บทความ


เทคโนโลยีกับการพัฒนาคุณภาพการศึกษา

บทความที่  1   เทคโนโลยีกับการพัฒนาคุณภาพการศึกษา

 

                พระราชบัญญัติฉบับนี้ยังกำหนดไว้ด้วยว่า การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่า ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ ( อาจารย์ วิษณุ         บุญมารัตน์   )

                การสร้างศูนย์การเรียนรู้ที่รัฐบาลสร้างขึ้น เช่น พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ อุทยานการเรียนรู้ หรือ T. K. Park ฯลฯ จึงเป็นรูปแบบหนึ่ง   ของการจัดการศึกษาตามอัธยาศัย      ที่กำหนดในพระราชบัญญัติฯ

                แต่เป็นที่น่าเสียดายสำหรับประชาชนในต่างจังหวัดที่ไม่ได้มีโอกาสสัมผัสการจัดกิจกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการสร้างศูนย์การเรียนรู้ หรืองานสัปดาห์หนังสือ เช่นเดียวกับคนกรุงเทพฯ ยกเว้นอุทยานการเรียนรู้ที่มีโครงการจะสร้างตามเมืองใหญ่อื่น     อีก

                คำถามก็คือว่า จะมีสักกี่คนที่เป็นผู้ใฝ่รู้เช่นที่ว่า ในเมื่อเรียนไปแล้วไม่เห็นเกิดผลอะไร เพราะอยู่ในพื้นที่ห่างไกลความเจริญ หลักสูตรที่เรียนก็ไม่ได้สนองการพัฒนาพื้นที่บ้านเมืองของตนนัก มีแต่จะเรียนเพื่อเพิ่มวุฒิการศึกษาสำหรับการหางานทำในเมืองเท่านั้น ทำให้คนส่วนใหญ่ในพื้นที่ดังกล่าวไม่สนใจที่จะไขว่คว้าการศึกษา ส่วนคนที่สนใจ และมีโอกาสเข้าเรียนก็จะมุ่งหน้าเข้าเมืองไปเรียนและทำงานที่นั่นกันหมด  รัฐบาลจึงควรมุ่งเน้นการจัดการศึกษาตามอัธยาศัยให้กับบุคคลที่อยู่ในถิ่นทุรกันดารเหล่านี้ มากกว่าการจะสร้างศูนย์การเรียนรู้เพิ่มเติมนอกตำราสำหรับเด็กในเมืองที่มีโอกาสได้รับการศึกษาอยู่แล้ว

                การจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ในชุมชนอาจไม่ต้องใช้งบประมาณมากนัก เพียงเริ่มจากการจัดให้มีห้องสมุดชุมชนอย่างทั่วถึง สนับสนุนงบประมาณในการจัดซื้อหนังสือในการค้นคว้าที่ทันสมัย ไม่ใช่รอเพียงการบริจาคที่ผู้มีจิตศรัทธาจะนำมา ซึ่งมักเป็นหนังสือเก่าข้อมูลไม่ทันสมัย รวมทั้งอุปกรณ์สื่อการสอน การเรียนรู้ที่จะช่วยพัฒนาการเรียนรู้ต่างๆ ของประชาชนในชนบทให้เท่าเทียมกับในเมือง อย่างเช่น โสตทัศนูปกรณ์ต่างๆ

                การจัดหาคอมพิวเตอร์เพื่อให้การบริการชุมชนเป็นสิ่งจำเป็นในโลกไร้พรมแดนแห่งการเรียนรู้ในปัจจุบันนี้เช่นกัน แต่การจะจัดสรรให้กับแต่ละชุมชน ควรต้องมีการพิจารณาด้วยว่า แต่ละชุมชนมีศักยภาพที่จะเรียนรู้ และพร้อมรับนวัตกรรมใหม่นี้เพียงไร ไฟฟ้า โทรศัพท์ ยังเข้าไม่ถึงหมู่บ้าน หรือการขาดแคลนบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถในการใช้คอมพิวเตอร์นับเป็นตัวแปรที่ภาครัฐควรให้ความสนใจ เร่งรัดจัดการบริการในเรื่องดังกล่าวให้เรียบร้อยก่อนเป็นอันดับแรก

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 244898เขียนเมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2009 12:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 05:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท