พุทธสังเวชนียสถาน (ตอนที่ ๒๓) ลัฏฐิวันปัจจุบัน


พุทธสังเวชนียสถาน (ตอนที่ ๒๓) ลัฏฐิวันปัจจุบัน



      ลัฏฐิวัน มีสภาพเป็นวัดในพระพุทธศาสนาในกาลต่อมาหลังพุทธปรินิพพานแล้ว สมัยพระถังซำจั๋งเดินทางจาริก แสวงบุญจากประเทศจีน เพื่อศึกษาพระธรรมวินัย ในอินเดีย เดินทางมาถึงที่นี่ เมื่อ พ.ศ. 1165 ได้พบกับพระอารามขนาดใหญ่ และสถูปขนาดใหญ่ ประดิษฐานที่ลัฏฐฺวันนี้ด้วย เรียกว่า สถูปสุปติฏฐะ หรือ สุปติฏฐานเจดีย์


   นอกจากนั้นยังมีพระเถระนักปราชญ์ในที่นี้ เป็นพระติปิฎกธร ทรง พระไตรปิฎกนามว่า พระชัยเสน หรือ ชยเสนา พระถังซำจั๋งได้อยู่ศึกษากับท่านที่นี่เป็นเวลา 2 ปี นอกจากนั้นไม่ไกลท่านยังได้เห็นพระพุทธรูปยืนสูง30 เมตร ทำมาจากทองแดง ประดิษฐานในวิหารที่สูง 6 ชั้น สร้างโดยพระเจ้า ปูรณะวรมันอีกด้วย

    หลังจากนั้นในราวๆ พ.ศ. 1700 เศษ กองทัพต่างชาติต่างศาสนา ได้บุก เข้าอินเดีย บริเวณลัฏฐิวันก็ถูกทำลายด้วย แต่ก็ยังมีซากหลักฐานบางอย่าง หลงเหลือให้เห็น มีพระพุทธรูปใหญ่องค์หนึ่งยังมีอยู่ แสดงว่าถูกทำลายไม่หมด

        ปัจจุบัน ลัฏฐิวันเรียกว่า เจเที่ยน (jethian) คำว่าเจเที่ยนนี้ไม่ทราบว่า มาจากคำอะไร ชาวบ้านบริเวณนั้นก็ไม่ทราบ แสดงว่าเป็นคำที่ตั้งขึ้นมาใหม่ การเดินทางสู่ลัฏฐิวัน ใช้เส้นทางจากประตูทางเข้าเมืองราชคฤห์ (ปัจจุบันเรียก ราชเกอร์) จากประตูพิมพิสารเลี้ยวไปทางซ้ายมือ ไปตามทางถนนราดยางข้างภูเขาในสภาพดี ระยะทางราวๆ 15 กิโลเมตร จะถึงลัฏฐิวัน หรือเจเที่ยน

    ในบริเวณลัฏฐิวัน มีสิ่งปลูกสร้างขึ้นใหม่เป็นอนุสรณ์ เช่นศาลาขนาดเล็ก สไตล์ญี่ปุ่น สร้างโดย สมาคมยุวพุทธโคชิของญี่ปุ่นโดยท่านซาโตริ ฮานาโอกะ ท่านเคนจิ ฮายาเสะ และเคนริว อิโตะ ได้มาสร้างไว้เมือ พ.ศ. 2542 ภายในมีพระพุทธรูปที่ย้ายมาจากข้างสระน้ำ เป็นพระพุทธรูปหินสีดำสมัยปาละ และเป็นพระพุทธรูปที่หลงเหลือจากการถูกทำลายเมื่อปี พ.ศ. 1700 เศษ


    นอกจากสิ่งปลูกสร้างดังที่กล่าวมา ลัฏฐิวันไม่หลงเหลือซากโบราณสถานอะไรมากนัก นอกจากศาลาญี่ปุ่นก็มีโรงเรียน ของหมู่บ้านนั้นชื่อว่า นโวทัยวิทยาลัย ด้านในโรงเรียนมีพระพุทธรูปตั้งอยู่ด้วย คงจะเป็นพระพุทธรูปที่หลงเหลืออยู่ใน บริเวณนี้

         ที่ควรทราบเพิ่มเติมก็คือ บริเวณห่างจากลัฏฐิวันไปราวๆ 3 กิโลเมตร บนเทือกเขาอิสิคิลิมีถ้ำขนาดใหญ่อยู่ แต่ยังไม่ทราบชัดว่าอะไร ชาวบ้านเรียกว่า       ถ้ำราชปิน สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นถ้ำกาฬสิลา ที่ๆพระโมคคัลลานะนิพพานก็เป็นได้ สภาพไม่สูงชันนัก เดินขึ้นเขาไปราวๆ 30 นาที ภายในถ้ำใหญ่กว่าถ้ำสัตตบรรณคูหา สถานที่แสดงปฐมสังคายนาบ้างเล็กน้อย ชาวบ้านในบริเวณนั้นใช้เลี้ยงวัว

                                                                                          โปรดติดตามตอนต่อไป

 

หมายเลขบันทึก: 246206เขียนเมื่อ 4 มีนาคม 2009 11:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดียามเ ที่ยงครับ กอก้าน>>>ก้านกอ*:)*(แก๊งค์ก้านคอพับ)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท