ศูนย์ข่าวพลเมือง ฅนคอน
นาย ทรงวุฒิ พัฒแก้ว ศูนย์ข่าวพลเมือง ฅนคอน พัฒแก้ว

ติดตามการเกิดนิคมอุตสาหกรรมปิโตรเคมีนครศรีธรรมราช ส่วนที่ ๒


ณะนี้มีการสำรวจโดยหลายบริษัท ซึ่งกระทรวงพลังงานได้เปิดเผยเมื่อ 26 กพ. 2551 ว่า มีแหล่งน้ำมันในอ่าวไทย 30 แหล่ง[1] กล่าวเฉพาะ บริษัท เชฟรอน พบว่า ปัจจุบันเชฟรอนมีแปลงสัมปทานครอบคลุมพื้นที่ทั้งสิ้นกว่า 36,000 ตารางกิโลเมตรในอ่าวไทย โดยปริมาณการผลิตในปัจจุบันมาจากพื้นที่ผลิตปิโตรเลียม 20 แห่ง ได้แก่ เอราวัณ บรรพต สตูล ปลาทอง กะพง ปลาแดง ฟูนาน โกมินทร์ จักรวาล สุราษฎร์ ปลาหมึก ตราด ยะลา ไพลิน ไพลินเหนือ ทานตะวัน เบญจมาศ มะลิวัลย์ จามจุรี และราชพฤกษ์ [2]

บทความ

ติดตามการเกิดนิคมอุตสาหกรรมปิโตรเคมีนครศรีธรรมราช

(ปรับปรุงครั้งที่ 2)

 

โดย กลุ่มศึกษาการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมปิโตรเคมีนครศรีธรรมราช

6 กุมภาพันธ์ 2552

สิ่งที่กำลังดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน

1.  การสำรวจแหล่งน้ำมัน

                ขณะนี้มีการสำรวจโดยหลายบริษัท    ซึ่งกระทรวงพลังงานได้เปิดเผยเมื่อ 26 กพ. 2551 ว่า มีแหล่งน้ำมันในอ่าวไทย 30 แหล่ง[1]   กล่าวเฉพาะ บริษัท เชฟรอน พบว่า ปัจจุบันเชฟรอนมีแปลงสัมปทานครอบคลุมพื้นที่ทั้งสิ้นกว่า 36,000 ตารางกิโลเมตรในอ่าวไทย  โดยปริมาณการผลิตในปัจจุบันมาจากพื้นที่ผลิตปิโตรเลียม 20 แห่ง ได้แก่ เอราวัณ บรรพต สตูล ปลาทอง กะพง ปลาแดง ฟูนาน โกมินทร์ จักรวาล สุราษฎร์ ปลาหมึก ตราด ยะลา ไพลิน ไพลินเหนือ ทานตะวัน เบญจมาศ มะลิวัลย์ จามจุรี และราชพฤกษ์   [2]

กระทรวงพลังงานยังได้วางโครงสร้างการใช้พลังงานในอนาคตของประเทศไทยถึงปี 2563 โดยวางยุทธศาสตร์ไว้ 3 เรื่องคือ 1.การใช้พลังงานให้มีประสิทธิภาพ 2. การจัดหาแหล่งพลังงาน 3. การสร้างมูลค่าให้กับทรัพยากรพลังงาน  หมายถึงอุตสาหกรรมปิโตรเคมี  ซึ่งมีแนวทาง 2 แนวทาง คือการเพิ่มมูลค่าก๊าซในอ่าวไทยเพื่อรองรับอุตสาหกรรมพื้นฐานและต่อเนื่อง และการขยายโรงกลั่นน้ำมันในประเทศโรงแยกก๊าซ/ระบบท่อ  และขยายระบบไฟฟ้า[3]

 

2. การขุดเจาะน้ำมันและการตั้งแท่นเจาะน้ำมัน

          ปัจจุบัน บริษัท เชฟรอน มีแท่นเจาะน้ำมันอยู่แล้ว 180 แท่น[4]

 

3. การสร้างระบบท่อส่งก๊าซ

                ปัจจุบันไทยมีระบบท่อส่งก๊าซทั้งบนบกและในทะเลอยู่แล้วรวมกัน 2,650 กิโลเมตร   โดยวางท่อไปขึ้นฝั่งที่ระยองและสงขลา  หลังจากนี้จะสร้างระบบท่อก๊าซเพิ่มเพื่อนำก๊าซมาขึ้นฝั่งที่บริเวณเซาเทิร์นซีบอร์ดที่กำลังจะเกิดขึ้นต่อไป ขณะนี้กำลังอยู่ในช่วงดำเนินการ

 

4. การตั้งฐานปฏิบัติการบนฝั่ง

          มีเป้าหมายเพื่อสนับสนุนแท่นขุดเจาะน้ำมันในทะเล  โดยต้องสร้างท่าเรือและสนามบิน

                4.1 การสร้างท่าเรือ  ขณะนี้ เชฟรอนกำลังดำเนินการสร้างท่าเรือและเก็บวัสดุอุปกรณ์บนเนื้อที่ประมาณ 300 ไร่ที่ปากน้ำคลองกลาย บ้านบางสาร ต.กลาย อ.ท่าศาลา

                4.2 การสร้างสนามบิน  ขณะนี้เชฟรอนกำลังดำเนินการสร้างสนามบินเพื่อการขนส่งของบริษัทที่สนามบินบ้านปากพูน   ซึ่งถ้าเปิดดำเนินการจะมีเครื่องบินขึ้นลงวันละ 28 เที่ยว

 

5. การสร้างโครงสร้างพื้นฐาน

                5.1 การสร้างถนนและรถไฟ

สร้างทางหลวงแผ่นดิน    44 (กระบี่ ขนอม) โดยการสร้างถนน 4 ช่องทางจราจร ยาว 133.85 กม. (สร้างเสร็จแล้ว) มีเขตทางกว้าง 200 เมตร เป็น ถนน 100 เมตร ทางรถไฟ 60 เมตร ระบบท่อส่งน้ำมัน 40 เมตร ปลายถนนเชื่อมคลังเก็บน้ำมันสำรองทั้ง 2 ฝั่งทะเล[5]   นอกจากนี้ยังจะสร้างเพิ่มเติมคือ

               

กรณีพื้นที่ ต.ทุ่งปรัง[6]

ทางรถไฟรางเดี่ยวขนานถนน # 44 แยกไป อำเภอสิชล ระยะทาง 70 กิโลเมตร

ทางรถไฟจาก อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช ไป อำเภอสิชล ระยะทาง 55 กิโลเมตร

ถนนสาย 4015     : ขยายเป็น 4 ช่องจราจร บ้านตาล เขตแขวงนครศรีธรรมราช 42 กิโลเมตร

ถนนสาย 408       :               ขยายช่องทาง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ อำเภอสทิงพระ 95 กิโลเมตร

                กรณีพื้นที่ ต.กลาย [7]

ถนนเชื่อม อ.บ้านนาเดิม และ อ.นาบอน หมายเลข 401

ขยายถนน 4015 จาก 2 ช่อง 4 ช่อง  เมืองนครฯ  อ.นาบอน (บ.ตาล) ระยะทาง 42 กิโลเมตร

ขยายถนน 408 ระยะ 95 กิโลเมตร   เมืองนครฯ  เมืองสงขลา / ท่าเรือน้ำลึก สงขลา

ตัดทางรถไฟรางเดี่ยว

อ.บ้านนาเดิม   อ.ท่าศาลา : 90 กิโลเมตร

อ.เมืองนครฯ   อ.ท่าศาลา : 35 กิโลเมตร

ค่าก่อสร้างระบบคมนาคม

อ.ท่าศาลา  อ.บ้านนาเดิม : 9,305 ล้านบาท

อ.ท่าศาลา   อ.นาบอน : 3,675 ล้านบาท

                5.2 การจัดหาน้ำ

                                เป็นการหาแหล่งน้ำดิบเพื่อให้เพียงพอใช้ในอุตสาหกรรมในพื้นที่โดยการสร้างเขื่อนกระจายหลายพื้นที่  โดยมีโครงการอ่างเก็บน้ำเขื่อนและการผันน้ำ[8] เช่น

เขื่อนคลองท่าทน อ.สิชล  จ.นครศรีธรรมราช

เขื่อนเก็บน้ำฝาย อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช

เขื่อนคลองกลาย อ.นบพิตำ จ.นครศรีธรรมราช

เขื่อนคลองลาไม อ.ชะอวด จ.นครศรีธรรมราช

เขื่อนคลองกระแดะ อ.กาญจนดิษฐ์ จ.สุราษฎร์ธานี

การผันน้ำจากเขื่อนรัชชประภา อ.ตาขุน จ.สุราษฎร์ธานี

การทดน้ำจากแม่น้ำพุมดวง อ.พุนพิน จ.สุราษฎร์ธานี

ฯลฯ

                5.3 การจัดหาพลังงานสำหรับนิคมอุตสาหกรรม

5.3.1  การสร้างโรงไฟฟ้า

                ทั้งกรณีพื้นที่ ต.ทุ่งปรังและ พื้นที่ ต.กลายจะเป็นการนำก๊าซที่ขุดเจาะมาได้มาผลิตเป็นไฟฟ้าใช้ในนิคมอุตสาหกรรมโดยมีความต้องการ ใน พ.ศ. 2561 จำนวน 190 เมกกะวัตต์ พ.ศ. 2571 จำนวน 380 เมกกะวัตต์ พ.ศ. 2581 จำนวน 570 เมกกะวัตต์[9]

                                5.3.2  การสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์

                กระทรวงพลังงานได้อ้างว่ามีความจำเป็นด้านพลังงานจึงทำให้ต้องสร้างโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ขนาด 4,000 เมกกะวัตต์ แผนการก่อสร้างจะเริ่มใน พ.ศ. 2563  โดยมีพื้นที่เป้าหมายคือ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช   ระนอง    เพื่อสำรองไว้รองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรม  โดยเฉพาะโครงการเซาเทิร์นซีบอร์ด  ซึ่งการเตรียมการขั้นตอนต่างๆ  ใช้เวลา 6 ปี   ก่อสร้าง 7 ปี[10]

                สำหรับในจังหวัดนครศรีธรรมราช   คณะสำรวจความเหมาะของพื้นที่การก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์นำโดยพลอากาศเอกพิเนต ศุกรวรรณได้กำหนดเป้าหมาย 3 อำเภอคือ ขนอน สิชล ท่าศาลา  รวม 5 จุด    ใช้เวลาดำเนินการขุดสำรวจ 7-10 วันต่อหลุม    พร้อมทั้งประชาสัมพันธ์แจ้งให้ประชาชนรับทราบ[11]

 

6. การสร้างโรงกลั่น  โรงแยกก๊าซ

                กรณีพื้นที่ ต.สิชลได้เตรียมพื้นที่ไว้คือ[12]

                โรงกลั่น-ถังเก็บ 3,900 ไร่

                โรงแยกก๊าซ ปิโตรเคมี 6,000 ไร่

กรณีพื้นที่ ต.กลาย ก็คงไม่แตกต่างกับพื้นที่ ต.สิชลมากนัก        

 

7. การสร้างการสร้างท่าเรืออุตสาหกรรม

                กรณีพื้นที่ ต.ทุ่งปรัง กรณีพื้นที่ ต.กลาย บริษัทที่ปรึกษาได้ระบุไว้ว่าจะสร้างตามแบบที่เคยมีการศึกษาไว้แล้วที่ ต.ทุ่งไส อ.สิชล ในรายงานการศึกษาโครงการ Fesibility Study on the Southern Seaboard Port and Industrial Complexs Development Project โดย Moffatt & Nichol Int et. Al.(1998)[13]

 

8. การดำเนินอุตสาหกรรมปิโตรเคมี / อุตสาหกรรมเหล็กต้นน้ำ / อุตสาหกรรมการเกษตร

                บริษัทที่ปรึกษาได้ระบุพื้นที่ ต.ทุ่งปรังไว้คือ[14]

พื้นที่ท่าเรือและปิโตรเคมี

1. โรงกลั่น ถังเก็บ 3,900 ไร่

2. โรงแยกก๊าซ ปิโตรเคมี6.000 ไร่

3. เคมีภัณฑ์750ไร่

4. พลังงานทดแทน750ไร่

5. ระบบสาธารณูปโภค5,700ไร่

6. พื้นที่สีเขียว ~ พื้นที่กันชน1,900ไร่

รวม19,000 ไร่

พื้นที่นิคมอุตสาหกรรมเกษตร

1. ผลิตภัณฑ์ยาง1,500ไร่

2. ประมง300ไร่

3. อุตสาหกรรมอื่น ๆ1,500 ไร่

4. พื้นที่ระบบสาธารณูปโภคส่วนกลาง1,650ไร่

5. พื้นที่สีเขียว ~ พื้นที่550 ไร่  

รวม 5,500 ไร่

 

ส่วน ต.กลายคงจะไม่แตกต่างกันนัก



[1] กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กระทรวงพลังงาน ใน www.energy.go.th

[2] www.chevronthailand.com

[3] กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กระทรวงพลังงาน ใน www.energy.go.th

[4] www.chevronthailand.com

[5] บริษัททีมคอนซัลติ้ง เอนจีเนียริ่ง แอนด์ แมเนจเมนท์ จำกัด รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 3 โครงการศึกษาการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมเพื่อรองรับการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ มิถุนายน 2551. อ้างใน อเนก นาคะบุตร ทางเลือกที่ 1 ต.ทุ่งปรัง อ.สิชล จ.นครศรีธรรมราช เอกสารประกอบการบรรยาย ,2551,หน้า 2.           

[6] บริษัททีมคอนซัลติ้ง เอนจีเนียริ่ง แอนด์ แมเนจเมนท์ จำกัด รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 3 โครงการศึกษาการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมเพื่อรองรับการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ มิถุนายน 2551.,หน้า 5-6 ถึง 5-10.

[7] บริษัททีมคอนซัลติ้ง เอนจีเนียริ่ง แอนด์ แมเนจเมนท์ จำกัด รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 3 โครงการศึกษาการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมเพื่อรองรับการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ มิถุนายน 2551. อ้างจาก อเนก นาคะบุตร แผนแม่บทอุตสาหกรรมและการท่าเรือภาคใต้,2551,หน้า 2.

 

[8] บริษัททีมคอนซัลติ้ง เอนจีเนียริ่ง แอนด์ แมเนจเมนท์ จำกัด รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 3 โครงการศึกษาการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมเพื่อรองรับการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ มิถุนายน 2551.บทที่ 3 หน้า 117-122.

[9] บริษัททีมคอนซัลติ้ง เอนจีเนียริ่ง แอนด์ แมเนจเมนท์ จำกัด รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 3 โครงการศึกษาการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมเพื่อรองรับการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ มิถุนายน 2551. อ้างจาก อเนก นาคะบุตร แผนแม่บทอุตสาหกรรมและการท่าเรือภาคใต้,2551,หน้า 5-21 , 5-22 ,5-127.

[10] หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 27 ฉบับที่ 2249 วันที่ 2-5 กันยายน 2550 หน้า 45.

[11] อุไรวรรณ สุภาแดง  ข่าวสำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดนครศรีธรรมราช  17 ธันวาคม 2551.อ้างใน www.nakhonsithammarat.go.th

[12] บริษัททีมคอนซัลติ้ง เอนจีเนียริ่ง แอนด์ แมเนจเมนท์ จำกัด รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 3 โครงการศึกษาการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมเพื่อรองรับการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ มิถุนายน 2551. อ้างจาก อเนก นาคะบุตร ทางเลือกที่ 1 ต.ทุ่งปรัง อ.สิชล จ.นครศรีธรรมราช,2551,หน้า 5-3,5-10.

[13] บริษัททีมคอนซัลติ้ง เอนจีเนียริ่ง แอนด์ แมเนจเมนท์ จำกัด รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 3 โครงการศึกษาการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมเพื่อรองรับการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ มิถุนายน 2551. หน้า 5-5,5-6.

[14] บริษัททีมคอนซัลติ้ง เอนจีเนียริ่ง แอนด์ แมเนจเมนท์ จำกัด รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 3 โครงการศึกษาการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมเพื่อรองรับการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ มิถุนายน 2551. หน้า 5-2.

 

หมายเลขบันทึก: 246852เขียนเมื่อ 7 มีนาคม 2009 09:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 17:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท