การจัดการความรู้ในโรงเรียนบ้านหนองยาง


การจัดการความรู้ในโรงเรียนบ้านหนองยาง

การจัดการความรู้ในโรงเรียนบ้านหนองยาง
                                                                                                                             กันตพงศ์  คงหอม

                คุณภาพการจัดการศึกษาของเรานั้น  ถูกมองว่าปฏิรูปแล้วก็ยังไม่ได้ผลเป็นรูปธรรมอีกทั้งไม่สามารถตอบสนองเท่าทันการเปลี่ยนแปลงของสังคมได้  ปัจจัยหลักที่สำคัญสุดคือครู  การได้มาของครูในประเทศไทยเรานั้นไม่ได้มาจากกลุ่มของคนเก่งที่สุดในประเทศ  เพราะคนเก่งเป็นผู้ที่มีความสามารถในการจัดการความรู้และสะท้อนเป็นรูปธรรมในเชิงการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
                ฉะนั้นหากปัจจัยของครูซึ่งเป็นตัวป้อนกระบวนการและจัดการเรียนรู้ไม่ใช่คนเก่ง  จากงานวิจัยพบว่านักเรียนคะแนนเฉลี่ยปานกลาง เมื่อได้เรียนกับครูที่เก่งผลการเรียนก็จะเพิ่มขึ้น  และเรียนกับครูที่เก่งน้อยผลการเรียนจะลดลง  ดูง่าย ๆ ก็คือว่า  ครูผู้สอนในวิชาหรือสาระใดที่ทดสอบความรู้ในสาระนั้นแล้วได้น้อย  ก็ยากที่จะสอนนักเรียนให้เก่งไปมากขึ้นได้  ถึงแม้จะมีคำกล่าวว่าครูคือผู้จัดการเรียนรู้ในชั้นเรียนแต่ถ้าไม่แม่นในเนื้อหาวิชา  การจัดการเรียนรู้ก็ไม่เอื้อต่อความเป็นเลิศทางวิชาการ
                การเพิ่มสมรรถนะของครูให้เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้คือแนวทางในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา  ซึ่งผู้บริหารต้องใช้ความสามารถในการบริหาร  ให้เกิดกระบวนการจัดการความรู้ให้เป็นรูปธรรม  ซึ่งเป็นเรื่องที่ผู้บริหารต้องหาวิธีการ  หากพูดให้ชัดคือผู้บริหารก็ต้องเก่งพอ  ถ้าไม่เช่นนั้นคงไปจัดระบบการจัดการความรู้ในโรงเรียนได้  หลายคนบอกว่าเมื่อทำเองไม่ได้ก็ให้ผู้มีความรู้มาเป็นวิทยากรในเรื่องของการจัดการความรู้  ซึ่งก็ได้ผลในระดับหนึ่ง  แต่ถ้าจะให้เห็นผลเป็นรูปธรรมและยั่งยืน  ผู้อำนายการต้องแสดงบทบาทของผู้นำทางวิชาการและให้เห็นคุณค่าของการจัดการเรียนรู้  ผ่านกระบวนการทางการศึกษาที่ทำอยู่แล้วคือรูปแบบของการนิเทศ  ซึ่งระบบของการนิเทศจะสะท้อนข้อมูลของครูชัดเจน  ส่วนกระบวนการในการพัฒนาขึ้นอยู่กับบริบท  หากจำนวนครูไม่มากก็แลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายใน  หรือหากความรู้ในบางแขนงต้องการผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน  ก็ควรจัดให้มีกิจกรรมพัฒนาอย่างเป็นระบบ  โดยพิจารณาครูที่มีประสบการณ์และประสบความสำเร็จจากโรงเรียนใกล้เคียง มาเป็นวิทยากรก็น่าจเสริมสร้างสมรรถนะของคนในองค์กรและผู้บริหารคงไม่ลืมพัฒนาสมรรถนะการจัดการความรู้ของตนเองให้เป็นแบบอย่างคนในองค์กรต่อไป

หมายเลขบันทึก: 245775เขียนเมื่อ 2 มีนาคม 2009 05:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 05:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

การจัดการความรู้ เป็นสิ่งที่ดีหากหน่วยงาน หรือสถานศึกษานำมาใช้อย่างจริงจัง  การจัดการความรู้มีหลักการง่าย ๆ คือ share and share โดยเริ่มจาก 1. Knowledge Acquisition (การจัดหาความรู้) 2. Knowledge Storage and Retrieval (การจัดเก็บและค้นคืนความรู้) 3.Knowledge Usage (การใช้ความรู้) 4. Knowledge Transfer (การแบ่งปันความรู้) 5. New Knowledge creation (การสร้างความรู้ใหม่) และใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีพื้นฐาน หรือเทคดนโลยีที่ทันสมัย เข้ามาเป็นเครื่องมือช่วยในการจัดการ (Management) ให้เหมาะสมกับบริบทของหน่วยงาน ก็หวังว่าการจัดการความรู้ในโรงเรียนบ้านหนองยาง คงจะประสบความสำเร็จ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท