พฤติกรรมการบริหารจัดการของผู้นำการเปลี่ยนแปลง


               ภารกิจหลัก ซึ่งเป็นบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในฐานะผู้นำยุคการเปลี่ยนแปลง    จำเป็นต้องมีกลยุทธ์ในการบริหารหรือในฐานะผู้นำการเปลี่ยนแปลง  ดังนี้

1.  มีวิสัยทัศน์  ( Vision )  หมายความว่าเกิดจากการรวมของการมองไปข้างหน้า (Foresight)  

ความซึ้งใจ (Insight)  จินตนาการและการตัดสินใจ ( Imagination  and  Judgement )  ประกอบกับความตั้งใจดีและการเปิดใจกว้างสำหรับแนวโน้มและการพัฒนาสำหรับอนาคต(ทองหล่อ  เดชไทย. 2544: 52)

2.  จัดอบรมข้อมูลสารสนเทศ  การบริหารยุคใหม่ต้องตัดสินใจโดยอาศัยข้อมูลสารสนเทศ

มากกว่าสามัญสำนึก  หากมีข้อมูลมากกว่าจะได้เปรียบในเชิงทางเลือก

3.  การวางแผน  ( Planning )  เป็นหน้าที่ทางการบริหารที่สำคัญ  นอกเหนือหน้าที่จัด

องค์การและการควบคุม  เป็นที่สังเกตว่าในบรรดาหน้าที่ทางการบริหารที่นักวิชาการทั้งหลายกำหนดขึ้นนั้น   จะเริ่มต้นด้วยหน้าที่ทางการวางแผนเป็นอันดับแรก (วิโรจน์  สารรัตนะ. 2545 : 35)  จะเห็นได้ว่าการวางแผนจะช่วยให้ผู้บริหารมีทิศทางในการบริหาร  สามารถจัดลำดับความสำคัญในความเร่งด่วน  ในการบริหารได้บรรลุตามจุดหมายที่กำหนดไว้

4.  การจัดองค์การ ( Organizing ) เป็นกระบวนการจัดระบบการทำงานทั้งหมดภายใน

องค์การ  หรือในสำนักงานโดยกำหนดในลักษณะของ  ตำแหน่ง  งาน  วิธีปฏิบัติ  ขอบเขต  อำนาจหน้าที่  และการประสานงานระหว่างตำแหน่งต่าง ๆ ให้แน่นอนเพื่อให้การทำงานขององค์การดำเนินไปอย่างมีระเบียบแบบแผน ( ภิญโญ  สาธร . 2519 : 120 )  จะเห็นได้ว่าหากหน่วยงานได้จัดระบบองค์การได้ดี  มีความชัดเจน  คล่องตัวในการบริหาร  หน่วยงานนั้นจะเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูง

5.  การจูงใจ ( Motivation ) หรือทฤษฎีการจูงใจ ( Motivation  theory )  มีวิวัฒนาการมา

สองรูปแบบ  คือ  รูปแบบเชิงเนื้อหา  ( Content  models )  และรูปแบบเชิงกระบวนการ (Process  models )  กรณีรูปแบบเชิงเนื้อหา  เริ่มต้นมาตั้งแต่ยุคทฤษฎีการบริหารเชิงวิทยาศาสตร์  คือ  Frederick  W. Taylor.  Frank  Gilberth  และ  Henry  L. Gantt  ที่เสนอแรงจูงใจด้วยค่าจ้าง  มาถึงยุคของ  G.E. Mayo  ซึ่งเป็นยุคบริหารทัศนะเชิงพฤติกรรมว่าด้วยเรื่องมนุษยสัมพันธ์  (วิโรจน์  สารรัตนะ. 2545 : 93) จะเห็นได้ว่าการจูงใจมีความสำคัญอย่างยิ่งผู้บริหารสถานศึกษาต้องใช้เทคนิคการสร้างแรงจูงใจในหน่วยงาน  โดยให้สมาชิกได้รับการตอบสนองความต้องการด้านต่าง ๆ ซึ่งนำไปสู่ความสำเร็จของงานตามจุดมุ่งหมายที่ต้องการ

                  6.       การควบคุมองค์การ ( Control  process )  เป็นกลยุทธ์ที่ผู้บริหารจะต้องควบคุมยุทธศาสตร์ขององค์การหรือหน่วยงาน  ให้ดำเนินไปตามจุดหมายและแผนโดยภาพรวมทั้งองค์การ  โดยประพฤติปฏิบัติไปในทิศทางที่จะนำให้บรรลุผลตามมาตรฐานหรือจุดหมายดังกล่าว

                พฤติกรรมการบริหารจัดการของผู้นำการเปลี่ยนแปลง      ต้องเริ่มจากตัวผู้บริหารทุกระดับต้องพัฒนาตนเองให้เข้าใจการเป็นผู้นำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมีกระบวนการและมีชั้นเชิง โดยใช้การกำหนด เป้าหมายขององค์กรและการเปลี่ยนแปลง  มีกุศโลบายมีขั้นตอนของการทำงานที่ดี  สร้างความคาดหมายความคาดหวังเพื่อให้ทุกคนเกิดกำลังใจ  กำหนดความรับผิดชอบกระจายภาระหน้าที่ซึ่งคำนึงถึงผลที่จะเกิดติดตามมา  กระจายอำนาจ แบ่งงานไปช่วยกันดำเนินการ  จัดสรรงบประมาณที่ประหยัดและเกิดประโยชน์คุ้มค่า  หากผู้บริหารใช้กลยุทธ์ไปแก้ปัญหาผิดทางหรือหลงประเด็น  แก้ปัญหาไม่ถูกจุด จะไม่สามารถแก้ปัญหาหรือนำพาไปสู่เป้าหมายได้

โดยสรุป  บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในฐานะผู้นำการเปลี่ยนแปลง  หรือผู้มีวิสัยทัศน์และใช้กระบวนทัศน์ทางเทคโนโลยี หรือผู้นำทางเทคโนโลยี (E–Leadership) มีความสำคัญอย่างยิ่งและควรมีลักษณะ  10 E  ดังนี้

1.  Envision    ต้องสร้างวิสัยทัศน์อย่างชัดเจน  มีความคิดสร้างสรรค์  จินตนาการที่

กว้างไกล  โดยเน้นการบูรณาการเทคโนโลยีในการบริหารและจัดการ

2.  Enable  ต้องมีความสามารถในการบริหารจัดการ  ใช้เครื่องมือเทคโนโลยีเป็นเครื่องมือ

ในการจัดการคุณภาพของสถานศึกษา

3.  Empowerment  ต้องเข้าใจและหยั่งรู้ความสามารถของบุคคลในโรงเรียนหรือ

สถานศึกษาได้เป็นอย่างดี  สามารถขับเคลื่อนให้การปฏิบัติงานเป็นไปตามเป้าหมาย

4.       Energize  ต้องหมั่นจุดพลังและประกายไฟอยู่ตลอดเวลา อย่าให้มอด  คอยกระตุ้นให้

เกิดพลังในการทำงาน  การปฏิบัติงานเป็นไปอย่างมีความสุข

5.  Engage   ต้องตั้งใจและจดจ่อต่อการทำงาน  โดยมุ่งมั่นอย่างแรงกล้า  เพื่อให้งาน

ประสบความสำเร็จ

6.  Enhance  ต้องยกระดับผลการปฏิบัติงานให้เกิดความเจริญก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง

เป็นไปตามมาตรฐาน

7.  Encourage   ผู้บริหารยุคดิจิตอลจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสร้างแรงจูงใจให้บุคลากรหรือ

ผู้ร่วมงานปฏิบัติงานอย่างมีความสุข

8.   Emotion  ต้องมีคุณภาพทางอารมณ์ สามารถหยั่งรู้จิตใจผู้ร่วมงาน  อ่านใจคนได้  สุขุม

รอบคอบ  สามารถควบคุมอารมณ์ได้เป็นอย่างดี

9.  Embody   ต้องเน้นการทำงานที่เป็นรูปธรรม  ช่วยให้การสื่อสารประสบความสำเร็จ

และเกิดความผิดพลาดน้อย

10.      Eagle  เปรียบประดุจนกอินทรีย์  ที่มองไกลและเน้นในภาพรวมกว่าการมอง

รายละเอียด  หรือผู้นำควรมองเป้าหมายและผลงานเป็นหลัก

 

นวัตกรรมการบริหารการจัดการคุณภาพ

หนึ่งในเครื่องมือที่สำคัญของผู้นำการเปลี่ยนแปลงก็คือการจัดการคุณภาพ ชื่อก็บอกความสำคัญอยู่แล้วว่าในวงการศึกษา คือ การทำให้นักเรียนมีคุณภาพ ที่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหลายต้องการนั้นต้องมีการจัดการโดยเฉพาะ เริ่มตั้งแต่การสร้างวงจรคุณภาพนั้นมาในทุกระบบงาน หรือวาง PDCA

P ในการจัดการคุณภาพนั้น ต้องการให้ทุกระบบมีการวางวัตถุประสงค์และกระบวนการทำงานที่จะทำให้เกิดผลลัพธ์หรือคุณภาพตามความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จึงน่าจะแปลว่าการวางระบบมากกว่า เพราะเมื่อวางระบบได้ดี มีวิธีปฏิบัติในกระบวนการที่สนับสนุนให้ทุกคนในระบบทำตรงกัน

D ก็จะทำให้ทุกคนทำงานโดยมีคุณภาพใกล้เคียงกัน หรือมีการผลิตซ้ำคุณภาพ

ส่วนการประเมินทบทวนระบบ (C หรือ S) และการปรับปรุงระบบ (A) ก็จะทำให้เกิดการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง

 

 

อ้างอิง

 “บทบาทของผู้บริหารในฐานะผู้นำการเปลี่ยนแปลง.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก  :

http://www.oknation.net/blog/print.php?id=354842

  

หมายเลขบันทึก: 245217เขียนเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2009 12:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 05:23 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท