เรื่องสั้นเชิงการบริหารจัดการ


เรื่องสั้นเชิงการบริหารจัดการ

 เรื่องสั้นเชิงการบริหารจัดการ

 

เรื่อง กุญแจของนายท่านอยู่ไหน

 มีเรื่องเล่าต่อ ๆ กันมาว่า  มีครูชายหนุ่มคนหนึ่งกำลังเดินทางกลับบ้านหลังจากเลิกงานตอนค่ำ  ขณะที่เดินอยู่เขาพบว่า  ที่ข้างถนนมีผู้บริหารสถานศึกษาชายสองคน  แต่งตัวใส่สูทดูท่าทางภูมิฐาน  กำลังก้มหน้าก้มตาขะมักเขม้นมองหาอะไรบางอย่างอยู่ที่พื้นใต้แสงไฟริมทางเดินอย่างเอาจริงเอาจัง  ทั้งๆที่ใต้แสงไฟนั่นเขาก็มองไม่เห็นว่าจะมีอะไร  ด้วยความแปลกใจ  ครูชายหนุ่มจึงเดินเข้าไปหาผู้บริหารสถานศึกษาชายทั้งสอง  แล้วถามขึ้นด้วยความสงสัยว่า

                        พวกท่านกำลังหาอะไรกันหรือ ”... ครูชายหนุ่มถาม

                        ผู้บริหารสถานศึกษาชายทั้งสองตอบเราได้ทำกุญแจรถตกหาย 

                        ครูชายหนุ่มช่วยมองหาโดยรอบก็ไม่เห็นมี  แต่ยังเห็นผู้บริหารสถานศึกษาชายทั้งสองคนยังคงก้มหน้าก้มตามองหา  แถมยังเอามือควานสะเปะสะปะไปทั่ว  จึงเอ่ยถามต่อว่า

                          แล้วรถของท่านอยู่ที่ไหนล่ะ  ”...

                          อ๋อ  รถเราจอดอยู่ห่างจากถนนนี้ไปประมาณ  50  หลา...    ผู้บริหารชายทั้งสองตอบ

                          แล้วทำไมพวกคุณถึงได้มาหากุญแจแถวนี้ล่ะ...    ครูชายหนุ่มถามต่อ

                        ก็บริเวณที่จอดรถมันมืดมองอะไรไม่ค่อยเห็น  แต่ที่ตรงนี้มีแสงจากหลอดไฟข้างถนน  น่าจะหากุญแจได้ง่ายกว่า 

                        ครูชายหนุ่มได้  งง  งง  งง...  แล้วก็เดินจากไปพร้อมกับความคับข้องใจ

จากเรื่องสั้นเชิงการบริหาร

ถ้าหากกุญแจ คือยุทธศาสตร์ในการนำพาสถานศึกษา ไปสู่เป้าหมาย  เรื่อง   ดังกล่าวได้สะท้อนพฤติกรรมการบริหารจัดการอย่างไรบ้างเกี่ยวกับความป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง

                ในกรณี กุญแจ คือยุทธศาสตร์ในการนำพาสถานศึกษาไปสู่เป้าหมาย   แสดงให้เห็นว่า ผู้บริหารทั้งสอง ขาดการนำข้อมูลมาใช้ในการแก้ปัญหา ขาดยุทธศาสตร์ในการนำองค์กรสู่เป้าหมาย  หรือดำเนินการบริหารโรงเรียนโดยจัดทำยุทธศาสตร์เฉพาะในประเด็นที่มองเห็นว่ามีโอกาสในการดำเนินงานแล้วประสบความสำเร็จ ไม่มีอุปสรรคในการทำงาน ส่วนการบริหารงานที่คิดว่ามีปัญหาจะหลีกเลี่ยงในการดำเนินงานปล่อยให้เป็นหน้าที่ของครูหรือบุคลากรในโรงเรียน

                ในด้านการกำหนดยุทธศาสตร์การบริหารโรงเรียน ผู้บริหารทั้งสองท่าน ไม่ได้ดำเนินการวิเคราะห์สภาพปัญหาที่เกิดขึ้นจริง หรือ ไม่ได้จัดทำการวิเคราะห์สภาพของโรงเรียน (SWOT) จึงทำให้ไม่สามารถกำหนดยุทธศาสตร์ในการพัฒนาโรงเรียนได้ตรงกับสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นซึ่งเป็นพฤติกรรมการบริหารแบบไม่เปลี่ยนแปลง ไม่สอดคล้องกับสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นของโรงเรียน

เรื่องสั้นเชิงการบริหารจัดการดังกล่าวช่วยให้นักศึกษาเกิดแนวความคิดเกี่ยวกับการจัดการนวัตกรรมและสารสนเทศอย่างไรบ้าง จงอธิบายรายละเอียด

แนวคิดในการจัดการนวัตกรรมและสารสนเทศ  เป็นการจัดการโดยนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการจัดระบบข้อมูล เพื่อกำหนดยุทธศาสตร์  ในทางปฏิบัติ สิ่งที่ผู้บริหารต้องการเพื่อให้สามารถปฏิบัติงานของตนให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว คือ การมีข้อมูลที่ถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และเอื้อต่อการนำมาประเมินในขั้นวิเคราะห์และสังเคราะห์ต่อไป  ที่ผ่านมา ผู้บริหารการศึกษาทุกระดับได้พยายามให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่จำเป็นและสำคัญต่อการตัดสินใจ และ การวางแผนการศึกษา  แต่คงไม่สามารถปฏิเสธว่าอุปสรรคต่อการดำเนินการคือ ความเป็นปัจจุบันของข้อมูล ความหลากหลายและปริมาณ ข้อมูลที่มีมาก  ยิ่งไปกว่านั้นการนำข้อมูลที่ได้มาเพื่อการวิเคราะห์และสังเคราะห์มีขั้นตอนที่ต้องดำเนินการที่ต้องใช้เวลาและต้องระมัดระวังเพื่อป้องกันความผิดพลาด ทั้งนี้เนื่องจากข้อมูลที่ได้มาเป็นข้อมูลที่ผู้ตอบตอบในแบบสอบถามขอข้อมูล นับเป็นข้อมูลตาย   ไม่สามารถนำมาประมวลผลต่อได้  จำเป็นต้องเปลี่ยนข้อมูลที่ได้มาให้เป็น ข้อมูลจิดิตอล(digital data)   การดำเนินการดังกล่าวเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลาและอาจมีข้อผิดพลาดในการถ่ายข้อมูลได้ ดังนั้น กว่าที่จะประมูลผลข้อมูลและออกเป็นรายงานได้จึงเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลาและมักไม่ทันต่อการนำไปใช้วางแผนหรือปรับการดำเนินการ

ดังนั้นการบริหารจึงต้องอาศัยข้อมูลที่ได้จากการศึกษาอย่างมีระบบ และมีความเป็นวิทยาศาสตร์  ทั้งนี้เพราะข้อมูลในลักษณะดังกล่าวทำให้ทราบถึงจุดแข็งจุดอ่อน และประเด็นที่ต้องนำมาวางแผนเพื่อพัฒนา ในการบริหารงาน ดังนี้

 

                        1. การจัดทำแผนการนำนวัตกรรมและสารสนเทศเข้ามาใช้   ต้องให้ผู้เกี่ยวข้องมีความเข้าใจและเตรียมตัวในการพัฒนาสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องให้ประสานสอดคล้องกัน    การเตรียมงบประมาณรองรับเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องให้ครอบคลุมค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องให้เพียงพอ   ขณะเดียวกันก็ต้องเตรียมคนที่จะดูแลระบบงานใหม่เพื่อให้สามารถทำงานตามบทบาทหน้าที่ที่ได้กำหนดไว้    สิ่งสำคัญที่จะละเลยไม่ได้ก็คือ ผู้เกี่ยวข้องที่เกิดจากการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้จำเป็นต้องได้รับทราบ และทำความเข้าใจในสิ่งที่เกิดขึ้นด้วย

                            2. การพัฒนาหรือจัดหาระบบเทคโนโลยีที่ต้องการนำเข้ามาใช้    จะต้องดำเนินการอย่างเป็นระบบ   โดยมีการพิจารณา   ศึกษาวิเคราะห์  และคัดเลือกด้วยวิธีการที่กำหนดไว้อย่างชัดเจน   ขั้นตอนนี้อาจต้องใช้เวลาและต้องให้เกิดความมั่นใจว่าจะได้ระบบที่ดีที่เหมาะสมต่อการใช้งาน  

                            3. การเลือกเทคโนโลยีที่เหมาะสม     มีความสำคัญต่อความสำเร็จหรือความล้มเหลวของการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อการบริหารจัดการมาก  เนื่องจากระบบงานด้านเทคโนโลยีมีองค์ประกอบจำนวนมากทั้ง Hardware,  Software,   และ  Application   องค์ประกอบต่าง ๆ เหล่านี้จะต้องจัดหาให้สอดคล้องกัน  

                            4.  การพัฒนาบุคลากรการจัดการสารสนเทศ  เป็นสิ่งจำเป็นที่จะช่วยให้การทำงานประสบความสำเร็จและมีประสิทธิภาพ     บุคลากรที่ควบคุมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศจะต้องพัฒนาให้มีความรู้และสามารถทำงานตามข้อกำหนดของการใช้เทคโนโลยีได้อย่างครบถ้วน   

                            5.  การติดตามประเมินผล    ระบบงานบริหารจัดการที่ใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยควรมีการประเมินผลอย่างน้อย  2 ส่วน ด้วยกัน   ส่วนแรกต้องประเมินผลงานที่กำหนดไว้ในแผนงาน เช่น ความสามารถให้บริการตามเป้าหมาย  การนำเสนอรายงานตามกำหนดเวลา   ส่วนที่สองคือ การประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ  เพื่อสะท้อนให้เห็นสถานภาพของระบบงานที่เกี่ยวข้องกับผู้ใช้  ในด้านความรวดเร็ว  ความแม่นยำถูกต้อง  และความสะดวกในการใช้ระบบงาน     การติดตามประเมินผลควรจะมีระยะเวลากำหนดไว้ตลอดช่วงเวลาในแต่ละปี   หากพบข้อบกพร่องหรือมีข้อเสนอแนะที่ควรแก่การแก้ไขปรับปรุงก็ควรพิจารณา  และปรับปรุงให้สอดคล้องตรงตามความต้องการของผู้ใช้อย่างต่อเนื่อง

                                                  

หมายเลขบันทึก: 245534เขียนเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2009 16:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 มิถุนายน 2012 07:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ยินดีด้วยผู้บริหารในอนาคต ขอให้เป็นผู้บริหารที่สามารถหากุญแจได้เร็วๆ จาเอาใจช่วย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท