าแท้ คุณค่าเทียม เป็นวิธีคิดหนึ่งใน “โยนิโสมนสิการ” ที่สำคัญและมีประโยชน์มาก แต่อาจจะเพราะหลักการพื้นๆของแนวคิด ทำให้ดูเหมือนจะเป็นสิ่งที่หลายๆคนมองข้ามไปในการดำเนินชีวิต การดำเนินชีวิตในสังคมปัจจุบันซึ่งมีความสับสนวุ่นวายมาก โดยเฉพาะการพัฒนาของระบบการเรียน การทำงาน และการทำกิจกรรมต่างๆ ตลอดจนเทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยอำนวยความสะดวก และช่วยให้การดำเนินการต่างๆ สะดวก รวดเร็วมากขึ้น ทั้งองค์การ ผู้บริหาร ผู้ปฏิบัติงาน ล้วนต้องการความรวดเร็วในการทำกิจกรรมต่างๆ เมื่อทำเร็วขึ้นๆ จึงอาจหลงลืมตนเอง และสิ่งสำคัญในการดำเนินชีวิตบางอย่าง

หลักการพื้นฐานของ “คุณค่าแท้ คุณค่าเทียม”

วิธีคิดแบบคุณค่าแท้คุณค่าเทียม คือ การพิจารณาเกี่ยวกับการใช้สอยหรือบริโภค เป็นวิธีคิดเพื่อสกัดหรือบรรเทากิเลส ใช้มากในชีวิตประจำวันเพราะเกี่ยวข้องกับการบริโภคใช้สอยวัสดุอุปกรณ์อำนวยความสะดวกต่าง

คุณค่าแท้ หมายถึง คุณค่า หรือ ประโยชน์ ที่มนุษย์นำมาใช้แก้ปัญหาของตนเพื่อความดีงามความดำรงอยู่ด้วยดีของชีวืตหรือเพื่อประโยชน์สุขทั้งตนเองและผู้อื่น โดยอาศัยปัญญาเป็นเครื่องตีค่า

คุณค่าเทียม หมายถึง คุณค่า หรือประโยชน์ของสิ่งทั้งหลายที่มนุษย์พอกพูนให้แก่สิ่งนั้น เพื่อปรนเปรอการเสพเสวยเวทนา หรือเพื่อเสริมขยายความมั่นคงยิ่งใหญ่ของตัวตนที่ยึดถือไว้ โดยอาศัยตัณหาเป็นเครื่องตีค่า

(พระพรหมคุณาภรณ์ ป.อ.ปยุตโต, 2551)

กล่าวโดยสรุป เป็นการพิจารณาถึงคุณค่าในการบริโภค หรือ การกระทำต่างๆ ว่าอะไร หรืออย่างไหนที่มีคุณค่าแท้(ต่อการดำเนินชีวิต) และอะไร หรืออย่างไหนที่มีคุณค่าเทียม ทั้งนี้คุณค่าแท้ มักจะเป็นสิ่งที่เกื้อกูลการดำเนินชีวิต เป็นสิ่งที่จำเป็นในการดำเนินชีวิต แต่คุณค่าเทียม เป็นสิ่งที่มักถูกปรุงแต่งขึ้น อาจเกื้อกูลต่อการดำเนินชีวิตและมักแฝงด้วยหลุพรางบางอย่าง เป็นสิ่งที่อาจจะไม่จำเป็นแต่ต้องการ

สถานการณ์ที่เกิดขึ้นปัจจุบัน

ระบบระเบียบ จริงๆแล้วเป็นสิ่งที่สำคัญพื้นฐานให้การอยู่ร่วมกันเป็นสังคม แต่เมื่อคนเราสร้างระบบระเบียบจากความต้องการให้เพิ่มขึ้นๆ(จากระบบระเบียบจากความจำเป็น) จึงทำให้มนุษย์เริ่มถูกเปลี่ยนเป็นเครื่องจักรกลในการทำงาน เริ่มสูญเสียความเป็นมนุษย์ไป จากการทำงานที่มุ่งสร้างผลผลิตและความรวดเร็ว ดังจะเห็นได้จาก องค์การหลายๆองค์การทั้งภาครัฐ และเอกชน ตลอดจนระบบการศึกษาด้วย ที่มีระบบการทำงานที่มุ่งพัฒนาแต่นอก โดยจะเห็นได้จากการกำหนดKPI ที่เน้นการพัฒนาแต่ภายนอก อย่างไรก็ตาม ถ้าจะมองแต่ว่าเป็นความผิดของผู้บริหาร ก็คงจะไม่ใช่ เพราะจริงๆแล้วมาจากตัวผู้ปฏิบัติงานหรือตัวเราเองด้วยซึ่งอาจมองข้ามการเรียนรู้ภายในตัวเองไป ทำให้มุ่งชิงดีชิงเด่นไปกับระบบดังกล่าว เกิดเป็นความขัดแย้ง ที่เริ่มรุนแรงขึ้น และถ่ายทอดสู่ผู้เข้ามาใหม่จนกลายเป็นวัฒนธรรมที่ไม่ดี

ขอยกตัวอย่าง การศึกษาในสถาบันการศึกษา ซึ่งแน่นอน อาจารย์ย่อมอยากให้นักศึกษาเรียนดี มีคุณภาพ หรืออาจารย์บางท่านอาจจะชอบนักศึกษาที่เรียนเก่ง ให้ความสำคัญกับนักศึกษาที่เรียนเก่งบ้าง หรือ นักศึกษาที่คอยเอาใจบ้าง ซึ่งก็อาจเรียกว่าเป็นธรรมชาติของมนุษย์เรา ดังนี้หากผู้เรียนไม่รู้จักแยกคุณค่าแท้ คุณค่าเทียม อาจทำให้ยึดติดกับคะแนนรายงาน หรือคะแนนสอบมากเกินไป หรือยึดติดว่าจะต้องเป็นผู้ที่เด่นในที่นั้น ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาขึ้นในสังคมของการเรียน หากได้พิจารณาให้ดีๆ ควรจะถามตัวเองว่า

คุณค่าแท้ของการเรียนคืออะไร?

คุณค่าเทียมของการเรียนคืออะไร?

ซึ่งแต่ละคนอาจจะมีคำตอบไม่เหมือนกัน แต่ขอให้ทำความเข้าใจตัวเองให้ดีๆ สำหรับผม ผมตอบว่าคุณค่าแท้ คือ ความรู้ที่ได้รับ มองมุม ความคิด และการพัฒนาตัวเองทั้งภายนอกและภายใน ตลอดจนกัลยาณมิตร(เพื่อน) ที่ดี สังคมที่ดี และที่สำคัญที่สุดคือ ความสุข ในขณะที่คุณค่าเทียม คือ คะแนนการเรียน เกรด การเป็นที่หนึ่ง การที่จะต้องเด่นด้านใดด้านหนึ่ง หรือหลายๆด้าน ความเครียด อึดอัด อื่นๆ

ฟังดูแล้วก็เหมือนไม่มีอะไร ถ้ามี 2 อย่างข้างต้นให้เลือก ใครๆก็คงจะเลือกอย่างแรกแน่นอน เพราะนี่เป็นการแจกแจงให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่าง 2 อย่าง อย่างชัดเจน แต่ในทางปฏิบัติจริง 2 อย่างนี้ติดอยู่ด้วยกันจนแทบจะแยกไม่ออกเลยทีเดียว ทั้งนี้ การศึกษาใจตนเองจึงเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เป็นเครื่องมือที่เราจะแยกว่าการกระทำของเราจริงๆนั้น มันตรงกับ คุณค่าแท้ หรือ คุณค่าเทียมกันแน่ หากเราเร่งปฏิบัติไปตามความเคยชิน ไปตามกระแสการดำเนินชีวิตต่างที่รวดเร็วอยู่ตลอดเวลา ไม่เคยให้เวลากับตัวเองในการทำความเข้าใจตัวเอง ก็ยากที่จะแยก 2 สิ่งนี้ หรืออาจจะลืมนึกถึงไปเลยก็ได้

สรุป

ขอให้ท่านผู้อ่านทุกท่าน ลองให้เวลากับตัวเองบ้างนะครับ ไม่ว่าจะเป็นการเรียน การทำงาน ลองสังเกตตัวเอง ว่าที่กำลังทำอยู่นั้น เป็นการ serve คุณค่าแท้ หรือ คุณค่าเทียม การที่เราเห็นตัวเองนั้น ประโยชน์เบื้องต้นย่อมเกิดขึ้นแก่ตัวเอง เพราะ จะนำมาซึ่งสิ่งที่เกื้อกูลต่อการดำเนินชีวิตของตัวเอง และประโยชน์เหนือกว่านั้น คือ จะเป็นการสร้างสังคมที่ร่มเย็น สามารถจัดการกับความขัดแย้งต่างๆได้ด้วยดี

ไม่ตรงตามประเด็น

หนุกมากกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกเลยล่ะ >o<

@ammy จิงคับ ผมก็เป็นแบบนั้นอยู่

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท