การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อการบริหารจัดการน้ำชุมชน


พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระปรีชาสามารถด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรม และการจัดการจัดสารสนเทศ ซึ่งพระราชทานพระราชดำริให้พัฒนาระบบผังน้ำ ระบบรายงานปริมาณน้ำในเขื่อนรายชั่วโมงและรายวัน ระบบรายงานข้อมูลระดับน้ำทะเลรายชั่วโมง และแผนที่ค่าเบี่ยงเบนจากปากติของระดับน้ำทะเล เพื่อทรงงานติดตามสถานการณ์น้ำปัจจุบันของประเทศ สถานการณ์น้ำของโลก และวิวัฒนาการล่าสุดอย่างต่อเนื่อง ทรงใช้ข้อมูลต่างๆ มากมาย ประกอบการวิเคราะห์ เช่น แผนที่ค่าเบี่ยงเบนจากปกติของระดับน้ำทะเล แผนที่ความสูงและทิศทางของคลื่นทะเล แผนที่อุณหภูมิผิวน้ำทะเล แผนที่วิเคราะห์เส้นทางและความแรงของพายุ แผนที่อากาศ ภาพถ่ายจากดาวเทียม รายงานสภาพอากาศอัตโนมัติจากระบบโทรมาตรขนาดเล็ก น้ำในเขื่อน ระดับน้ำในแม่น้ำ ระดับน้ำทะเล โดยเฉพาะทรงติดตามสภาพอากาศหนาวในปีนี้ ซึ่งได้พระราชทานความช่วยเหลือพสกนิกรอย่างต่อเนื่อง จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้เจ้าหน้าที่ของสถาบันฯ เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทกราบบังคมทูลรายงานเกี่ยวกับสถานการณ์น้ำของประเทศ คาดการณ์สภาพอากาศ ความก้าวหน้าโครงการแก้มลิงอเนกประสงค์คลองสนามชัย-มหาชัย และผลการประกวดการจัดการทรัพยากรน้ำชุมชนตามแนวพระราชดำริ เพื่อทรงมีพระราชวินิจฉัยและพระราชทานแนวพระราชดำริ

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  ขอเรียนเชิญผู้สนใจ  เข้าร่วมฟังการเสวนา คุยกัน..ฉันท์วิทย์  เรื่อง  การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อการบริหารจัดการน้ำชุมชน ในวันศุกร์ที่  6 มีนาคม 2552 ระหว่างเวลา  13.00-16.00  น. ณ ห้องโถง ชั้น 1  อาคารพระจอมเกล้า  กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  มีต่อ.......

หมายเลขบันทึก: 244996เขียนเมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2009 16:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 05:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ปัญหาน้ำท่วมในเขตกรุงเทพฯ ทุกๆ ปี นั้น ดร.รอยล จิตรดอน กล่าวว่า ใน แต่ละปีมีการใช้งบประมาณกว่า 4,000 ล้านบาท เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว แต่หาก กทม. แบ่งงบประมาณ 200-300 ล้านบาท เพื่อไปช่วยฟื้นฟูพื้นที่บึงบอระเพ็ด และบึงเสนา จ.นครสวรรค์ เพื่อกักเก็บน้ำไว้และช่วยชะลอการไหลของน้ำเข้ากรุงเทพฯ ได้ ซึ่งจะช่วยกักน้ำได้อย่างน้อย 500 ล้านลูกบาศก์เมตร และยังก่อให้เกิดความร่วมมือกันระหว่าง กทม. และชุมชนในชนบทด้วย

ส่วนปัญหาในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือนั้น ไม่ได้มีแต่เฉพาะปัญหาน้ำแล้งเพียงอย่างเดียว แต่จากการศึกษาพบว่า พื้นที่ที่มีปัญหาน้ำแล้งและน้ำท่วมเป็นพื้นที่เดียวกัน และในแต่ละปีมีฝนตกเป็นปริมาณมาก แต่เนื่องจากขาดประสิทธิภาพในการบริหารจัดการน้ำ จึงทำให้เกิดปัญหาน้ำแล้งในหน้าแล้งมาก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท