สุเมธ รักตะกนิษฐ์
นาย สุเมธ รักตะกนิษฐ์ เมธ รักตะกนิษฐ์

ผู้บริหารมืออาชีพ


นวัตกรรมกับผู้บริหารมืออาชีพ

ยุทธศาสตร์ในการนำพาสถานศึกษาไปสู่เป้าหมายต้องใช้ผู้บริหารมืออาชีพ

 นักบริหารแต่ละคนมีเทคนิคการบริหารไม่เหมือนกัน ซึ่งเป็นส่วนสำคัญต่อการประสบความสำเร็จในการบริหาร การบริหารจึงเป็นทั้งศาสตร์ (Science) และศิลป์ (Arts) แต่การบริหารให้ประสบความสำเร็จต้องเรียนทฤษฎีก่อน นับเป็นขั้นตอนทางวิทยาศาสตร์ คิดเป็น 80-90% อีก20-30% เป็นเทคนิคเฉพาะ ไม่ใช่ทุกคนจะเป็นนักบริหารได้ แต่บ้านเราในขณะนี้หลักสูตรการบริหารมีผู้สนใจเรียนมาก เนื่องจากมีความก้าวหน้าสูงกว่าในสาขาอื่น เช่นในวงการศึกษา เรามีครูดีมากอยู่ในห้องเรียน สอนเก่ง มีศิลปะในการถ่ายทอดสูง แต่โอกาสด้านความก้าวหน้ามีต่ำกว่าสายบริหาร ทำให้เราสูญเสียครูดีๆ ในห้องเรียนไป แต่ได้ผู้บริหารที่ไม่มีคุณภาพเพิ่มขึ้นมา จะเห็นว่าหากการปรับองค์กรไม่มีแผนที่ดี จะทำให้ได้คนที่ไม่มีความรู้ ความเข้าใจ ทำให้สูญเสียคนในวิชาชีพ   

         ดังนั้นสิ่งแรกที่เราต้องทำ คือสำรวจตัวเองก่อน ว่าเราอยู่ ณ บันไดขั้นไหน และเหมาะสมกับการเป็นผู้บริหารหรือไม่ ชีวิตเรามีทางเลือกหลายทาง ไม่จำเป็นว่าต้องเป็นผู้บริหารอย่างเดียวเท่านั้น

         นักบริหารต้องมีคำจำกัดความ (Definition) นักบริหารคือคนที่ทำงานร่วมกับคนอื่น ความสำเร็จของเรา อยู่ที่การทำงานร่วมกับคนอื่น หรือเราเป็น Input การบริหารเป็น Process ความสำเร็จ (Output) ของการบริหารต้องผ่านการกระทำของบุคคลอื่น จึงต้องมีเพื่อนร่วมงาน

         การจัดองค์กรแบบ Structure เป็น Hierarchy จะลดลง กลายเป็นองค์กรแนวราบ (Flat Organization) มากขึ้น เกิดองค์กรแบบใหม่เป็น Networking Organization จึงเปลี่ยนจากนายหรือผู้บังคับบัญชามาเป็น เพื่อนร่วมงาน มาเป็น ผู้นำ  

         โดยสรุป การเป็นมืออาชีพด้านการบริหารได้มาจากการฝึกฝน อบรม และทำอย่างสม่ำเสมอจนเกิดความชำนาญ เช่นเดียวกับการเล่นกอล์ฟ ที่ต้องอาศัยการฝึกฝนเป็นหมื่นเป็นแสนลูกกว่าที่จะบังคับให้ลูกกอล์ฟไปตามทิศทางที่กำหนดได้ หรือเรื่องการฝึกสมาธิ ที่สอนง่าย แต่ต้องอาศัยการฝึกฝนเป็นเวลานานกว่าจะทำให้จิตนิ่ง และมีสมาธิได้ เพราะธรรมชาติของจิตนั้นเหมือนลิงที่อยู่ไม่นิ่ง การได้มาซึ่งสมาธิ จึงมาจากการฝึกฝนอย่างแท้จริง เมื่อเกิดสมาธิจึงเกิดปัญญา เห็นได้ชัดในเด็กสมาธิสั้น ซึ่งเป็นอุปสรรคในการเรียนรู้

         คนญี่ปุ่นเป็นชาติที่มีวินัยมาก และเนื่องจากค่าใช้จ่ายสูง คนญี่ปุ่นจึงใช้การจดบันทึกทุกขั้นตอนอย่างละเอียดในการเรียนรู้ทุกเรื่องทำให้เกิดเป็นศาสตร์ อีกทั้งยังมีการพัฒนา และวิจัยอย่างต่อเนื่อง แต่คนไทยไม่จดบันทึก และไม่ใช้กระบวนการวิจัย จึงไม่เกิดการพัฒนา สมัยหนึ่งเราเคยผลิตข้าวได้มากเป็นอันดับหนึ่ง แต่เนื่องจากเราไม่เคยใช้กระบวนการวิจัยทำให้ตอนนี้เรายังได้ผลผลิตเท่าเดิม ขณะที่ประเทศอื่นๆ พัฒนาขั้นเรื่อยๆ ทำให้ตอนนี้ผลผลิตของเราได้ต่ำกว่าประเทศอื่น

หมายเลขบันทึก: 245501เขียนเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2009 14:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 05:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท