บทความ


การศึกษาที่ไม่สิ้นสุด

บทความ

การศึกษาที่ไม่สิ้นสุด

 

ในยุคของการปฏิรูปการศึกษา เราเร่งพัฒนาการศึกษาให้การศึกษาไปพัฒนาคุณภาพของคน เพื่อให้คนไปช่วยพัฒนาประเทศ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) จึงเป็นเครื่องมือที่มีพลานุภาพสูงในการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการจัดการศึกษา เช่น ช่วยนำการศึกษาให้เข้าถึงประชาชน (Access) ส่งเสริมการเรียนรู้ต่อเนื่องนอกระบบโรงเรียนและการเรียนรู้ตามอัธยาศัย ช่วยจัดทำข้อมูลสารสนเทศเพื่อการบริหารและจัดการ ช่วยเพิ่มความรวดเร็วและแม่นยำในการจัดทำข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล การเก็บรักษา และการเรียกใช้ในกิจกรรมต่าง ๆ ในงานจัดการศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้เทคโนโลยีเพื่อช่วยการเรียนการสอน

การนำเทคโนโลยีด้านการสื่อสารและคอมพิวเตอร์ มาใช้สร้างข้อมูลเพิ่มให้กับสารสนเทศ ทำให้สารสนเทศมีประโยชน์และใช้งานได้กว้างขวางมากขึ้น เทคโนโลยีสารสนเทศรวมไปถึงการใช้เทคโนโลยีด้านต่าง ๆ ที่จะรวบรวม จัดเก็บใช้งาน ส่งต่อ หรือสื่อสารระหว่างกัน โดยใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์เป็นสื่อหลัก

            การจัดการศึกษายุคของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้เปลี่ยนแปลงกระบวนการเรียนรู้ใหม่ และเปลี่ยนแปลงความต้องการในการศึกษาในอนาคต สื่อ และเทคโนโลยีสารสนเทศแบบใหม่เข้ามาแทนที่สื่อแบบเก่า แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้จะเป็นสิ่งที่ช่วยสนับสนุนการเรียนรู้ในสภาพแวดล้อมทางการศึกษาแบบใหม่ ซึ่งก่อให้เกิดการปฏิรูปการศึกษาขึ้นปรับปรุงโครงสร้างทั้งระบบใหม่โดยเฉพาะการบริหารการบริการการพัฒนาการเรียนการสอนและการจัดการศึกษา ซึ่งจากเดิมสถาบันการศึกษาเป็นผู้รับผิดชอบมาเป็นสังคมและชุมชนร่วมกันรับผิดชอบต่อการจัดการศึกษามากยิ่งขึ้น

       การจัดหาคอมพิวเตอร์เพื่อให้การศึกษาเป็นสิ่งจำเป็นในโลกไร้พรมแดนแห่งการเรียนรู้ในปัจจุบันนี้เช่นกัน แต่การจะจัดสรรให้กับแต่ละแหล่งการเรียนรู้  ควรต้องมีการพิจารณาด้วยว่า แต่ละแหล่งการเรียนรู้ มีศักยภาพที่จะเรียนรู้ และพร้อมรับนวัตกรรมใหม่นี้เพียงไร หรือการขาดแคลนบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถในการใช้คอมพิวเตอร์นับเป็นตัวแปรที่ควรให้ความสนใจ ผู่ที่เกี่ยวข้องควรเร่งรัดจัดการบริการในเรื่องดังกล่าวให้เรียบร้อยก่อนเป็นอันดับแรก

      การสร้างวิทยากรในท้องถิ่นเพื่อเผยแพร่ภูมิปัญญาในท้องถิ่น เช่น การสร้างสรรค์ผลงานต่างๆ ด้วยปัญญา ความสามารถของวิทยากรท่านนั้นๆ ก็นับเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ประชาชนในชุมชนมีความภาคภูมิใจและเห็นความสำคัญของท้องถิ่น หรือชุมชนของตนเองมากขึ้น สนใจจะเรียนรู้เรื่องราวต่างๆ อันจะเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามอัธยาศัยด้วย

      ที่สำคัญควรมีบุคลากรที่จะดำเนินงานด้านนี้ประจำด้วย อาจเป็นคนในชุมชนนั้นๆ ซึ่งจะต้องเป็นผู้มีจิตสาธารณะ เสียสละเพื่อสังคมอย่างสูงยิ่ง เพราะต้องเป็นผู้ผลักดันให้คนในชุมชนหันมาสนใจกับการเรียนรู้ด้วยตนเองให้มากขึ้น เช่น การจัดกิจกรรมต่างๆ การแนะนำวิทยากรในหมู่บ้านที่จะช่วยเสริมการเรียนรู้ให้กับชุมชน หรือผู้สนใจ โดยรัฐจะต้องให้การสนับสนุนการดำเนินการอย่างเต็มที่ อันจะทำให้ชุมชนสนใจที่จะใช้การศึกษาตามอัธยาศัยได้ในที่สุด

      ฝนตกไม่ทั่วฟ้า เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่ไม่สามารถจัดการได้ แต่การจัดการศึกษาให้ทั่วถึงทั้งประเทศ เป็นเรื่องที่ภาครัฐสามารถจัดการได้เองโดยไม่ต้องรอปรากฏการณ์ธรรมชาติ หรือปาฏิหาริย์ เพื่อการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตของคนไทยประสบความสำเร็จตามนโยบายที่ได้แถลงไว้เสียที

คำสำคัญ (Tags): #บทความ
หมายเลขบันทึก: 244893เขียนเมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2009 12:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 05:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท