"การประกันคุณภาพการศึกษา"


"การประกันคุณภาพการศึกษา"

การประกันคุณภาพการศึกษา

โลกปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงและการแข่งขันในเรื่องของคุณภาพโดยเฉพาะความเจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีที่เข้ามามีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวันของมนุษย์      สิ่งที่จะทำให้มนุษย์เราอยู่รอดได้ในสังคมปัจจุบัน มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพัฒนาคุณภาพของมนุษย์ในทุกๆ ระดับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องการศึกษาซึ่งเป็นรากฐานสำคัญของการดำเนินชีวิตของเด็กและเยาวชนตลอดจนประชาชน ให้มีความรู้ ความสามารถ และทักษะในการดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขพร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลงในทุกๆด้าน

                สถาบันการศึกษาเป็นสถาบันที่สองรองจากสถาบันครอบครัวที่เป็นแหล่งพัฒนาคนให้มีความรู้ออกไปใช้ชีวิตในสังคม   การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพเป็นเรื่องจำเป็นที่รัฐจะต้องดำเนินการ โดยจะต้องให้การศึกษาที่มีคุณภาพแก่ประชาชน  เพื่อทำให้ศักยภาพที่มีอยู่ในตัวผู้เรียนได้รับการพัฒนาอย่างเต็มที่  รู้จักคิดวิเคราะห์   รู้จักแก้ปัญหา มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ รู้จักเรียนรู้ด้วยตนเองและสามารถปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว มีจริยธรรม คุณธรรม รู้จักพึ่งตนเองและสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างเป็นสุข  ซึ่งถ้าสถาบันการศึกษาหรือโรงเรียนสามารถดำเนินการตามเป้าหมายดังกล่าวได้บรรลุ คือการให้ความสำคัญกับ           การประกันคุณภาพการศึกษา

การประกันคุณภาพการศึกษา หมายถึง การดำเนินการเกี่ยวกับการกำหนดมาตรฐานคุณภาพการศึกษาและกระบวนการตรวจสอบหรือการประเมินว่าเป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพการศึกษามากน้อยเพียงไร (Murgatroyd,Stephen and Morgan,Colin  1994 : 45)

เมอร์กาทรอยด์ และ มอร์แกน (Murgatroyd & Morgan 1994) ได้จำแนกลักษณะเด่นของการประกันคุณภาพทางการศึกษาไว้ 5 ประการ

1.  มาตรฐานการศึกษากำหนดโดยผู้เชี่ยวชาญภายนอก

2.  มาตรฐานเขียนในรูปของความคาดหวังที่โรงเรียนจะต้องบรรลุถึง

3.  มาตรฐานต้องสามารถประเมินได้โดยใช้เกณฑ์ที่เป็นปรนัย

4.  มาตรฐานต้องใช้อย่างเสมอภาค ไม่มีการยกเว้นโดยปราศจากเหตุผลสมควร

5.  การประกันคุณภาพการศึกษาจะประกอบด้วยการตรวจสอบและทบทวน (Audit and

Review) การทดสอบด้วยแบบ ทดสอบมาตรฐาน และการประเมินคุณภาพการศึกษา

การประกันคุณภาพการศึกษา มีความสำคัญ 3 ประการ คือ

1.   ทำให้ประชาชนได้รับข้อมูลคุณภาพการศึกษาที่เชื่อถือได้ เกิดความเชื่อมั่นและสามารถตัดสินใจเลือกใช้บริการที่มีคุณภาพมาตรฐาน

2.   ป้องกันการจัดการศึกษาที่ไม่มีคุณภาพ ซึ่งจะเป็นการคุ้มครองผู้บริโภคและเกิดความเสมอภาคในโอกาสที่จะได้รับการบริการการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างทั่วถึง

3.   ทำให้ผู้รับผิดชอบในการจัดการศึกษามุ่งบริหารจัดการศึกษาสู่คุณภาพและมาตรฐานอย่างจริงจัง  ซึ่งมีผลให้การศึกษามีพลังที่จะพัฒนาประชากรให้มีคุณภาพอย่างเป็นรูปธรรมและต่อเนื่อง

การประกันคุณภาพการศึกษาจึงเป็นการบริหารจัดการและการดำเนินกิจกรรมตามภารกิจปกติของสถานศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะเป็นการสร้างความมั่นใจให้ผู้รับบริการการศึกษา ทั้งยังเป็นการป้องกันการจัดการศึกษาที่ด้อยคุณภาพและสร้างสรรค์การศึกษาให้เป็นกลไกที่มีพลังในการพัฒนาประชากรให้มีคุณภาพสูงยิ่งขึ้น

การสร้างความมั่นใจซึ่งเป็นแกนหลักของการประกันคุณภาพประกอบด้วยองค์ประกอบ

สำคัญหลายประการอันได้แก่

1.  การวางแผนป้องกันไม่ให้ปัญหาเกิดขึ้นตั้งแต่ขั้นของการออกแบบการกำกับดูแล ตรวจสอบและทบทวนเพื่อการปรับปรุง แก้ไขในทุกขั้นตอนของการผลิตซึ่งต่างจากรูปแบบการประเมินแบบเก่าที่เน้นการตรวจจับเมื่อปัญหาสำคัญในขั้นผลผลิต ได้เกิดขึ้นแล้ว

2.  การนำองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่ทันสมัยอันได้แก่รูปแบบ กรรมวิธี และ เทคนิควิธี

ที่เป็นนวัตกรรมที่มีหลักฐานทางทฤษฎีและผลการวิจัยเชิงประจักษ์ที่น่าเชื่อถือรองรับไปประยุกต์ใช้ในขั้นตอน ต่างๆในกระบวนการผลิต ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความมั่นใจอย่างมีเหตุผลว่า การดำเนินงานตามขั้นตอนต่างๆ ทั้งระบบจะนำไปสู่เป้าหมายที่กำหนดไว้อย่างน่าไว้วางใจ และจะมีความผิดพลาดคลาดเคลื่อนในวงจำกัดที่น้อยที่สุด

การประกันคุณภาพในบริบทของการปฏิรูปการศึกษาซึ่งมีมาตรฐานเป็นแกนนำการสร้าง

ความมั่นใจจะเริ่มต้นตั้งแต่ การกำหนดมาตรฐานในระดับเป้าหมายการศึกษาของชาติ โดยการนำข้อมูลสารสนเทศและองค์ความรู้เชิงทฤษฎีและ เชิงประจักษ์ที่ทันสมัยและน่าเชื่อถือเกี่ยวกับสภาพทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมของประเทศมาใช้ในกระบวนการ สร้างวิสัยทัศน์ เกี่ยวกับสังคมไทยในอนาคตในฐานะทีเป็นสมาชิกของสังคมโลกยุคโลกาภิวัตน์ ซึ่งจะใช้เป็นกรอบและ แนวทางในการกำหนดมาตรฐานการศึกษาของชาติที่เหมาะสมกับกาลสมัยและทันเหตุการณ์ การเปลี่ยนแปลงใน สังคมโลก และสามารถนำไปพัฒนาเป็นหลักสูตรสถานศึกษา ซึ่งจะใช้เป็นแนวทางจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษา ต่อไป

 

 

 

 

การประกันคุณภาพการศึกษาเกี่ยวข้องกับการดำเนินการที่สำคัญ 3  ขั้นตอนดังนี้

                1.  การควบคุมคุณภาพ  (Quality  Control )   เป็นการกำหนดมาตรฐานคุณภาพการศึกษาเพื่อให้สถานศึกษาตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้เป็นเป้าหมายและเป็นเครื่องมือในการพัฒนาซึ่งหลักปฏิบัติทั่วไปมาตรฐานจะกำหนดโดยองค์คณะบุคคล ผู้เชี่ยวชาญ หรือ ผู้มีประสบการณ์ (Murgatroyd,Stephen and Morgan,Colin  1994 : 45) 

2.   การตรวจสอบคุณภาพ (Quality Audit) เป็นการตรวจสอบและติดตามผลการดำเนินการจัดการศึกษาว่าเป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพการศึกษาที่กำหนดขึ้นมากน้อยเพียงไร และมีขั้นตอนการดำเนินการที่จะทำให้เชื่อถือได้หรือไม่ว่าการจัดการศึกษาจะเป็นไปอย่างมีคุณภาพ

3.  การประเมินคุณภาพ (Quality Assessment)  เป็นการประเมินคุณภาพของสถานศึกษาโดยบุคลากรของสถานศึกษาหรือโดยหน่วยงานที่กำกับดูแลในเขตพื้นที่และหน่วยงานต้นสังกัดในส่วนกลางที่มีหน้าที่กำกับดูแลสถานศึกษา 

ทั้งนี้ การตรวจสอบและประเมินคุณภาพนี้จะกระทำอย่างเป็นระบบ โดยมีกฎเกณฑ์และแนวทางการดำเนินการที่ชัดเจน มีการนำผลการประเมินในทุกขั้นตอนมาใช้เพื่อการวางแผน ออกแบบ และการปฏิบัติเพื่อให้เกิดการ ปรับปรุงพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง (Continuous Improvement)   

ความแตกต่างระหว่างการประกันคุณภาพภายในและภายนอก

การประกันคุณภาพภายใน

การประกันคุณภาพภายนอก

ผู้รับผิดชอบ :โรงเรียน

                      สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

ผู้รับผิดชอบ : สำนักงานรับรองมาตรฐาน และประเมิน 

                       คุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) (สมศ.)

กระบวนการ

กระบวนการ

·         การควบคุมคุณภาพ

·         การตรวจสอบคุณภาพ

·         การตรวจสอบคุณภาพ

·         การประเมินคุณภาพ

·         ประเมินคุณภาพ

·         การให้การรับรอง

 

กระบวนการจัดการความรู้ ( Knowledge  Management Process)

เรื่อง การประกันคุณภาพการศึกษา

 

การบ่งชี้ความรู้

การสร้างและแสวงหาความรู้

การจัดการความรู้ให้เป็นระบบ

การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้

การเข้าถึงความรู้

การประมวลและกลั่นกรองความรู้

การเรียนรู้

                      1.  การบ่งชี้ความรู้  เช่น   พิจารณาว่า  เป้าหมายของการประกันคุณภาพคืออะไร และเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของการประกันคุณภาพ   เราจำเป็นต้องรู้อะไร   ขณะนี้เรามีความรู้อะไรบ้างอยู่ในรูปแบบใด อยู่ที่ใคร

                      2.  การสร้างและแสวงหาความรู้  เช่น  การสร้างความรู้ใหม่หรือแสวงหาความรู้    จากเอกสารต่างๆ  รักษาความรู้เก่าที่ถูกต้องเกี่ยวกับการประกันคุณภาพ  กำจัดความรู้ที่ไม่ถูกต้องออกไป               

                      3.  การจัดการความรู้ให้เป็นระบบ   เป็นการวางโครงสร้างเกี่ยวกับการดำเนินการประกันคุณภาพอย่างเป็นระบบ  เช่น  การจัดหมวดหมู่ของข้อมูล  อาจจะแบ่งออกเป็นการประกันคุณภาพด้านผู้เรียน  ด้านครู  ด้านผู้บริหาร  เป็นต้น  หรือโครงการ/กิจกรรมต่างๆ  เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบในอนาคต  

                      4.  การประมวลและกลั่นกรองความรู้  เช่น  การปรับปรุงรูปแบบเอกสารให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน  ปรับปรุงเนื้อหาให้สมบูรณ์               

                      5.  การเข้าถึงความรู้   เป็นการทำให้ผู้ใช้ความรู้นั้นเข้าถึงความรู้ที่ต้องการได้ง่าย   และสะดวก   เช่น ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ   โดยอาจจัดเก็บในรูปแบบของอินเทอร์เนต  หรืออินทราเน็ต  ก็ได้  หรือง่ายๆ ก็จัดบอร์ดประชาสัมพันธ์   เป็นต้น               

                      6.  การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้   ทำได้หลายวิธีการ โดยกรณีเป็น อาจจัดทำเป็นเอกสาร  ฐานความรู้ เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือกรณีเป็น อาจจัดทำเป็นระบบ ทีมข้ามสายงาน  กิจกรรมกลุ่มคุณภาพและนวัตกรรม ชุมชนแห่งการเรียนรู้ ระบบพี่เลี้ยง การสับเปลี่ยนงาน การยืมตัว  เวทีแลกเปลี่ยนความรู้เป็นต้น               

                      7. การเรียนรู้   ทำให้การเรียนรู้เป็นส่วนหนึ่งของงาน เช่น  เกิดระบบการเรียนรู้     จากการสร้างองค์ความรู้นำความรู้ไปใช้  เกิดการเรียนรู้และประสบการณ์ใหม่ และหมุนเวียนต่อไปอย่างต่อเนื่อง                    

ประโยชน์ที่ได้จากการประกันคุณภาพการศึกษา

1.       ผู้เรียนและผู้ปกครองมีหลักประกันและความมั่นใจว่าสถานศึกษาจะจัดการศึกษา

ที่มีคุณภาพเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด

2.                ครูได้ทำงานอย่างมืออาชีพ มีการทำงานที่เป็นระบบ โปร่งใส มีความรับผิดชอบที่

หมายเลขบันทึก: 244736เขียนเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2009 20:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 05:21 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ดีครับ..สำหรับความรู้ดีๆ แบบนี้

คิดว่า ปัญหาและอุปสรรค ของการทำงานประกันคุณภาพการศึกษา น่าจะมี และคงคล้ายๆ กันทุกสถานศึกษา

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท