Airport Planning


การวางแผน การบริหาร ท่าอากาศยาน

Airport Planning

        ก่อนอื่น เราต้องทราบความหมายของ ท่าอากาศยานก่อน ซึ่งได้มีนักวิชาการได้ให้ความหมาย  ไว้ดังนี้

English-Thai: NECTEC's Lexitron Dictionary

        airport n. สนามบิน Syn. airdrome,airfield,aerodrome Related. ท่าอากาศยาน

Thai-English: NECTEC's Lexitron Dictionary

        สนามบิน n. airport Class. แห่ง Syn. ท่าอากาศยาน Related. airfield,landing strip,landing ground Def. ที่สำหรับเครื่องบินขึ้นลง ประกอบด้วยลานจอดเครื่องบิน ลู่เครื่องบินขึ้นลง โรงเก็บอุปกรณ์การบิน หอบังคับการบิน ที่ทำการของเจ้าหน้าที่ และที่พักผู้โดยสารเข้าออก Sample: ใครที่มีบ้านอยู่ใกล้ๆ สนามบินก็ต้องชินกับเสียงดังของเครื่องบินอยู่ตลอด ท่าอากาศยาน n. airport Class. แห่ง Syn. สนามบิน Def. ที่สำหรับเครื่องบินขึ้นลง ประกอบด้วยลานจอดเครื่องบิน ลู่เครื่องบินขึ้นลง โรงเก็บอุปกรณ์การบิน หอบังคับการบิน ที่ทำการของเจ้าหน้าที่ และที่พักผู้โดยสารเข้าออก Sample: เครื่องบินโดยสารไอพ่นของสายการบินต่างประเทศ บินชนโรงงานทอผ้าใกล้ท่าอากาศยานกรุงเทพฯ

ท่าอากาศยาน คือ สถานที่บนพื้นดินหรือบนพื้นน้ำ ที่ใช้เป็นที่ขึ้นและลงของเครื่องบิน เพื่อรับส่งผู้โดยสาร สัมภาระสินค้า ไปรษณียภัณฑ์ ฯลฯ และในท่าอากาศยานจะมีอาคารและอุปกรณ์อำนวยความสะดวกที่จะให้บริการแก่เครื่องบิน ผู้โดยสาร การขนส่งสัมภาระไปรษณียภัณฑ์ หรืออาจกล่าวได้อีกคำนิยามหนึ่งว่า ท่าอากาศยาน คือสถานที่ซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างการขนส่งทางอากาศและภาคพื้นดิน

airport (แอร์พอร์ท) n. ท่าอากาศยาน 

    คนทั่วไปมักเรียก ท่าอากาศยาน ว่า สนามบิน ซึ่งคำทั้งสองคำนี้มีความหมายเหมือนกัน ต่างกันที่คำว่า "ท่าอากาศยาน" ได้มีการระบุใช้ในพระราชบัญญัติศุลกากร ฉบับที่ ๘ พ.ศ.๒๔๘๐ ส่วนคำว่า "สนามบิน" เป็นคำที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการเดินอากาศ สำหรับภาษาอังกฤษที่ใช้เรียกท่าอากาศยาน โดยทั่วไปใช้คำว่า AIRPORT แต่ทางด้านวิชาการของการขนส่งทางอากาศ จะใช้คำว่า AERODROEM (http://www.kanchanapisek.or.th/kp6/BOOK22/chapter9/t22-9-l1.htm ; online 4 March 2009)

เนื่องจากประเทศไทยมีสภาพที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ที่เหมาะสมในการเป็นชุมทางการบิน ประกอบกับมีสถานที่ท่องเที่ยวที่สวยงาม เป็นที่นิยมของคนทั่วโลก นอกจากนี้ยังเป็นประเทศที่มีนโยบายเศรษฐกิจเสรี ทำให้มีผู้มาลงทุนทำกิจการต่างๆ หลายด้าน ท่าอากาศยานจึงเป็นสถานที่ที่มีบทบาทสำคัญเพราะท่าอากาศยานจะทำหน้าที่เสมือนเป็นสะพานเชื่อมระหว่างประเทศ เพื่อการแลกเปลี่ยนทางเศรษฐกิจ วัฒนธรรม และเทคโนโลยี ดังนั้น ในปัจจุบันจึงมีท่าอากาศยานซึ่งใช้สนับสนุนกิจการพาณิชย์อยู่ทุกภาคของประเทศไทย ซึ่งท่าอากาศยานแต่ละแห่งจะมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อเศรษฐกิจในภูมิภาคหรือในจังหวัดที่ท่าอากาศยานนั้นๆ ตั้งอยู่

ก่อนที่จะทำการสร้างท่าอากาศยานใหม่ขึ้นมา  ต้องมีการวางแผนในการสร้างท่าอากาศยานเพื่อให้สามารถบริการผู้ใช้บริการอย่างมีประสิทธิภาพ  ซึ่งมีขั้นตอนสำคัญในการวางแผนจัดสร้างท่าอากาศยานขึ้นมาใหม่อยู่  3  ขั้นตอนคือ 

ขั้นตอนที่  1  ขั้นการศึกษาความเหมาะสมในการจัดสร้างท่าอากาศยานใหม่ 

            ขั้นตอนที่  2  ขั้นการศึกษาความเป็นไปได้ของที่ตั้งท่าอากาศยานมาใหม่ 

ขั้นตอนที่  3  ขั้นวางแผนก่อสร้างท่าอากาศยานใหม่

 

(บุญเลิศ  จิตตั้งวัฒนา, 2551: 121-122)

หมายเลขบันทึก: 246388เขียนเมื่อ 5 มีนาคม 2009 00:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 21:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท