บทความทางวิชาการ


บทความทางวิชาการ

บทความทางวิชาการ

 

                                          สารสนเทศกับการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา  

              

                               สารสนเทศที่จำเป็นต่อการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษามี  4   ระบบ  ประกอบด้วยระบบสารสนเทศพื้นฐานของสถานศึกษา  ระบบสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับผู้เรียน   ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารวิชาการและระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ   ผู้บริหารสถานศึกษาต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบสารสนเทศดังกล่าวเป็นอย่างดี  และนำมาใช้ในการวางแผนดำเนินงานเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้มีคุณภาพมาตรฐาน   ไม่ว่าจะเป็นการศึกษาในระบบโรงเรียน นอกระบบโรงเรียน และการศึกษาตามอัธยาศัย   ข้อมูลสารสนเทศเป็นสิ่งสำคัญประการแรกที่ผู้บริหารต้องให้ความสำคัญ   เป็นข้อมูลพื้นฐานของการนำไปสู่คุณภาพการศึกษานั่นเอง

 

 

การจัดการความรู้นำสู่การประกันคุณภาพการศึกษา

               

                                 การประกันคุณภาพการศึกษาเป็นกระบวนการเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาให้ได้คุณภาพมาตรฐาน  เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง   ฉะนั้น  การจัดการความรู้ที่เกี่ยวกับการประกันคุณภาพการศึกษาจึงเป็นพื้นฐานทางความคิดที่ทุกฝ่ายจะต้องรู้และนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์                 การจัดการความรู้มีความเชื่อมโยงกับการประกันคุณภาพการศึกษา  กระบวนการจัดการเรียนรู้จะเชื่อมโยงกับมาตรฐานด้านการบริหาร   ด้านการจัดการเรียนการสอน   และด้านคุณภาพผู้เรียน   ตลอดจนใช้กระบวนการคิดวิเคราะห์ในการทำกิจกรรมร่วมกับชุมชน  ผลแห่งการจัดการพัฒนากระบวนการจัดการความรู้แก่ครู  ผู้เรียน ผู้ปกครอง  ชุมชนและผู้เกี่ยวข้องอย่างมีประสิทธิภาพ  จึงเป็นแนวทางหนึ่งในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาโดยตรง ซึ่งจะช่วยยกระดับมาตรฐานของสถานศึกษา  ซึ่งเป็นการประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษานั่นเอง 

 

 

                                     ผู้บริหาร : ผู้นำการเปลี่ยนแปลง

ในการบริหารงานของโรงเรียนเพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง   โรงเรียนต้องมีหลักการ  แนวคิด  ทิศทางในการพัฒนางานโรงเรียน  บุคลากรในโรงเรียนมีส่วนร่วม  กำหนดแนวคิด  ทิศทางในการปรับปรุงโรงเรียน  มีการจัดกิจกรรมโครงการในการพัฒนางาน  พัฒนาคน  สอดคล้องกับแนวคิด  ทิศทาง  ในการปรับปรุงพัฒนาโรงเรียน  มีการทำงานเป็นทีม  โดยมีการทำงานเป็นคณะบุคคล  มีปฏิสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่างทีมงาน  เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดของงาน  มีการถ่วงดุลอำนาจ โดยการควบคุมภายใน  มีการบริหารจัดการความเสี่ยง  มีการประเมินผลการปฏิบัติงานและรายงานผลการปฏิบัติงานและนำเสนอต่อสาธารณะชน  มีการร่วมมือและการมีส่วนร่วม  ของคณะกรรมการสถานศึกษาในการพัฒนาสถานศึกษาและผู้มีส่วนได้เสียในการสนับสนุนและจัดการศึกษาของโรงเรียน  ครู  นักเรียน  มีการทำกิจกรรมร่วมกับชุมชน  ผู้บริหารใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการ   ภาระหน้าที่สำคัญจึงเป็นของผู้บริหารโรงเรียนซึ่งจะต้องเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง    โดยร่วมมือกันทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษาในการวางกลยุทธ์นำพาสถานศึกษาสู่เป้าหมายให้ได้

 

หมายเลขบันทึก: 245588เขียนเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2009 22:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 05:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท